backup og meta

ทำความรู้จักกับ ประสาทสัมผัส พื้นฐานทั้ง 5 ที่มนุษย์มี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 28/01/2022

    ทำความรู้จักกับ ประสาทสัมผัส พื้นฐานทั้ง 5 ที่มนุษย์มี

    มนุษย์มี ประสาทสัมผัส หลักอยู่ 5 แบบ คือ การสัมผัส การมองเห็น การได้ยิน กลิ่น รสสัมผัส อวัยวะที่รับ ประสาทสัมผัส จะทำงานร่วมกับประสาทสัมผัสเพื่อส่งข้อมูลไปยังสมองซึ่งช่วยให้เราเข้าใจและรับรู้สิ่งต่างๆรอบตัวเรา นอกจากนี้คนเราก็ยังมีประสาทสัมผัสอื่นๆอีก แต่วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปทำความรู้จักกับประสาทสัมผัสเบื้องต้น 5 อย่าง ว่ามีหลักการทำงานอย่างไร

    ประสาทสัมผัส พื้นฐานทั้ง 5 ที่เรามี

    การ สัมผัส

    การสัมผัส ถือเป็นประสาทสัมผัสรูปแบบแรก ที่มนุษย์มีการพัฒนาขึ้น คนเรารับรู้ การสัมผัส ได้ด้วยการสื่อสารไปยังสมองผ่านทางเส้นประสาทพิเศษในผิวหนัง นอกจากนี้คนเรารับรู้ถึงแรงดัน อุณหภูมิ การสั่น ความเจ็บปวด ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนหนึ่งของประสาทสัมผัสในรูปแบบการสัมผัสทั้งสิ้น โดยที่เราจะรับรู้ได้ผ่านทางตัวรับที่แตกต่างกันในผิวหนัง

    การ สัมผัส ไม่ใช่สิ่งที่เรารับรู้ได้เพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นการสื่อสารแบบอวัจนภาษารูปแบบหนึ่ง เช่น เมื่อเพื่อนเสียใจเราเพียงตบบ่า ลูบหลังปลอบใจเท่านี้เพื่อนก็สามารถรับรู้ได้ถึงความห่วงใจที่เราส่งผ่านการสัมผัสได้เช่นกันหรือการกอดก็เป็นการแสดงความรักผ่านการสัมผัสรูปแบบหนึ่ง

    นอกจากนี้การสัมผัสยังเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของมนุษย์ จากการวิจัย 6 ชิ้นของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและมหาวิทยาลัยเยล พบว่า ผิวสัมผัสมีผลต่อแนวคิดและจินตนาการของมนุษย์ การที่เราได้สัมผัสสิ่งที่มีพื้นผิวแตกต่างกันจะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจและรับรู้ได้ว่าสิ่งที่สัมผัสคืออะไร

    การมองเห็น

    การมองเห็น หรือการรับรู้สิ่งต่างๆ ผ่านดวงตา เป็นหนึ่งใน ประสาทสัมผัส ที่มีความสำคัญและเป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนมาก ๆ โดยการรับรู้ผ่านดวงตาจะเริ่มจากแสงได้กระทบวัตถุแล้วส่งมาที่ดวงตา ชั้นใสๆที่ปกคลุมดวงตาที่เรียกว่า กระจกตา (Cornea) จะทำการหักเหแสงให้ผ่านเข้าไปในรูม่านตา ซึ่งม่านตาจะมีหลักการทำงานคล้ายกับรูรับแสงของกล้องถ่ายรูป บางครั้งมันจะหดเล็กลงเพื่อลดการรับเสียง บางครั้งก็จะเปิดกว้างขึ้นเมื่อต้องการแสงมากขึ้น

    เลนส์ของดวงตาจะโค้งรับแสงและโฟกัสที่จอตา ซึ่งเซลล์เหล่านี้จะมีรูปร่างเหมือนแท่งและกรวย ซึ่งเซลล์แบบกรวยจะทำหน้าที่ในการแปลแสงที่เห็นเป็น สี จุดรวมสายตา และรายละเอียดต่างๆ ของสิ่งที่เห็น ส่วนเซลล์ที่รูปร่างเหมือนแท่งจะแปลแสงที่ดวงตารับรู้เป็น ภาพและการเคลื่อนไหว รูปแท่งยังทำให้เราสามารถมองเห็นได้ในที่ที่มีแสงอย่างจำกัด เช่น ในเวลากลางคืนข้อมูลที่แปลจากแสงจะถูกส่งเป็นแรงกระตุ้นไฟฟ้า ไปยังสมองผ่านทางเส้นประสาทตา

    การได้ยิน

    ประสาทสัมผัสของรูปแบบการได้ยิน จะผ่านเขาวงกตที่ซับซ้อน ที่เรียกว่า โครงสร้างของหู เสียงจะถูกส่งผ่านทางหูชั้นนอกไปยังช่องหูส่วนนอก จากนั้นคลื่นเสียงจะเดินทางต่อไปยังเยื่อแก้วหูหรือแก้วหู ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแผ่นบางๆ ที่จะสั่นสะเทือนเมื่อมีคลื่นเสียงไปกระทบ การสั่นสะเทือนจะเดินทางไปยังหูชั้นกลาง ที่จะมีกระดูกหูเล็ก ๆ 3 ชิ้น เรียกว่า กระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน ซึ่งการสั่นสะเทือนเหล่านี้จะเกิดการแปลเป็นแรงกระตุ้นไฟฟ้า จากนั้นแรงกระตุ้นก็จะเดินทางไปยังสมองผ่านทางประสาทสัมผัส

    กลิ่น

    มนุษย์เราอาจจะได้กลิ่นมากกว่า 1 ล้านล้านกลิ่น จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2017 ทางวารสาร Science ชี้ให้เห็นว่า มนุษย์เราสามารถแยกแยะกลิ่นที่แตกต่างกันได้มากถึง 1 ล้านล้าน ซึ่งครั้งหนึ่งเราเคยเชื่อกันว่ามนุษย์สามารถรับกลิ่นได้เพียง 10,000 กลิ่นเท่านั้น John McGann นักประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัยรัทเกอร์ส – นิวบรันสวิกในรัฐนิวเจอร์ซีย์ กล่าวว่าจริงๆแล้วมนุษย์มีประสาท สัมผัส การดมกลิ่นที่ยอดเยี่ยม สามารถดมกลิ่นได้ดีพอๆกับสุนัขเลยทีเดียว

    รสสัมผัส

    โดยทั่วไปแล้ว คนเราจะรับรู้ได้ถึงรส สัมผัส ที่แตกต่างกัน 4 รูปแบบ ได้แก่ รสเค็ม รสหวาน รสเปรี้ยว และรสขม นอกจากนี้บางที่ยังมีรสสัมผัสที่ 5 ที่เรียกว่า รสอุมามิหรือรสดี ส่วนรสเผ็ดร้อนจริง ๆ แล้วไม่ใช่รสชาติ แต่เป็นความเจ็บปวดตามที่ห้องสมุดยาแห่งชาติเป็นคนกำหนดไว้ (the National Library of Medicine (NLM))

    รสสัมผัสเป็นประสาทสัมผัสที่มีความจำเป็น รสชาติมีส่วนช่วยให้มนุษย์ทดสอบอาหารที่กินเขาไปว่ามีรสอะไร ขม เปรี้ยว ซึ่งรสชาติต่าง ๆ ของอาหารสามารถช่วยบอกได้ว่าพืชชนิดนั้นเป็นพิษหรือเน่าเสียหรือเปล่า โดยทั่วไปแล้วรสชาติเค็มและหวาน มักจะบ่งบอกถึงอาหารที่เต็มไปด้วยสารอาหาร

    หลายๆคนคงเคยได้ยินว่า ลิ้นของคนเราจะมีโซนแยกสำหรับรับรสแต่ละรสชาติ ซึ่งสามารถ สัมผัส ได้ถึง 5 รสชาติ ในทุกๆ ส่วนของลิ้น แต่ด้านข้างของลิ้นมักจะมีความไวในการรับรสมากกว่าส่วนกลาง ซึ่งเซลล์ต่างๆ ของเซลล์รับความรู้สึกในต่อมรับรสจะตอบสนองต่อรสทั้ง 5 ในแต่ละคนก็จะมีความไวต่อการรับรสในรสที่แตกต่างกัน

    ไม่ว่าจะเป็น รสชาติหวานตามด้วยเปรี้ยวเค็ม หรือบางคนอาจจะมีการรับรสชาติที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ก็จะมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ช่วยในการสร้างการรับรู้รสชาติ อย่างเช่น กลิ่นของอาหารจะส่งผลกระทบอย่างมาก ต่อการที่สมองจะรับรู้รสชาติ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 28/01/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา