backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

รู้หรือไม่ ความดันโลหิตสูง ส่งผลเสียอะไรบ้างต่อ หลอดเลือด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/08/2021

รู้หรือไม่ ความดันโลหิตสูง ส่งผลเสียอะไรบ้างต่อ หลอดเลือด

หลายคนอาจคิดว่าการที่มีระดับ ความดันโลหิตสูง นั้นสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพหัวใจเพียงอย่างเดียว แต่รู้หรือไม่ว่าบางกรณีก็ยังอาจส่งผลรุนแรงเชื่อมต่อไปยัง หลอดเลือด ได้อีกด้วย เพื่อไขข้อสงสัยให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจกันมากขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ ได้นำความเชื่อมโยงของความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงทำลายหลอดเลือด มาฝากกันค่ะ

ความดันโลหิตสูง ทำลาย หลอดเลือด ได้อย่างไร

บทบาทสำคัญของหลอดเลือดแดงในร่างกาย คือการลำเลียงเลือดที่ประกอบด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์เข้าไปหล่อเลี้ยงระบบการทำงานต่าง ๆ ของเนื้อเยื่อ เซลล์ ทั่วไปทั้งร่างกาย แต่หากเมื่อใดที่คุณนั้นกำลังมีระดับความดันที่เพิ่มขึ้นสูง ก็อาจส่งผลให้เนื้อเยื่อฉีกขาด ผนังหลอดเลือดถูกทำลาย จนเกิดความเสียหายได้จากแรงดัน

อีกทั้งยังสามารถทำให้คราบจุลินทรีย์ ไขมันต่าง ๆ เข้าไปเกาะสะสมตามซอกผนังหลอดเลือดให้เกิดการอุดตัน เลือดไหลเวียนไม่สะดวก อวัยวะบางส่วนมีการทำงานผิดปกติ โดยเฉพาะในส่วนของหัวใจ สมอง บางกรณีก็ทำให้หลอดเลือดแดงโป่งพองคล้ายบอลลูนจนแตกตัว เรียกได้ว่าเป็นอาการที่รุนแรงอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียว

ปัจจัยเสี่ยงทำที่ทำให้ ระดับความดันพุ่งขึ้นสูง

ปัจจัยเสี่ยงที่พบได้บ่อยมักมาจากโรคประจำตัวที่มีความเชื่อมโยงกันไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า โรคเกาต์ โรคไต โรคอ้วน เป็นต้น แต่นอกจากด้านสภาวะสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรังแล้ว ยังมาจากพฤติกรรมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ได้อีกด้วย

  • ผู้ที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • รับประทานอาหารที่มีรสชาติเค็ม หรือประกอบด้วยโซเดียมสูง
  • ผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดบ่อยครั้ง
  • ขาดการออกกำลังกาย

ผู้ที่เสี่ยงเป็น โรคความดันโลหิตสูง ส่วนมากจะอยู่ในช่วงวัยกลางคน จนถึงวัยผู้สูงอายุ รวมไปถึงได้รับการสืบทอดมาจากพันธุกรรมจากคนในครอบครัวที่มีประวัติเป็น โรคความดันโลหิตสูง มาก่อน

วิธีป้องกันความดันโลหิตสูง ก่อน หลอดเลือด เสียหาย

หากคุณปล่อยให้ โรคความดันโลหิตสูง อยู่คู่กับชีวิตคุณเป็นเวลานาน พร้อมยังคงมีระดับที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ โปรดระวังภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เข้ามาทำลายสุขภาพเพิ่มเติม เช่น เจ็บหน้าอกรุนแรง หัวใจวาย ความจำเสื่อม ตาบอด  เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนข้างต้น และปกป้องหลอดเลือด คุณจึงควรลดระดับความดันโลหิตลงด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้

  • เลือกรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง
  • ลดอาหารที่ประกอบด้วยโซเดียม หรือเกลือ
  • วางแผนการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมกับเงื่อนไขของสุขภาพ และโรคที่คุณเป็น
  • งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

กรณีที่แพทย์มีการกำหนดยารักษา โรคความดันโลหิต และโรคประจำตัวอื่น ๆ คุณควรรับประทานยาจนกว่าแพทย์จะอนุญาตให้หยุดยาได้ พร้อมรับการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อเช็กสุขภาพโดยรวมว่ามีปัญหาใดที่ต้องเร่งรักษาอีกหรือไม่ เพราะโรคบางโรคเป็นภัยเงียบที่อาจแฝงเข้ามาทำลายสุขภาพคุณโดยไม่รู้ตัว

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/08/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา