backup og meta

โรคกดทับเส้นประสาทในโพรงข้อมือ ภัยเงียบที่คนนอนดิ้นควรระวัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    โรคกดทับเส้นประสาทในโพรงข้อมือ ภัยเงียบที่คนนอนดิ้นควรระวัง

    เมื่อคุณรู้สึกถึงบริเวณฝ่ามือที่ชา และมีอาการเจ็บข้อมือเล็กน้อยหลังจากตื่นนอนในยามเช้า จนทำให้คุณเกิดความสับสน เพราะเป็นโรคที่มีอาการคล้ายกับเหน็บชา หรือตะคริว แต่แท้จริงแล้วนั้น เป็นเพียงสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกถึง โรคกดทับเส้นประสาทในโพรงข้อมือ ซึ่งทุกคนอาจยังไม่ค่อยคุ้นหูกันมากนัก แต่วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมารู้จักกับอาการนี้ให้มากขึ้น พร้อมเผยวิธีป้องกันอย่างละเอียด

    โรคกดทับเส้นประสาทในโพรงข้อมือคืออะไร

    โรคกดทับเส้นประสาทในโพรงข้อมือ มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า (Carpal Tunnel Syndrome) เกิดจากการบีบตัว หรือถูกกดทับบริเวณเส้นประสาทในโพรงฝ่ามือของคุณ จนไปถึงบริเวณข้อมือ ทำให้ไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือด และยังมีทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวทั้งหมดของนิ้ว ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของคุณรวมถึงอาชีพต่างๆ เช่น การใช้แป้นพิมพ์ในการพิมพ์งานอยู่บ่อยครั้ง การอยู่กับสิ่งที่ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนเป็นเวลานาน

    อาการใดบ้างที่บอกถึงโรคกดทับเส้นประสาทในโพรงข้อมือ

    อาการเหล่านี้มักพบได้บ่อยหลังจากคุณตื่นนอน เพราะอาจเกิดการนอนดิ้นจนทับมือของตนเองในช่วงเวลากลางคืนอันแสนยาวนานโดยที่คุณอาจไม่รู้ตัว

    • รู้สึกเจ็บปวด หรือเสียวซ่าบริเวณนิ้วมือ
    • ปวดข้อมือในเวลากลางคืน
    • ปลายนิ้วชา หรือมือชา

    ใครกำลังเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้

    ส่วนมากอาการนี้มักเสี่ยงต่อบุคคลที่ประกอบอาชีพเกี่ยวข้องกับสายงานการผลิต งานก่อสร้าง และพนักงานออฟฟิศที่ใช้งานด้านการพิมพ์ หรือผู้ที่ใช้มือในการทำงานอื่นๆ เป็นหลัก รวมถึงสภาวะของโรคประจำตัวต่างๆ เช่น

    ดูแล และป้องกันตนเองอย่างไร ให้สุขภาพมือของคุณแข็งแรง

    นอกจากนี้แพทย์อาจแนะนำเป็นการใส่อุปกรณ์บางอย่าง เพื่อป้องกันการกดทับเส้นประสาทของข้อมือในช่วงเวลากลางคืนขณะที่คุณเปลี่ยนท่านอนไปมา และบรรเทาอาการชา เสียวซ่า พร้อมกับการรับประทานยาลดการอักเสบ หรืออาการบวมลง เพื่อเพิ่มการนอนหลับของคุณให้สบายยิ่งขึ้น

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา