backup og meta

ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension)

ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension)

ความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่แรงดันเลือดกระทำต่อหนังหลอดเลือด การมี ภาวะความดันโลหิตสูง เป็นเวลานาน ถือว่าเป็น โรคความดันโลหิตสูง ที่อาจทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดตามมา

คำจำกัดความ

โรคความดันโลหิตสูงคืออะไร

ความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะหนึ่งที่มีแรงดันเลือดกระทำต่อผนังหลอดเลือด ในขณะที่หัวใจสูบฉีดโลหิตมากเกินไป หากแรงดันดังกล่าวเพิ่มขึ้น และอยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน สามารถทำลายร่างกายได้ในหลายทาง

ความดันโลหิตสูงคือการที่มีความดันโลหิตสูงกว่า 140 เหนือ 90 มม. ปรอท โดยมีความสอดคล้องกันกับค่ามาตรฐาน หมายความว่าค่าบ่งชี้ซิสโตลิก (systolic index) หรือความดันในขณะที่หัวใจสูบฉีดโลหิตไปทั่วร่างกาย มีค่าสูงกว่า 140 มม. ปรอท (มิลลิเมตรปรอท) และ/หรือค่าบ่งชี้ไดแอสโตลิก (diastolic index) ความดันในขณะที่หัวใจคลายตัวและเต็มไปด้วยเลือด มีค่าสูงกว่า 90 มม. ปรอท

ความดันโลหิตสูงหลายประเภท โดยมีประเภทหลักๆ ดังต่อไปนี้

  • ความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุ (Essential hypertension) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (primary hypertension)
  • ความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ (Secondary hypertension)
  • คงามดันโลหิตตัวบนสูง (Isolated systolic hypertension)
  • ครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) ซึ่งเป็นความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์

ความหมายของตัวเลขค่าความดันโลหิต

เลือดเคลื่อนที่ในร่างกายในอัตราคงที่ ค่าความดันโลหิตประกอบด้วยตัวเลข 2 ตัว ได้แก่

  • ค่าซิสโตลิก (systolic) ซึ่งเป็นค่าที่สูงกว่าที่วัดความดันในหลอดเลือดเมื่อหัวใจเต้น (เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัว)
  • ค่าไดแอสโตลิก (diastolic) ซึ่งเป็นค่าที่ต่ำกว่าที่วัดความดันในหลอดเลือดในระหว่างที่หัวใจเต้น (เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจคลายตัวในระหว่างที่เต้นและเต็มไปด้วยเลือด)

จากความรุนแรงของความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงสามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้

  • ภาวะก่อนความดันโลหิตสูง (prehypertension): 120/80 มม. ปรอท หรือสูงกว่า
  • ความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 (stage 1 high blood pressure): 140/90 มม. ปรอท หรือสูงกว่า
  • ความดันโลหิตสูงระยะที่ 2 (stage 2 high blood pressure): 160/100 มม. ปรอท หรือสูงกว่า
  • ความดันโลหิตสูงระยะวิกฤต (hypertensive crisis) (ภาวะที่เป้นอันตรายต่อสุขภาพ): 180/110 มม. ปรอท หรือสูงกว่า

คุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูง (hypertension) หากค่าความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มม. ปรอท หรือสูงกว่าอย่างต่อเนื่อง

สาเหตุ

สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ สาเหตุยังไม่เป็นที่ทราบ เรียกว่าความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (primary hypertension)

ภาวะสุขภาพบางประการ เช่น ภาวะเกี่ยวกับไตหรือหัวใจ สามารถทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งเรียกว่าความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ (secondary hypertension)

ยาบางชนิด เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด (birth control pills) หรือยาแก้หวัดที่วางจำหน่ายโดยทั่วไป (over-the-counter cold medicines) สามารถทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน ในผู้หญิงบางรายนั้น การตั้งครรภ์หรือยาฮอร์โมน (hormone therapy) อาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้

ความดันโลหิตสูงที่เกิดจากการใช้ยา อาจหรืออาจไม่กลับสู่ภาวะปกติได้หลังจากการหยุดใช้ยา อาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ โปรดปรึกษาแพทย์ หากความดันโลหิตไม่กลับสู่ภาวะปกติ

เด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ปีที่เป็นความดันโลหิตสูงมักเป็นภาวะอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง เช่น โรคไต การรักษาโรคประจำตัวอาจช่วยรักษาความดันโลหิตสูงได้

มีปัจจัยและภาวะหลายประการที่อาจมีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ซึ่งได้แก่

  • การติดบุหรี่
  • ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
  • การขาดการออกกำลังกาย
  • ปริมาณเกลือที่มากเกินไปในอาหาร
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป (มากกว่า 1 ถึง 2 หน่วยต่อวัน)
  • ความเครียด
  • อายุที่มากขึ้น
  • พันธุกรรม
  • ประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง
  • โรคไตเรื้อรัง
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับต่อมหมวกไตและต่อมไทรอยด์ (Adrenal and thyroid disorders)
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea)

ปัจจัยเสี่ยง

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง

คุณมีความเสี่ยงในการเป็นความดันโลหิตสูง หากมีปัจจัยหนึ่งประการหรือมากกว่าดังต่อไปนี้

  • อายุ: ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงมากขึ้นในการมีความดันโลหิตสูง
  • เพศ: ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 65 ปี มีโอกาสมากขึ้นในการเป็นความดันโลหิตสูง และผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่ากว่า 45 ปี มีโอกาสในการเป็นความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้หญิง
  • เชื้อชาติ: ชาวแอฟริกันอเมริกันมีโอกาสมากกว่าในการเป็นความดันโลหิตสูง
  • ประวัติครอบครัว: หากสมาชิดในครอบครัวโดยตรง (พ่อแม่หรือพี่น้อง) เป็นความดันโลหิตสูง คุณมีความเสี่ยงมากขึ้น

อาการ

อาการของโรคความดันโลหิตสูง

โชคไม่ดีที่ความดันโลหิตสามารถเพิ่มสูงขึ้นได้ โดยไม่มีอาการที่สามารถสังเกตได้ อาการปวดศีรษะมักเกิดขึ้นน้อย จึงเป็นเหตุผลที่ในบางครั้งความดันโลหิตสูงถูกเรียกว่าเป็น “ฆาตรกรเงียบ’ อาจไม่มีสัญญาณเตือนหรืออาการในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ถึงแม้ความดันโลหิตสูงจะมีค่าสูงในระดับที่เป็นอันตราย

คนจำนวนน้อยที่เป็นความดันโลหิตสูง อาจมีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หายใจลำบาก หรือมีเลือดกำเดาไหล แต่สัญญาณเตือนหรืออาการเหล่านี้ ไม่ได้เป็นอาการเฉพาะของความดันโลหิตสูง และมักไม่เกิดขึ้นจนกว่าความดันโลหิตสูงไปถึงระยะที่รุนแรง หรือเป็นอันตรายต่อชีวิต

ควรไปพบหมอเมื่อใด

ในผู้ป่วยบางราย ความดันโลหิตสูงที่รุนแรง สามารถทำให้เกิดเลือดกำเดาไหล ปวดศีรษะ หรือเวียนศีรษะ เนื่องจากความดันโลหิตสูงสามารถคืบคลานเข้ามาหาคุณได้ จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการตรวจวัดค่าความดันโลหิตเป็นประจำ หากมีความเสี่ยงในการเป็นความดันโลหิตสูง ให้เข้ารับการรักษาหากสังเกตได้ถึงสัญญาณผิดปกติใดๆ หรือมีความดันโลหิตสูงเกินไป

อาการแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้สามารถทำให้เกิดภาวะที่ไม่ดีหลายประการ ซึ่งได้แก่ หัวใจล้มเหลว (heart attack) หรือโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) หลอดเลือดโป่งพอง (aneurysm) หัวใจวาย (heart failure) หลอดเลือดไตอ่อนแอและตีบ กลุ่มอาการเกี่ยวกับการเผาผลาญ (metabolic syndrome) และความจำเสื่อม (memory loss) หรือความเข้าใจช้า

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง

แพทย์ที่ทำการรักษาจะประเมินจากความเสี่ยง ประวัติครอบครัว การตรวจร่างกาย และค่าความดันโลหิตเพื่อวินิจฉัยภาวะความดันโลหิตสูงอย่างถูกต้อง

แพทย์ที่ทำการรักษาหรือพยาบาลจะทำการวัดความดันโลหิตโดยใช้เครื่องวัด (gauge) เครื่องฟังเสียงหัวใจ (stethoscope) (หรือเครื่องตรวจจับไฟฟ้า) และสายพันแขน

เพื่อเตรียมตัวสำหรับการตรวจวัด

  • ห้ามดื่มกาแฟหรือสูบบุหรี่เป็นเวลา 30 นาทีก่อนการตรวจ สิ่งเหล่านี้อาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นในระยะสั้น
  • เข้าห้องน้ำก่อนการตรวจ กระเพาะปัสสาวะที่เต็มไปด้วยปัสสาวะสามารถเปลี่ยนแปลงค่าความดันโลหิตได้
  • นั่งเป็นเวลา 5 นาทีก่อนการตรวจ การเคลื่อนไหวสามารถทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นในระยะสั้น

หากมีค่าความดันโลหิต 140/90 มม. ปรอทหรือสูงกว่าเมื่อเวลาผ่านไป แพทย์ที่ทำการรักษาอาจวินิจฉัยว่าคุณมีความดันโลหิตสูง หากคุณเป็นเบาหวานหรือโรคไตเรื้อรัง ค่าความดันโลหิต 130/80 มม. ปรอทหรือสูงกว่า จัดว่าเป้นความดันโลหิตสูง

การตรวจเพื่อการวินิจฉัยอื่นๆ

การตรวจอื่นๆ อาจได้แก่

  • การตรวจปัสสาวะ (urine tests)
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram (ECG))
  • การตรวจเอกซเรย์หน้าอก (chest X-ray)
  • การตรวจด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (computed tomography (CT) scan)

การตรวจเหล่านี้ดำเนินการเพื่อหาสาเหตุที่เป็นไปได้ใดๆ ของความดันโลหิตสูง หากไม่พบสาเหตุ จะมีการวินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ

เพื่อวัดความดันโลหิต แพทย์ที่ทำการรักษาหรือผู้เชี่ยวชาญมักจะใส่สายพันรอบแขนที่เป่าลมได้โดยรอบแขนและวัดความดันโลหิตโดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิต จากระดับของความดันโลหิตของคุณนั้น ผลการวัดจะแบ่งออกเป็นสี่ประเภทโดยทั่วไป ดังนี้

  • ความดันโลหิตปกติ มีค่าต่ำกว่า 120/80 มม. ปรอท
  • อยู่ในช่วงค่าจาก 120 ถึง 139 มม. ปรอท หรือค่าความดันไดแอสโตลิกที่มีค่าจาก 80 ถึง 89 มม. ปรอท
  • ความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 อยู่ในช่วงค่าจาก 140 ถึง 159 มม. ปรอท หรือค่าความดันไดแอสโตลิกที่มีค่าจาก 90 ถึง 99 มม. ปรอท
  • ความดันโลหิตสูงระยะที่ 2 เป็นค่าความดันซิสโตลิก 160 มม. ปรอท หรือสูงกว่า หรือค่าความดันไดแอสโตลิก 100 มม. ปรอท หรือสูงกว่า

การรักษา

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

เป้าหมายในการรักษามักเป็นการรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ต่ำกว่า 140/90 มม. ปรอท หากคุณเป็นเบาหวานหรือโรคไตเรื้อรัง มีเป้าหมายที่เข้มงวดมากกว่าในการรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ต่ำกว่า 130/80 มม. ปรอท

หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือมีอาการต่างๆ ของโรคความดันโลหิตสูงที่รุนแรงมาก เช่น ปวดศีรษะรุนแรง สูญเสียการมองเห็น คลื่นไส้หรืออาเจียน นอกจากนี้ คุณยังสามารถลองปฏิบัติตามเคล็ดลับดังต่อไปนี้ ซึ่งสามารถช่วยควบคุมความดันโลหิตได้

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์

การรักษาความดันโลหิตสูงมีความหลากหลายจากทางเลือกต่างๆ ในการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ไปจนถึงการใช้ยาชนิดต่างๆ หากความดันโลหิตสูงไม่รุนแรง แพทย์ที่ทำการรักษาอาจแนะนำการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ก่อน

เมื่อความดันโลหิตอยู่ภายใต้การควบคุม คุณยังจำเป็นต้องได้รับการรักษา “ภายใต้การควบคุม’ หมายความว่าค่าความดันโลหิตอยู่ในช่วงค่าปกติ แพทย์ที่ทำการรักษาอาจจะแนะนำการตรวจความดันโลหิตเป็นประจำ แพทย์สามารถบอกได้ถึงความถี่ที่คุณควรเข้ารับการตรวจ

การใช้ยา

หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีการวินิจฉัยความดันโลหิตสูงที่รุนแรงมากขึ้น แพทย์ที่ทำการรักษาอาจจะสั่งยา ยาชนิดต่างๆ ที่ช่วยลดความดันโลหิต ได้แก่

  • ยาขับปัสสาวะ (diuretics)
  • ยากลุ่ม beta blockers
  • ยากลุ่ม calcium channel blockers
  • ยากลุ่ม ACE inhibitors
  • ยาขยายหลอดเลือด (vasodilators)

แพทย์ที่ทำการรักษาจะเฝ้าระวังอาการและอาจเพิ่มขนาดยาหรือเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมยาที่ใช้จนกว่าจะได้ยาที่เหมาะสม (อาจมีหลายชนิด) ที่ได้ผลสำหรับคุณ โปรดปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับทางเลือกในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

การรักษาภาวะฉุกเฉิน

หากคุณมีความดันโลหิตสูงในระยะวิกฤต คุณจะจำเป็นต้องได้รับการรักษาในห้องฉุกเฉินหรือห้องดูแลผู้ป่วยหนัก (intensive care unit) เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ จะมีการเฝ้าระวังหัวใจและหลอดเลือดและคุณอาจได้รับออกซิเจนและได้รับยาเพื่อทำให้ความดันโลหิตลดลงสู่ระดับที่ปลอดภัย

การจัดการและการป้องกัน

การจัดการโรคความดันโลหิตสูง

การปฏิบัติตามแผนการรักษาเป็นสิ่งสำคัญ สามารถช่วยป้องกันและชะลอความผิดปกติต่างๆ ที่สัมพันธ์กับความดันโลหิตสูงและช่วยให้มีชีวิตและทำกิจกรรมต่างๆ ได้นานขึ้น หากมีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง คุณควรให้ความร่วมมือกับแพทย์ที่ทำการรักษาในการลดความเสี่ยงต่างๆ

โดยทั่วไปแล้ว คุณสามารถจัดการความดันโลหิตได้โดย

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ที่มีโซเดียมต่ำ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • พยายามรักษาน้ำหนักร่างกายที่เหมาะสม
  • เลิกสูบบุหรี่
  • ใช้ยารักษาความดันโลหิตสูงตามที่แพทย์สั่งและอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ลืมใช้ยา
  • ตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำที่บ้านโดยใช้เครื่องมือตรวจวัดให้ปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษาหากคุณมีข้อกังวลใดๆ เกี่ยวกับสุขภาพและวิธีในการใช้ชีวิตเมื่อมีความดันโลหิตสูงได้

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-heart-rate]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

High blood pressure (hypertension). http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-pressure/basics/causes/con-20019580. Accessed September 10th, 2016.

Hypertension: Causes, Symptoms and Treatments. http://www.medicalnewstoday.com/articles/150109.php. Accessed September 10th, 2016.

Hypertension/High Blood Pressure Health Center. http://www.webmd.com/hypertension-high-blood-pressure/guide/blood-pressure-causes. Accessed September 10th, 2016.

Hypertension (High Blood Pressure). http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmedhealth/PMHT0024199/. Accessed September 10th, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/11/2021

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความดันสูง เกิดจาก สาเหตุอะไร และวิธีป้องกันทำได้อย่างไรบ้าง

เช็กกันหน่อยไหม ใครมีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 09/11/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา