backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

การตรวจไข้เลือดออก (Dengue Fever Testing)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ข้อมูลพื้นฐาน

การตรวจไข้เลือดออกคืออะไร

ไข้เลือดออก (Dengue fever) เป็นโรคประเภทหนึ่งที่เกิดจากยุงในเขตร้อน และกึ่งเขตร้อน ไข้เลือดออกที่มีอาการไม่รุนแรง ทำให้มีไข้สูง มีผื่นขึ้น ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ ไข้เลือดออกรุนแรง (Dengue Hemorrhagic Fever) สามารถทำให้เลือดออกมาก ความดันโลหิตลดลงกะทันหัน (shock) และเสียชีวิตได้

การวินิจฉัยไข้เลือดออกเป็นเรื่องยาก เนื่องจากสัญญาณเตือนและอาการต่างๆ สามารถสับสนกับโรคอื่นๆ ได้ เช่น มาลาเรีย ไข้ฉี่หนู (leptospirosis) ไข้ไทฟอยด์ (typhoid fever)

การตรวจไข้เลือดออก ใช้เพื่อวินิจฉัยว่า คนที่มีสัญญาณเตือนและอาการต่างๆ และอาจได้รับเชื้อเมื่อไม่นานมานี้ มีการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออก (dengue virus) หรือไม่

ความจำเป็นในการตรวจไข้เลือดออก

อาจให้มีการตรวจเมื่อมีสัญญาณเตือนและอาการต่างๆ ที่สัมพันธ์กับไข้เลือดออกที่เกิดขึ้น โดยสัญญาณเตือนและอาการสำคัญบางประการ ได้แก่

  • มีไข้สูงกะทันหัน (40°C)
  • มีอาการปวดศีรษะหรือปวดหลังดวงตากะทันหัน
  • มีอาการปวดที่ข้อต่อ กล้ามเนื้อ และ/หรือกระดูก
  • มีเลือดออกที่เหงือกและจมูก
  • มีแผลฟกช้ำง่าย
  • มีจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ

ภายในหนึ่งสัปดาห์ที่มีอาการต่างๆ จะต้องดำเนินการตรวจในระดับโมเลกุล (Molecular testing)  เพื่อตรวจหาการติดเชื้อเฉียบพลัน และอาจมีการตรวจแอนติบอดีหลังจากอาการหายไปมากกว่า 4 วัน หากมีการตรวจแอนติบอดี อาจมีการเก็บตัวอย่างเลือดเพิ่มเติม หลังจากสองสัปดาห์ที่มีอาการ เพื่อวินิจฉัยว่าระดับแอนติบอดีกำลังเพิ่มสูงขึ้นหรือไม่

ข้อควรรู้ก่อนตรวจ

ข้อควรรู้ก่อนเข้ารับการตรวจไข้เลือดออก

การตรวจแอนติบอดีสำหรับไข้เลือดออก สามารถมีค่าบวกได้ หากมีการติดเชื้อไวรัสที่มีแมลงเป็นพาหะ (arbovirus) เช่น ไวรัส West Nile โดยผู้ประกอบอาชีพด้านการดูแลสุขภาพจะพิจารณาผลการตรวจ ประวัติสุขภาพ และประวัติการเดินทางที่ผ่านมาเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อทำการวินิจฉัย

ไม่มีการตรวจในห้องปฏิบัติการใดที่สามารถคาดการณ์ได้ว่า การติดเชื้อจะลุกลามเป็นรูปแบบที่รุนแรงมากขึ้นหรือไม่ แต่ผู้ที่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อน มีความเสี่ยงมากขึ้นในการเป็นไข้เลือดออกรุนแรงในระหว่างการติดเชื้อครั้งที่สอง

ขั้นตอนการตรวจ

การเตรียมตัวเพื่อ การตรวจไข้เลือดออก

การตรวจนี้ไม่จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวเฉพาะใดๆ หากคุณมีข้อกังวลใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ทันที

ขั้นตอน การตรวจไข้เลือดออก

การตรวจไข้เลือดออกเป็นขั้นตอนการตรวจเลือดมาตรฐาน ซึ่งได้แก่การเจาะเลือดเพื่อนำเลือดตัวอย่างมาตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ

ประเภทการตรวจหลัก 2 ประเภท ได้แก่

  1. การตรวจในระดับโมเลกุล (polymerase chain reaction, PCR)

การตรวจประเภทนี้เป็นการตรวจสารพันธุกรรม (genetic material) ของไวรัสไข้เลือดออกในเลือด ภายในสัปดาห์แรกหลังเกิดอาการ (มีไข้) และสามารถใช้เพื่อวินิจฉัยว่า ไวรัสชนิดใดใน 4 ประเภทที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ ประเภทหนึ่งของการตรวจแบบ Real Time RT-PCR test สามารถตรวจไข้เลือดออกและไวรัสที่มียุงเป็นพาหะสองชนิด คือ ไวรัสซิก้า (Zika) และไวรัสชิกุนคุนย่า (chikungunya) และสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างไวรัส 3 ประเภทได้

ห้องปฏิบัติการสาธารณสุขบางแห่งเท่านั้น ที่สามารถทำการตรวจได้ จากข้อมูลของ Centers for Disease Control and Prevention (CDC) การตรวจโมเลกุลของเลือดอาจไม่สามารถตรวจจับไวรัสได้หลังจาก 7 วันที่เกิดโรค จากข้อมูลของ CDC นั้น หากผลการตรวจ PCR test มีค่าลบ สามารถใช้การตรวจแอนติบอดี เพื่อช่วยในการวินิจฉัยได้

  1. การตรวจแอนติบอดี

การตรวจเหล่านี้มักมีการใช้เพื่อช่วยวินิจฉัยการติดเชื้อในปัจจุบันหรือเมื่อไม่นานมานี้  การตรวจนี้เป็นการตรวจแอนติบอดีสองประเภทที่ร่างกายสร้างขึ้น เพื่อตอบสนองการติดเชื้อไข้เลือดออก ซึ่งได้แก่ แอนติบอดี IgG และ IgM เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย สร้างแอนติบอดีในระดับต่างๆ ในช่วงเวลาที่เกิดโรค แอนติบอดี IgM มีการสร้างขึ้นก่อน

การตรวจแอนติบอดีเหล่านี้จะได้ผลมากที่สุด เมื่อมีการดำเนินการในเวลาอย่างน้อย 7-10 วันหลังจากได้รับเชื้อ ระดับแอนติบอดีต่างๆ ในเลือดเพิ่มขึ้นเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์แล้วค่อยๆ ลดลง หลังจาก 2-3 เดือนผ่านไป แอนติบอดี IgM ลดลงต่ำกว่าระดับต่างๆ ที่ตรวจพบได้ แอนติบอดี IgG มีการสร้างขึ้นช้าลงเพื่อเป็นการตอบสนองการติดเชื้อ

โดยปกติแล้ว ระดับแอนติบอดีเพิ่มขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อเฉียบพลัน คงที่ แล้วคงอยู่เช่นเดิมเป็นเวลานาน ผู้ที่ได้รับไวรัสก่อนการติดเชื้อในปัจจุบันมีระดับแอนติบอดี IgG ที่คงที่ในเลือด ที่สามารถส่งผลต่อการแปลผลการวินิจฉัยได้

หลังการตรวจไข้เลือดออก

การตรวจนี้ไม่จำเป็นต้องมีการดูแลสุขภาพหลังการตรวจใดๆ หลังการตรวจ คุณอาจเริ่มทำกิจกรรมประจำวันต่างๆ หากแพทย์ไม่ได้แนะนำไว้เป็นอย่างอื่น

หากคุณมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับไข้เลือดออก โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจคำแนะนำของแพทย์ได้ดีขึ้น

ผลการตรวจ

ผลการตรวจไข้เลือดออก

การตรวจในระดับโมเลกุล ซึ่งเป็นการตรวจ PCR ที่ตรวจการมีอยู่ของไวรัส โดยทั่วไปเชื่อกันว่า เป็นวิธีการวินิจฉัยที่เชื่อถือได้มากที่สุด ผลการตรวจ PCR ที่มีค่าเป็นบวก จัดว่าใช้ได้แล้ว ผลการตรวจที่มีค่าลบของการตรวจ PCR อาจบ่งชี้ว่าไม่มีการติดเชื้อ หรือระดับไวรัสมีค่าต่ำเกินไปที่จะตรวจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ หากมีการตรวจหลังจาก 7 วันที่ตรวจพบไวรัสในตัวอย่างที่เก็บมาสำหรับการตรวจนี้ ผลการตรวจ PCR ที่มีค่าลบมาจากการตรวจแอนติบอดี

การตรวจแอนติบอดี อาจมีการรายงานการตรวจแอนติบอดีเป็นค่าบวกหรือค่าลบ หรืออาจอาจรายงานเป็นความเข้มข้นของแอนติบอดี (antibody titer) โดยมีการตีความว่ามีแอนติบอดีชนิดใดเกิดขึ้น (IgG หรือ IgM)

การตรวจแอนติบอดี IgM และ IgG ที่มีค่าบวก สำหรับแอนติบอดีไข้เลือดออก ที่ตรวจพบในตัวอย่างเลือดเริ่มแรก หมายความว่าเป็นไปได้ที่ผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเมื่อเร็วๆ นี้ การตรวจแอนติบอดี IgM สามารถมีค่าบวกได้ หากได้รับเชื้อไวรัสที่คล้ายกัน เช่น ไวรัสชิกุนคุนย่า chikungunya (ซึ่งเรียกว่า cross-reaction) หากการตรวจแอนติบอดี IgM เริ่มแรกมีค่าเป็นบวก การตรวจครั้งที่สองที่เรียกว่าการตรวจ Plaque Reduction Neutralization Test (PRNT) ใช้เพื่อยืนยันการเกิดแอนติบอดีสำหรับไวรัสไข้เลือดออก และเพื่อช่วยตรวจหาการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ ได้

หากค่าแอนติบอดี IgG มีค่าบวก แต่ค่าแอนติบอดี IgM มีค่าต่ำหรือเป็นลบ ก็อาจเป็นไปได้ว่า ผู้ป่วยได้มีการติดเชื้อในช่วงเวลาหนึ่งในอดีต หากความเข้มข้นของแอนติบอดีไข้เลือดออก (dengue IgG antibody titer) เพิ่มขึ้นสี่เท่าหรือมากกว่า เช่น จากความเข้มข้น 1:4 เป็นความเข้มข้น 1:64 ระหว่างตัวอย่างเริ่มแรก และตัวอย่างหนึ่งใช้เวลา 2 ถึง 4 สัปดาห์ต่อมา เป็นไปได้ว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อเมื่อเร็วๆ นี้

ผลการตรวจที่มีค่าลบสำหรับแอนติบอดี IgM และ/หรือ IgG อาจหมายความว่า ผู้ที่ได้รับการตรวจไม่มีการติดเชื้อและไข้เลือดออก และอาการต่างๆ เกิดจากสาเหตุอื่น หรืออาจหมายความว่าระดับแอนติบอดีอาจมีค่าต่ำเกินไปที่จะตรวจได้ ผู้ป่วยอาจยังคงมีการติดเชื้อไข้เลือดออกอยู่ ซึ่งอาจเป็นเพียงว่ายังเร็วเกินไป หลังจากได้รับเชื้อไวรัสเริ่มแรกที่จะสร้างระดับแอนติบอดี ที่สามารถตรวจพบได้

ค่าปกติสำหรับการตรวจไข้เลือดออกอาจมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับห้องปฏิบัติการและโรงพยาบาล โปรดปรึกษาแพทย์หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับผลการตรวจ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา