backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ : ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure)


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 23/07/2021

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ : ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure)

ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure) เรียกได้ว่าเป็นอีกภาวะหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับหัวใจโดยตรง ทำให้คุณอาจเสียชีวิตลงได้อย่างรวดเร็วหากรับการรักษาไม่เท่าทัน วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ภาวะหัวใจล้มเหลว มาฝากทุกคนกันค่ะ เพื่อให้เกิดความตระหนัก และหันมาดูแลสุขภาพหัวใจกันให้มากขึ้น

คำจำกัดความ

ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure) คืออะไร

ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหัวใจล้มเหลว (heart failure) เป็นภาวะหนึ่งที่หมายถึง กล้ามเนื้อหัวใจมีกำลังในการสูบฉีดโลหิตลดลง ภาวะดังกล่าวทำให้เกิดผลที่อันตรายบางประการ ดังนี้

  • หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตที่เพียงพอตามความต้องการของร่างกาย
  • เลือดถูกอุดกั้นในหัวใจ ซึ่งทำให้มีความดันมากขึ้นในผนังหัวใจ
  • หัวใจจำเป็นต้องยืดตัวเพื่อเติมเลือดให้มากขึ้น
  • ไตมีการตอบสนองโดยการทำให้ร่างกายกักเก็บของเหลวและเกลือมากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดอาการบวมที่อวัยวะบางประการได้ ในท้ายที่สุดส่งผลให้เกิดอาการบวมแน่นในร่างกาย
  • ภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้นในหัวใจด้านใดด้านหนึ่ง โดยปกติแล้วเริ่มเกิดขึ้นในหัวใจด้านซ้ายแล้วย้ายไปยังหัวใจด้านขวา หากไม่มีการรักษาที่เหมาะสม หัวใจล้มเหลวอาจทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตได้

    ภาวะหัวใจล้มเหลว พบได้บ่อยเพียงใด

    ภาวะหัวใจล้มเหลว สามารถส่งผลต่อคนได้ทุกวัย ถึงแม้ว่าพบได้มากที่สุดในผู้สูงอายุ เด็กที่มีภาวะหัวใจบกพร่องแต่กำเนิด (Congenital Heart Defects) ยังมีความเสี่ยงสูงขึ้นในการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวด้วยเช่นกัน

    อาการ

    อาการของ ภาวะหัวใจล้มเหลว

    หัวใจล้มเหลวเป็นโรคเรื้อรังประเภทหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าไม่ได้เกิดขึ้นโดยทันที อาการทั่วไปของโรคนี้ ได้แก่

    • หัวใจเต้นผิดปกติ
    • อ่อนเพลีย
    • ไอเป็นเลือดและหายใจมีเสียงบ่อย
    • ไม่มีความอยากอาหาร
    • คลื่นไส้
    • หายใจลำบาก
    • ปวดปัสสาวะด่วนในตอนกลางคืน
    • น้ำหนักเพิ่มขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
    • เจ็บหน้าอก
    • มีอาการบวมในท้อง ขา ข้อเท้า และเท้า

    อาจมีอาการและสัญญาณเตือนอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง หากคุณข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับสัญญาณเตือนเหล่านี้ โปรดปรึกษาแพทย์

    เมื่อใดที่คุณควรเข้าพบคุณหมอ

    คุณควรไปพบหมอทันทีที่มีอาการ อาการเริ่มแรกของโรคนี้มักเป็นอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ไอเป็นเลือด และเป็นลม ให้แจ้งแพทย์หากมีผลข้างเคียงใดๆ หลังการรักษา หรือเมื่ออาการต่างๆ มีความรุนแรงมากขึ้น

    สาเหตุ

    สาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลว

    ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นอาการแทรกซ้อนของโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Diseases) บางประเภท ที่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเสียหาย โดยภาวะทางสุขภาพดังต่อไปนี้ เป็นสาเหตุที่นำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว

    ปัจจัยเสี่ยง

    ปัจจัยเสี่ยงของภาวะหัวใจล้มเหลว

    นอกจากโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่ทำให้คุณเผชิญกับภาวะหัวใจล้มเหลว ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่สามารถทำให้สุขภาพหัวใจนั้นพังลงได้เช่นกัน นั่นก็คือ

    • ยารักษาเบาหวานบางชนิด เช่น ยาโรไซไกลทาโซน (Rosiglitazone) (Avandia) และยาไพโอไกลทาโซน (Pioglitazone) (Actos) อาจเพิ่มความเสี่ยงของหัวใจล้มเหลวในผู้ป่วยบางราย แม้เป็นเช่นนั้นแล้ว คุณไม่ควรหยุดใช้ยาที่แพทย์สั่งใดๆ หากคุณกำลังใช้ยานี้ ให้สอบถามแพทย์ว่าคุณมีทางเลือกในการรักษาใดๆ หรือไม่
    • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปสามารถลดประสิทธิภาพในการทำงานของหัวใจ ซึ่งทำให้เกิดหัวใจล้มเหลวได้
    • การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงของหัวใจวายได้

    การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยภาวะหัวใจล้มเหลว

    การทดสอบร่างกายสามารถแสดงให้เห็นถึงความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ขาบวม และภาวะหายใจลำบากจากปอดคั่งน้ำ (Gasp for hydrocephalus expression in lung)

    สำหรับการวินิจฉัยที่มากขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการตรวจเอกซเรย์อก , การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) เพราะการวินิจฉัยด้วยเทคนิคดังกล่าวจะแสดงให้เห็นถึงขนาดของหัวใจ และกล้ามเนื้อหัวใจ หรือความผิดปกติเกี่ยวกับลิ้นหัวใจภายในได้

    การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว

    การใช้ยา

    มียาหลายชนิดที่สามารถใช้รักษาภาวะหัวใจล้มเหลว ดังนี้

    • ยากลุ่ม Angiotensin-converting enzyme inhibitors (ACE inhibitors) เป็นยาที่ช่วยขยายหลอดเลือดที่ตีบตันเพื่อทำให้กระแสเลือดดีขึ้น ยาขยายหลอดเลือด (Vasodilators) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกหากคุณไม่สามารถทนทานการรักษาได้ด้วยยากลุ่ม ACE inhibitors
    • ยากลุ่ม Beta-blockers สามารถลดความดันโลหิตและชะลอจังหวะการเต้นของหัวใจที่เร็วได้
    • ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) ลดของเหลวในร่างกาย ภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถทำให้ร่างกายกักเก็บของเหลวได้มากกว่าที่ควรจะเป็น

    การผ่าตัด

    หากการรักษาด้วยการใช้ยาไม่ได้ผล การผ่าตัดจึงเป็นอีกทางออกที่แพทย์จะนำมาใช้รักษา เช่น การผ่าตัดขยายเส้นเลือด (Angioplasty) ซึ่งเป็นหัตถการหนึ่งเพื่อขยายหลอดเลือดที่ตีบตัน หรืออาจใช้เทคนิคอื่น ๆ ในการเข้ามาช่วยตามสภาวะสุขภาพ และสาเหตุของโรคที่คุณเป็นจนส่งผลให้ภาวะหัวใจล้มเหลว

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองเพื่อป้องกันและรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว

    • ตรวจร่างกายประจำปีซึ่งสามารถตรวจพบความผิดปกติต่าง ๆ ได้ทันทีที่เกิดขึ้น
    • เลิกสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาสุขภาพหลายประการ โดยเฉพาะโรคหัวใจ (Heart Diseases)
    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มุ่งรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของผลไม้ ผัก ธัญพืชเต็มเมล็ด ผลิตภัณฑ์จากนมที่ปราศจากไขมันหรือไขมันต่ำ และโปรตีนที่ปราศจากไขมัน นอกจากนี้ คุณไม่ควรเติมเกลือมากเกินไปในอาหาร โซเดียมสามารถทำให้หัวใจของคุณทำงานหนักมากขึ้น และทำให้หายใจลำบาก มีอาการบวมที่ขา ข้อเท้า และเท้าได้
    • พิจารณาการเข้ารับวัคซีน หากคุณเป็นหัวใจล้มเหลว คุณอาจต้องการรับวัคซีนไขัหวัดใหญ่ (Influenza) และปอดบวม (Pneumonia) ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวัคซีนเหล่านี้
    • จำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และของเหลวต่าง ๆ แพทย์อาจแนะนำว่าคุณไม่ควรดื่ม
    • หากคุณมีภาวะหัวใจล้มเหลวที่รุนแรง แพทย์ที่ทำการรักษายังอาจแนะนำให้คุณจำกัดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่คุณดื่ม
    • ลดความเครียด เมื่อคุณรู้สึกกังวลหรือหงุดหงิด หัวใจของคุณเต้นเร็วขึ้น คุณหายใจแรงขึ้น และความดันโลหิตมักสูงขึ้น สามารถทำให้หัวใจล้มเหลวมีอาการแย่ลงเนื่องจากหัวใจมีปัญหาเกี่ยวกับการตอยสนองความต้องการของร่างกาย
    • ลดความเครียดในชีวิต เพื่อให้หัวใจได้พักผ่อน อาจลองนอนงีบ หรือยกเท้าขึ้นเมื่อสามารถทำได้ ใช้เวลากับเพื่อน และครอบครัวเพื่อเข้าสังคมช่วยควบคุมความเครียด
    • หากคุณมีอาการหายใจลำบาก โดยเฉพาะในตอนกลางคืน ให้นอนโดยยกศีรษะขึ้นโดยใช้หมอนหรือลิ่มยกขึ้น แต่ในกรณีที่คุณกรน หรือได้มีความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับอื่น ๆ ร่วมด้วย โปรดเข้ารับการตรวจภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกครั้ง เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติม

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 23/07/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา