backup og meta

ลำไส้ใหญ่ ทำหน้าที่อะไรในร่างกายของเรากันแน่

ลำไส้ใหญ่ ทำหน้าที่อะไรในร่างกายของเรากันแน่

ระหว่างกระบวนการย่อยอาหาร ร่างกายต้องดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นจากอาหารที่รับประทานเข้าไป แต่คุณอาจไม่ทราบว่าร่างกายยังจำเป็นต้องขับถ่ายของเสียที่เป็นพิษออกไปด้วย นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมลำไส้ใหญ่จึงมีความสำคัญ วันนี้ Hello คุณหมอ เลยอยากนำเสนอบทความเกี่ยวกับ ลำไส้ใหญ่ เพื่อให้คุณรู้จักอวัยวะสำคัญนี้ดีขึ้น

[embed-health-tool-bmi]

หน้าที่ของ ลำไส้ใหญ่

ลำไส้ใหญ่ เป็นท่อกล้ามเนื้อขนาดประมาณ 1.6 เมตรและมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร มีขนาดกว้างแต่สั้นกว่าลำไส้เล็ก โดยลำไส้ใหญ่เป็นส่วนสุดท้ายของระบบทางเดินอาหาร หน้าที่ของลำไส้ใหญ่คือ ดูดกลับน้ำ ดูดซึมวิตามินเค กำจัดกากของเสียและสารพิษจากลำไส้เล็ก

ลำไส้ใหญ่แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่

  1. ลำไส้ใหญ่ส่วนทอดบน
  2. ลำไส้ใหญ่ส่วนขวาง
  3. ลำไส้ใหญ่ส่วนทอดลงล่าง
  4. ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย

ลำไส้ใหญ่กินพื้นที่บริเวณท้องส่วนล่างด้านขวา ซึ่งเป็นบริเวณที่ลำไส้เล็กขับสารอาหารเข้าสู่ส่วนแรกของลำไส้ใหญ่ที่เรียกว่า ซีกั้ม (cecum) ลำไส้ใหญ่ส่วนทอดบนเริ่มจากส่วนซีกั้มจนถึงระดับของตับ จากนั้นลำไส้จะขดไปทางซ้ายและพาดผ่านช่วงท้องที่เรียกว่าลำไส้ใหญ่ส่วนขวาง ลำไส้ใหญ่ส่วนทอดปลายเริ่มจากส่วนท้องด้านซ้ายไปจนถึงเชิงกรานที่บริเวณตำแหน่งม้าม เรียกว่า ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย และสิ้นสุดที่ลำไส้ตรง ซึ่งเป็นบริเวณที่ของเสียถูกขับออกจากร่างกาย

ในช่วงแรก เมื่ออาหารผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ จะถูกเปลี่ยนเป็นกากอาหารหรืออุจจาระ และถูกลำเลียงไปกักเก็บไว้ที่ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ของเสียจะถูกส่งเข้าสู่ไส้ตรงเมื่อมีการขับถ่ายอุจจาระซึ่งเกิดขึ้น 1-2 ครั้งต่อวัน

ลำไส้ใหญ่ดูดซึมน้ำและแร่ธาตุและสร้างของเสียเพื่อขับออกจากร่างกายในรูปแบบของอุจจาระ ในลำไส้ใหญ่มีแบคทีเรียมากกว่า 400 ชนิดซึ่งหน้าที่หลักคือแบคทีเรียเหล่านี้คือ ช่วยย่อยอาหาร กระตุ้นการผลิตสารอาหารที่สำคัญ เช่น วิตามินเค วิตามินบีหลายชนิด สร้างสมดุลของกรดและด่าง รวมถึงป้องกันการแพร่กระจายของแบคทีเรียที่เป็นอันตราย

ผู้ที่มีสุขภาพลำไส้ใหญ่ดีควรขับถ่ายได้ง่ายและอุจจาระออกหมด และอุจจาระควรมีสีอ่อน ยาวและมีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ อาจมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ และควรแตกตัวขณะที่มีการกดชักโครกทิ้ง

สิ่งที่เกิดขึ้นกับลำไส้ใหญ่ เมื่อเป็นมะเร็งลำไส้ 

อย่างที่บอกไปข้างต้นว่า หน้าที่ของลำไส้ใหญ่ คือ การดูดซึมของเหลวและกำจัดของเสียในรูปแบบอุจจาระออกจากร่างกาย เพื่อรักษาสุขภาพเอาไว้ แต่เมื่อคุณเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หน้าที่ดังกล่าวจะเสียไป ทำให้เกิดการสะสมของเสียในร่างกายซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้

มะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถเกิดขึ้นในลำไส้ใหญ่หรือลำไส้ใหญ่ส่วนใดก็ได้ แต่พบมากที่ลำไส้ใหญ่ส่วนล่างใกล้ลำไส้ตรง ซึ่งเป็นมะเร็งชนิดที่ทำให้ถึงแก่ความตายได้ สถาบันวิจัยมะเร็งโลกระบุว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นมากที่สุดเป็นลำดับที่สาม ผู้ที่พบว่าเป็นมะเร็งชนิดนี้มีถึง 1.4 ล้านรายในปี 2012

ติ่งเนื้อลำไส้เป็นการเติบโตของเนื้อเยื่อภายใน ลำไส้ หรือลำไส้ตรงที่ผิดปกติ แต่ไม่ใช่เนื้อร้ายหรือก้อนเนื้อมะเร็ง แต่อาจกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ แต่พบไม่บ่อยนัก ติ่งเนื้อมีหลายชนิด เช่น ติ่งเนื้อเยื่อชนิดอะดีโนมาตัส ซึ่งสามารถกลายเป็นเซลล์มะเร็งและถือว่าเป็นภาวะก่อนเกิดมะเร็ง นอกจากนี้ ยังมีติ่งเนื้อชนิดไฮเปอร์พลาสติกและชนิดอักเสบ แม้ว่าแพทย์บางท่านมองว่าเป็นสัญญาณก่อนการเกิดมะเร็งในอนาคต แต่ติ่งเนื้อเหล่านี้ไม่ใช่ภาวะก่อนเป็นมะเร็ง ตามข้อมูลของสถาบันโรคมะเร็งในสหรัฐอเมริกา แพทย์อาจทำการตัดติ่งเนื้อออกหากจำเป็น

ระยะก่อนเป็นมะเร็งลำไส้เกิดขึ้นเมื่อมีจุดของเซลล์อยู่บนผนังลำไส้ใหญ่ผิดปกติจากการส่องกล้อง เซลล์เหล่านี้ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง แต่สามารถกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคลำไส้อักเสบชนิดเป็นแผลหรือโรคโครห์น (Crohn) หลายปีสามารถเกิดภาวะนี้ได้ ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมากกว่าคนปกติ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What is the function of your Colon and what does it do to keep you healthy?. http://www.colonhealth.net/colon_hydrotherapy/ct_funct.htm. Accessed October 7, 2016.

Colon (Large Intestine): Facts, Function & Diseases. http://www.livescience.com/52026-colon-large-intestine.html. Accessed October 7, 2016.

Colorectal cancer overview. http://www.cancer.org/acs/groups/cid/documents/webcontent/003047-pdf.pdf  . Accessed October 7, 2016.

What is the colon? http://coloncancer.about.com/od/coloncancerbasics/a/What-Is-The-Colon.htm. Accessed October 7, 2016.

Worldwide data. http://www.wcrf.org/int/cancer-facts-figures/worldwide-data. Accessed October 7, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/09/2024

เขียนโดย นายแพทย์กษิต ศักดิ์ศิริสัมพันธ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลำไส้แปรปรวน อะไรคือสิ่งที่คุณควรรู้เพื่อรับมือกับโรคเรื้อรังนี้

ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาหาร และการ ดูแลสุขภาพลำไส้


เขียนโดย

นายแพทย์กษิต ศักดิ์ศิริสัมพันธ์

สุขภาพ · โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ


แก้ไขล่าสุด 2 สัปดาห์ก่อน

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา