backup og meta

สัญญาณเตือน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ภัยร้ายวัยทำงาน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 08/05/2020

    สัญญาณเตือน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ภัยร้ายวัยทำงาน

    โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทและไขสันหลัง ซึ่งจะส่งผลต่อร่างกายต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาการมองเห็น อาการชาที่แขนและขา นอกจากนี้ยังมี สัญญาณเตือน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อื่นๆ อีกมากมาย วันนี้ Hello คุณหมอ มีสัญญาณเตือนอื่นๆ ที่อาจกำลังบ่งบอกว่าคุณอาจเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

    โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งคืออะไร

    โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis; MS) เป็นโรคที่อาจทำให้สมองพิการและส่งผลกระทบต่อไขสันหลัง (ระบบประสาทส่วนกลาง) ได้

    โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง เป็นโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันจะโจมตีปลอกหุ้ม ที่มีหน้าที่ในการหุ้มเส้นใยประสาท เมื่อเส้นใยประสาทถูกโจมตี ทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสารระหว่างสมองและส่วนอื่นๆ ของร่างกาย จนส่งผลทำให้เกิดความเสียหายต่อประสาท อาการของโรคปลอกประสาทอักเสบนั้นมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปริมาณ ความเสียหายของเส้นประสาท และเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบ สำหรับบางคนที่มีอาการของโรคที่รุนแรงมากๆ นั้นอาจถึงขั้นสูญเสียความสามารถในการเดินได้เลยทีเดียว

    สัญญาณเตือน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

    โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง เป็นโรคที่มีอาการและสัญญาณเตือนที่หลากหลาย เพราะอาการนั้นจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปริมาณ ความเสียหายของเส้นประสาท และเส้นประสาทที่ได้รับผลกระบ

    มีปัญหาในการมองเห็น

    ปัญหาด้านการมองเห็น เป็นหนึ่งในปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุดในโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง เพราะการอักเสบที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทตาและขัดขวางการทำงานของดวงตา ทำให้เกิดปัญหาในการมองเห็น ซึ่งอาจทำให้เห็นภาพซ้อน สำหรับบางคนที่อาหารหนักมากๆ ก็อาจจะสูญเสียการมองเห็นได้เลย

    คุณอาจไม่สังเกตเห็นปัญหาการมองเห็นในทันที เนื่องจากการเสื่อมของการมองเห็นที่ชัดเจนอาจช้า ความเจ็บปวดเมื่อคุณเงยหน้าขึ้นหรือไปด้านใดด้านหนึ่ง นอกจากนี้ยังสามารถมาพร้อมกับการสูญเสียการมองเห็น วิธีการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง มีหลากหลายวิธี

    รู้สึกเสียวแปลบปลาบและชา

    โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง เป็นโรคที่มีผลกระทบต่อเส้นประสาทและไขสันหลัง ซึ่งเป็นศูนย์รวมของเส้นประสาทต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งหากเส้นประสาทและไขสันหลังเกิดความขัดข้อง นั้นหมายความว่าร่างกายจะได้รับสัญญาณความขัดข้องนั้นด้วย แต่บางครั้งร่างกายก้ไม่ได้รับสัญญาณเหล่านั้น ซึ่งอาการชา เสียวแปลบๆ เป็นสัญญาณอาการที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะที่ ใบหน้า แขน ขา และนิ้วมือ

    มีอาการปวด กล้ามเนื้อเกร็ง

    อาการปวดกล้ามเนื้อและอาการกล้ามเนื้อเกร็ง ถือเป็นปัญหาปกติที่สามารถพบเจอได้ในผู้ที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยจำนวนครึ่งหนึ่งที่เป็นโรคนี้มีอาการปวดเรื้อรัง อาการกล้ามเนื้อแข็งตัวและอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง ก็เป็นเรื่องปกติที่จะพบในผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้เช่นกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือไม่สามารถควบคุมข้อต่อในส่วนต่างๆ ได้ หากมีการเคลื่อนไหวอาจทำให้เกิดอาการเจ็บ ปวดโดยเฉพาะที่แขนและขา

    เสียสมดุลและมีอาการวิงเวียนศีรษะ

    อาการวิงเวียนศีรษะ ความสัมพันธ์ในการทำงานของอวัยวะ และการเสียสมดุล มักจะมีการทำงานที่แย่ลง และลดความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยบางราย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเดิน ซึ่งผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งบางคนมักจะมีอาการเวียนศีรษะ มึนงง รู้สึกว่าสภาพแวดล้อมรอบๆ หมุนตลอดเวลา ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นขณะที่ลุกขึ้นยื่น

    มีปัญหาในการรับรู้และความเข้าใจ

    ผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งจำนวนครึ่งหนึ่งมักมีปัญหาในการรับรู้และความเข้าใจ ซึ่งอาจจะร่วมถึงปัญหาต่างๆ เหล่านี้ด้วย

    • มีปัญหาเรื่องความจำ
    • มีปัญหาด้านการสื่อสาร
    • มีปัญหาในการจัดการ
    • มีปัญหาภาวะซึมเศร้าและปัญหาด้านอารมณ์อื่นๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถพบได้ในผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้

    มีการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์

    การเกิดภาวะซึมเศร้า ถือเป็นเรื่องปกติในผู้ป่วยที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง นอกจากนี้ความเครียดจากโรคนี้ยังส่งผลทำให้หงุดหงิด มีอารมณ์แปรปรวน ซึ่งเรียกว่า ภาวะ ซูโดบัลบาร์อาฟเฟ็กต์ (Pseudobulbar Affect; PBA) ซึ่งเป็นภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมการร้องไห้และหัวเราะของตัวเองได้ บางครั้งก็ร้องไห้หรือหัวเราะออกมาโดยที่ไม่สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่

    Hello Health Groupไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 08/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา