backup og meta

วิตามินดี ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ได้จริงเหรอ

วิตามินดี ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ได้จริงเหรอ

เป็นที่รู้กันว่าวิตามินดีนั้นเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง แต่ในความจริงแล้ว วิตามินดีอาจจะมีประโยชน์มากกว่านั้น โดยเฉพาะกับในเรื่องของการต้านมะเร็ง เพราะนักวิทยาศาสตร์บางส่วนมีความเห็นว่า วิตามินดี อาจสามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ แต่ก็ยังมีงานวิจัยบางส่วนที่ออกมาโต้แย้งกับความเห็นนี้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะมานำเสนอเกี่ยวกับ วิตามินดีและโรคมะเร็ง ว่ามีความสัมพันธ์กับอย่างไร และสามารถใช้ วิตามินดีป้องกันมะเร็ง ได้จริงหรือไม่

งานวิจัยพบอะไรเกี่ยวกับ วิตามินดีและโรคมะเร็ง

ความเห็นจากฝั่งที่สนับสนุนแนวคิดที่ว่า วิตามินดีนั้นสามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้นั้น เนื่องจากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Public Health ได้ศึกษาเกี่ยวกับความเกี่ยวข้องของวิตามินดี และความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ได้แก่ มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และมะเร็งต่อมลูกหมาก

งานวิจัยนั้นพบว่า ภาวะขาดวิตามินดี เมื่อรวมกับปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งอื่น ๆ แล้ว อาจเป็นตัวการที่เพิ่มโอกาสในการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเนื่องจากโรคมะเร็งได้ ได้ ดังนั้น การรักษาระดับและรับประทานวิตามินดีให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อาจสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง หรือการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเหล่านี้ได้

อีกหนึ่งงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมิชิแกน ได้พบว่า การรับประทานอาหารเสริมวิตามินดี เป็นเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป อาจสามารถช่วยรักษาชีวิต และช่วยยืดชีวิตให้ผู้ป่วยโรคมะเร็ง สามารถมีชีวิตได้ยืนยาวนานมากยิ่งขึ้น งานวิจัยนั้นได้ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง และมีอายุเฉลี่ยประมาณ 68 ปี จำนวนมากกว่า 80,000 ราย โดยมุ่งเน้นไปที่ผลของการใช้อาหารเสริมวิตามินดี ต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งและการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง

งานวิจัยนั้นพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับอาหารเสริมวิตามินดี เป็นเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสในการเสียชีวิตเนื่องจากโรคมะเร็งลดลงเป็นอย่างมาก เมื่อเทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับยาหลอก

วิตามินดีป้องกันมะเร็ง ได้จริงเหรอ

แม้ว่าจะหลากหลายงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า การรับประทานอาหารเสริมวิตามินดี อาจสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ และยังอาจสามารถช่วยลดโอกาสในการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งได้จริง แต่งานวิจัยนั้น ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยง หรือประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง

นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างที่รับประทานอาหารเสริมวิตามินดีนั้น มักจะเป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง น้อยกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้รับประทานอาหารเสริมวิตามินดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น เช่น ไม่สูบบุหรี่ ไม่มีน้ำหนักเกิน หรือมีสุขภาพที่ดีกว่า การวิจัยที่ทำการศึกษาคนในสองกลุ่มนี้ โดยไม่ควบคุมตัวแปรอื่นๆ จึงอาจให้ผลที่ไม่น่าเชื่อถือเท่าที่ควร

ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุด จึงควรทำการศึกษาวิจัย โดยการควบคุมตัวแปรที่อาจส่งผลกระทบต่อการป้องกันโรค เพื่อให้สามารถได้ข้อสรุปจริงๆ ว่า การรับประทานอาหารเสริมวิตามินดีนั้น สามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้จริงหรือไม่

สุดท้ายนี้ แม้ว่าเราอาจจะยังไม่สามารถทราบข้อสรุปเกี่ยวกับการรับประทานวิตามินดีเพื่อป้องกันโรคมะเร็ง แต่วิตามินดีก็ยังคงเป็นวิตามินที่สำคัญต่อร่างกาย และยังอาจสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอื่นๆ เช่น โรคกระดูกพรุนได้ ดังนั้น เราทุกคนจึงควรรับประทานวิตามินดีให้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน

สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับปริมาณที่เหมาะสมในการบริโภควิตามินดีในแต่ละวัน คือ

  • อายุ 1 – 50 ปี บริโภควันละ 200 หน่วย (IU)
  • อายุ 51 -70 ปี บริโภควันละ 400 หน่วย (IU)
  • อายุ 70 ปีขึ้นไป บริโภควันละ 600 หน่วย (IU)

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The Role of Vitamin D in Cancer Prevention https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1470481/

Vitamin D Supplements Don’t Reduce Cancer Incidence, Trial Shows https://www.cancer.gov/news-events/cancer-currents-blog/2018/vitamin-d-supplement-cancer-prevention

Influence of vitamin D on cancer risk and treatment: Why the variability? https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6201256/

Vitamin D Supplements May Help People with Cancer Live Longer https://www.healthline.com/health-news/vitamin-d-and-cancer-deaths

Vitamin D and Cancer Prevention https://www.cancer.gov/about-cancer/causes-prevention/risk/diet/vitamin-d-fact-sheet

เวอร์ชันปัจจุบัน

23/07/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคไวรัสตับอักเสบบี คือโรคอะไร ใครควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

สารก่อมะเร็ง ที่คุณควรรู้จักไว้ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ชีวิต


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 23/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา