backup og meta

เอ็มอาร์ไอ หรือเครื่องสร้างภาพด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging - MRI)

เอ็มอาร์ไอ หรือเครื่องสร้างภาพด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging - MRI)

การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ เอ็มอาร์ไอ (MRI) เป็นการตรวจที่ใช้คลื่นแม่เหล็ก คลื่นวิทยุ และคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างภาพจำลองภายในร่างกาย

 

คำจำกัดความ

เอ็มอาร์ไอ (MRI) คืออะไร

การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging) หรือ เอ็มอาร์ไอ (MRI) เป็นการตรวจที่ใช้คลื่นแม่เหล็ก คลื่นวิทยุ และคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างภาพจำลองภายในร่างกาย

หมอของคุณสามารถใช้การตรวจนี้เพื่อวินิจฉัยหรือดูว่าคุณตอบสนองต่อการรักษาได้ดีแค่ไหน สิ่งที่ไม่เหมือนกับการเอ็กซ์เรย์และ CT สแกน ก็คือ เอ็มอาร์ไอจะไม่ใช้รังสี

ทำไมถึงต้องตรวจด้วยเอ็มอาร์ไอ

เอ็มอาร์ไอช่วยหมอในการวินิจฉัยโรคหรืออาการบาดเจ็บ และมันสามารถสังเกตการณ์ได้ว่าคุณรับมือกับการรักษาได้ดีแค่ไหน เอ็มอาร์ไอสามารถสแกนส่วนต่างๆ ของร่างกายได้หลากหลายส่วน

การทำเอ็มอาร์ไอบริเวณสมองและไขสันหลัง เป็นการสแกนเพื่อหาอาการหรือโรคดังต่อไปนี้ ได้แก่

การสแกนเอ็มอาร์ไอบริเวณหัวใจและหลอดเลือด เป็นการสแกนเพื่อหาอาการและโรคดังต่อไปนี้ ได้แก่

  • หลอดเลือดอุดตัน
  • ความเสียหายที่เกิดจากอาการหัวใจวาย
  • โรคหัวใจ
  • ปัญหาโครงสร้างหัวใจ

การสแกนเอ็มอาร์ไอบริเวณกระดูกและข้อต่อ เป็นการสแกนเพื่อหาอาการและโรคดังต่อไปนี้ ได้แก่

  • การติดเชื้อที่กระดูก
  • มะเร็ง
  • ความเสียหายบริเวณข้อต่อ
  • ปัญหาหมอนรองกระดูกที่สันหลัง

การสแกนเอ็มอาร์ไปยังสามารถช่วยเช็คสุขภาพของอวัยวะเหล่านี้ ได้แก่

การสแกนเอ็มอาร์ไปชนิดพิเศษเรียกว่าการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุในการสร้างภาพของอวัยวะและโครงสร้างต่าง ๆ ของร่างกาย (functioal MRI – fMRI)

การตรวจนี้จะดูการไหลเวียนของเลือดในสมองของคุณ เพื่อดูว่าบริเวณไหนที่เกิดการตอบสนองเมื่อคุณทำภารกิจบางอย่าง เครื่อง fMRI สามารถตรวจจับปัญหาทางสมองได้ อย่างเช่น ผลกระทบของเส้นเลือดในสมองแตก หรือใช้ในการทำแผนที่สมอง หากคุณต้องรับผ่าตัดสมองเนื่องจากโรคลมชักหรือเนื้องอกในสมอง หมอของคุณสามารถใช้การตรวจนี้เพื่อวางแผนการรักษาของคุณได้

ข้อควรรู้ก่อนการตรวจ

อะไรที่เราควรรู้ก่อนเข้ารับการตรวจด้วยเอ็มอาร์ไอ

ก่อนการสแกนเอ็มอาร์ไป คุณมักจะได้รับการขอให้ทำแบบสอบถามเกี่ยวกับการตรวจ The International Society for Magnetic Resonance in Medicine (ISMRM) มีตัวอย่างแบบฟอร์มสอบถามสำหรับผู้เข้ารับการตรวจให้บนเว็บไซต์ เพื่อความปลอดภัยของคุณ การตอบแบบสอบถามตามความเป็นจริงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก

อย่าลืมแจ้งรังสีแพทย์หรือนักรังสีเทคนิค ถ้าคุณใช้อุปกรณ์ปลูกถ่ายทางการแพทย์ อย่างเช่น ขดลวดหัวใจ (stent) หัวเข่าหรือข้อสะโพกเทียม เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ หรือเครื่องปั๊มยา แจ้งนักรังสีเทคนิคด้วย หากคุณมีรอยสักหรือติดแผ่นยา เพราะสิ่งเหล่านี้อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือรอยไหม้ได้ในระหว่างการตรวจ ทีมแพทย์ต้องแน่ใจว่าอุปกรณ์เหล่านี้สามารถอยู่ในเครื่องเอ็มอาร์ไอได้อย่างปลอดภัย

อุปกรณ์บางชนิดที่ระบุว่า MR Safe หรือ MR Conditional หมายความว่าอุปกรณ์เหล่านี้สามารถนำมาใช้ได้อย่างปลอดภัยในการสแกนเอ็มอาร์ำอ ภายใต้เงื่อนไขบางประการ หากคุณมีบัตรประจำตัวสำหรับอุปกรณ์บนร่างกายของคุณ ควรนำติดตัวมาด้วย เพื่อเป็นการช่วยหมอหรือนักรังสีเทคนิคในการระบุประเภทของอุปกรณ์ที่คุณมีอยู่

บริเวณที่คุณจะต้องนอนในเครื่องเอ็มอาร์ไอเพื่อให้เครื่องถ่ายภาพของคุณอาจมีพื้นที่แคบสำหรับบางคน หากคุณรู้สึกมีอาการกลัวที่แคบ (claustrophobic) แจ้งนักรังสีเทคนิคหรือหมอของคุณทันที

เครื่องสแกนเอ็มอาร์ไอจะมีเสียงค่อนข้างดังขณะถ่ายภาพ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ คุณควรจะได้รับที่อุดหูและ/หรือหูฟัง เพื่อช่วยให้ไ้ด้ยินเสียงน้อยลง หรือคุณอาจฟังเพลงผ่านหูฟัง ซึ่งทำให้การตรวจเอ็มอาร์ไอราบรื่นยิ่งขึ้น

หากการตรวจของคุณต้องมีการใช้สารทึบแสง นักรังสีเทคนิคจะฉีดสารตัวนี้เข้าไปในหลอดเลือดดำในแขนของคุณข้างใดข้างหนึ่ง คุณอาจรู้สึกเย็นเมื่อถูกฉีดสารนี้เข้าไป อย่าลืมแจ้งนักรังสีเทคนิค หากคุณรู้สึกเจ็บปวดหรือรู้สึกไม่สบาย

จำไว้ว่า หมอของคุณแนะนำให้คุณสแกนเอ็มอาร์ไอ เพราะหมอเชื่อว่าการสแกนจะนำมาซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับกระบวนการของคุณ อย่ารอช้าที่จะสอบถาม

ขั้นตอนการตรวจ

เตรียมตัวอย่างไรสำหรับการตรวจ เอ็มอาร์ไอ

ผู้ป่วยแทบจะไม่ต้องเตรียมการอะไรก่อนเข้ารับการแสกนเอ็มอาร์ไอ เมื่อมาถึงโรงพยาบาล หมออาจขอให้ผู้ป่วยเปลี่ยนไปใส่เสื้อคลุมของโรงพยาบาล เนื่องจากมีการใช้แม่เหล็ก จึงไม่ควรมีสิ่งของที่เป็นโลหะเข้าไปในเครื่องสแกนด้วย ดังนั้น ผู้ป่วยจะถูกขอให้ถอดเครื่องเพชรหรือเครื่องประดับที่ทำจากโลหะ ที่อาจขัดขวางการทำงานของเครื่องสแกนออก

บางครั้ง ผู้ป่วยจะถูกฉีดสารทึบแสงเข้าสู่หลอดเลือดดำ เพื่อเพิ่มการปรากฎตัวของเนื้อเยื่อร่างกายบางชนิด

รังสีแพทย์จะพูดคุยกับคุณตลอดกระบวนการสแกนเอ็มอาร์ไอ และตอบคำถามอะไรก็ตามที่คุณอาจสงสัยเกี่ยวกับกระบวนการนี้

เมื่อผู้ป่วยเข้าไปยังห้องสแกน ผู้ป่วยจะต้องขึ้นไปนอนบนเครื่องสแกน เจ้าหน้าที่จะดูให้แน่ใจว่าผู้ป่วยรู้สึกสะดวกสบายที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยการจัดหาผ้าห่มหรือหมอนให้

จากนั้นจะนำที่อุดหูหรือหูฟังมาให้ เพื่อปิดกั้นเสียงดังจากเครื่องสแกน หูฟัง ถือเป็นสิ่งยอดนิยมสำหรับการตรวจในเด็ก เพราะพวกเขาสามารถฟังเพลงเพื่อลดความกังวลลงได้

เกิดอะไรขึ้นระหว่างการตรวจ เอ็มอาร์ไอ

ก่อนการสแกนเอ็มอาร์ไอ คุณจะได้รับการฉีดสารทึบแสงเข้าสู่กระแสเลือดที่แขนหรือมือของคุณ สารนี้จะช่วยให้หมอมองเห็นโครงสร้างในร่างกายได้ชัดขึ้น สารที่มักนำมาใช้ในการสแกนเอ็มอาร์ไอเรียกว่า แกโดลิเนียม (gadolinium) สิ่งนี้จะอาจทำให้รู้สึกถึงรสสัมผัสของโลหะในปากได้

คุณจะนอนหงายอยู่บนโต๊ะที่จะเลื่อนเข้าไปในเครื่องสแกน อาจมีการใช้ที่รัดเพื่อตรึงคุณให้อยู่นิ่งๆ ในระหว่างการสแกน ร่างกายทั้งหมดของคุณจะอยู่ในเครื่องสแกน หรืออาจมีบางส่วนของร่างกายที่อยู่ด้านนอก

เครื่องสแกนเอ็มอาร์ไอจะสร้างสนามแม่เหล็กพลังงานสูงภายในร่างกายของคุณ คอมพิวเตอร์จะรับสัญญาณจากเอ็มอาร์ไอ และใช้สัญญาณในการสร้างรูปภาพหลายๆ ภาพ แต่ละรูปจะแสดงแต่ละส่วนของร่างกายคุณ

คุณอาจได้ยินเสียงเคาะหรือกดดังๆ ระหว่างการตรวจ เสียงนี้เป็นเสียงที่เครื่องสแกนสร้างพลังงานเพื่อถ่ายภาพภายในร่างกายของคุณ คุณสามารถขอหูฟังหรือที่อุดหูเพื่อป้องกันเสียงได้

คุณอาจรู้สึกถึงแรงกระตุกระหว่างการตรวจ อาการนี้เกิดขึ้นในขณะที่เครื่อง เอ็มอาร์ไอกระตุ้นเส้นประสาทภายในร่างกาย ซึ่งเป็นเรื่องปกติและไม่จำเป็นต้องกังวล

การสแกนเอ็มอาร์ไอใช้เวลาในการสแกนระหว่าง 20 ถึง 90 นาที

เกิดอะไรขึ้นหลังจากการตรวจเอ็มอาร์ไอ

หลังการสแกน รังสีแพทย์จะวิเคราะห์ภาพเพื่อดูว่าต้องการรูปเพิ่มเติมอีกหรือไม่ หากรังสีแพทย์พอใจแล้ว คนไข้สามารถกลับบ้านได้ รังสีแพทย์จะเตรียมรายงานคร่าวๆ ให้คุณหมอของคุณ ซึ่งจะนัดหมายกับคุณเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับผลตรวจ

หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับเอ็มอาร์ไอ โปรดปรึกษากับหมอของคุณ เพื่อเข้าใจวิธีแก้ปัญหาที่ชัดเจนยิ่งขึ้นสำหรับตัวคุณเอง

ผลการตรวจ

ผลตรวจหมายความอย่างไร

แพทย์ที่ได้รับการศึกษาและฝึกมาเฉพาะด้านที่เรียกว่ารังสีแพทย์ จะเป็นผู้อ่านผลสแกนเอ็มอาร์ไอ และส่งผลการตรวจนั้นไปให้หมอของคุณ

หมอของคุณจะอธิบายความหมายของผลตรวจของคุณ และสิ่งต่อไปที่คุณควรทำ

ค่าปกติของเอ็มอาร์ไปอาจมีได้หลายค่า ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลและแล็บแต่ละแห่ง โปรดปรึกษากับหมอของคุณเกี่ยวกับข้อสงสัยใดๆ ที่คุณมีเกี่ยวกับผลตรวจของคุณ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Is an MRI?. https://www.webmd.com/a-to-z-guides/what-is-an-mri#3-6. Accessed May 2, 2018.

What Patients Should Know Before Having an MRI Exam. https://www.fda.gov/Radiation-EmittingProducts/RadiationEmittingProductsandProcedures/MedicalImaging/MRI/ucm482768.htm. Accessed May 2, 2018.

What you should know about MRI scans. https://www.medicalnewstoday.com/articles/146309.php. Accessed May 2, 2018.

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/06/2020

เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

อัลตร้าซาวด์ ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกหรือไม่ 

ตรวจซี-รีแอคทีฟ โปรตีน (C-Reactive Protein Test)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 12/06/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา