การตรวจกรดยูริกในเลือด (Uric Acid Bolld Test) เป็นการระบุปริมาณของกรดยูริกที่มีอยู่ในตัวอย่างเลือด อาหารที่คุณรับประทาน และกระบวนการย่อยสลายตามธรรมชาติ เป็นวิธีทั่วไปในการสังเคราะห์กรดยูริก
ไตเป็นอวัยวะที่ช่วยในการกรองกรดยูริก ตามปกติแล้ว กรดยูริกจะขับออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ หรืออาจผ่านทางอุจจาระในบางกรณี บางครั้ง ระดับของกรดยูริกในเลือดจะเพิ่มขึ้นเมื่อไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติหรือผลิตกรดยูริกออกมากเกินไป
ผู้ที่มีกรดยูริกในร่างกายมากเกินไป มักจะต้องทรมานกับอาการที่มีผลึกแข็งเกิดขึ้นภายในข้อต่อ อาการปวดแบบนี้มักเรียกว่าโรคเกาต์ (gout) หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา ผลึกกรดยูริกเหล่านี้อาจจะสมในข้อต่อและเนื้อเยื่อรอบข้าง ทำให้เกิดเป็นก้อนแข็งเรียกว่าโทฟี (tophi) ระดับกรดยูริกสูงยังอาจทำให้เกิดนิ่วในไต หรือไตวายได้
ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีระดับของกรดยูริกสูง หรือสงสัยว่าอาจมีอาการของโรคเกาต์ มักได้รับคำแนะนำให้เข้ารับการตรวจกรดยูริกในเลือด
นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่กำลังทำเคมีบำบัด หรือการฉายรังสีบำบัด ก็มักจะต้องเข้ารับการตรวจนี้เช่นกัน เพื่อรักษาระดับของกรดยูริกให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย
ในบางกรณี สำหรับผู้ที่มีอาการนิ่วในไตกำเริบ หรือเป็นโรคเกาต์ แพทย์อาจให้เข้ารับการตรวจกรดยูริกในเลือด เพื่อเป็นการเฝ้าระวังการเกิดนิ่ว
การตรวจกรดยูริกในเลือด เป็นขั้นตอนเพื่อทำให้แน่ใจว่า บุคคลนั้นเป็นโรคเกาต์หรือไม่ เพราะถึงแม้จะมีระดับของกรดยูริกสูง และมีอาการปวดข้อ ก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงกับโรคเกาต์เสมอไป
นอกจากนี้ ยังอาจมีการวัดระดับของกรดยูริกในปัสสาวะ แพทย์มักจะเก็บตัวอย่างปัสสาวะใน 24 ชั่วโมง มาตรวจเพื่อหาสาเหตุของระดับกรดยูริกสูง ว่ามีสาเหตุมาจากการผลิตกรดยูริกในร่างกายที่เร็วเกินไป หรือการทำงานของไตผิดปกติ
ระดับของกรดยูริกในเลือดนั้นแตกต่างในแต่ละวัน ปกติแล้วระดับของกรดยูริกมักจะสูงในตอนเช้า และลดต่ำในตอนเย็น
ระดับของกรดยูริกในเลือดที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ แม้ว่าจะอยู่ในระดับปกติ อาจช่วยในการวินิจฉัยภาวะครรภ์เป็นพิษ (preeclampsia) ได้
เนื่องจากผลของการตรวจอาจถูกแทรกแซงได้จากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาบางชนิด ระดับของวิตามินซีที่สูง หรือสีย้อมที่ใช้ในการตรวจเอ็กซ์เรย์ ดังนั้น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับสิ่งที่อาจส่งผลกระทบกับผลการตรวจทั้งหมด
แพทย์อาจให้คุณหยุดรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ เป็นเวลาหลายชั่วโมง ก่อนทำการตรวจ
เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ทำการเจาะเลือดจะดำเนินการต่อไปนี้
การรัดยางที่ต้นแขนอาจแน่นมาก จนคุณอาจรู้สึกเจ็บแขนได้บ้าง แต่คุณอาจไม่รู้สึกใดๆ จากเข็มเจาะ หรือคุณอาจรู้สึกได้ถึงการเจาะหรือการบิดอย่างรวดเร็ว
หากคุณมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับขั้นตอนการตรวจกรดยูริกในเลือด โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจคำแนะนำสำหรับคุณได้ดีขึ้น
ค่าปกติ
ค่าปกติที่ระบุไว้ ณ ที่นี้ ซึ่งเรียกว่า ค่าอ้างอิง (reference range) เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น ค่าเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามห้องปฏิบัติการ และห้องปฏิบัติการของคุณอาจมีค่าปกติที่แตกต่างออกไป รายงานจากห้องปฏิบัติการควรมีช่วงค่าที่ห้องปฏิบัติการของคุณใช้
นอกจากนี้ แพทย์จะประเมินผลการตรวจของคุณโดยยึดตามสุขภาพของคุณและปัจจัยอื่นๆ นั่นหมายความว่า ค่าที่อยู่นอกเหนือจากค่าปกติที่ระบุไว้ ณ ที่นี้ อาจยังคงเป็นค่าปกติสำหรับคุณและห้องปฏิบัติการของคุณ
โดยปกติแล้วจะได้รับผลการตรวจภายใน 1 ถึง 2 วัน
ค่าปกติของกรดยูริกในเลือด
ในบางกรณี แม้ว่าระดับของกรดยูริกในเลือดจะอยู่ในช่วงปกติ แต่ก็อาจเกิดผลึกกรดยูริกที่ข้อต่อ และนำไปสู่อาการเกาต์กำเริบได้ โดยเฉพาะในผู้ชาย
สภาวะหลายๆ อย่างสามารถเปลี่ยนแรงระดับของกรดยูริกได้ แพทย์อาจต้องคุยกับคุณเกี่ยวกับผลที่ผิดปกติ ซึ่งอาจมีความเกี่ยวข้องกับอาการและสุขภาพในอดีตของคุณ
ค่ากรดยูริกในเลือดสูง
ค่าของกรดยูริกที่สูงนั้นอาจเกิดได้จากความแตกต่างของแต่ละคนในการผลิตหรือการกำจัดกรดยูริก รวมถึงสภาวะโรคหรืออาการต่างๆ เช่น
ค่ากรดยูริกในเลือดต่ำ
ค่ากรดยูริกในเลือดต่ำเกิดได้จาก
ค่าปกติสำหรับการตรวจกรดยูริกในเลือด อาจมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับห้องปฏิบัติการและโรงพยาบาล หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับผลการตรวจ โปรดปรึกษาแพทย์
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย
ทีม Hello คุณหมอ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย