backup og meta

เซลลูไลท์ (Cellulite)

เซลลูไลท์ (Cellulite)

เซลลูไลท์ (Cellulite) คืออาการที่มีผลกระทบต่อผิวหนังในบริเวณที่มีไขมันทับถมอยู่ภายใต้ผิวหนัง (ส่วนที่สังเกตเห็นได้ชัดคือบั้นท้ายและต้นขา) ทำให้ผิวดูเป็นรอยบุ๋ม ไม่เรียบ

คำจำกัดความ

เซลลูไลท์ คืออะไร

เซลลูไลท์ (Cellulite) บางคนอาจจะบอกคุณว่าเซลลูไลท์นั้นเป็นแค่ไขมันสั้น ๆ ง่าย ๆ อีกคนอาจจะบอกคุณว่าเซลลูไลท์เป็นการรวมกันของสารพิษที่ตกค้างและน้ำส่วนเกินใต้ผิวหนัง ซึ่งความจริงแล้วเซลลูไลท์คืออาการที่มีผลกระทบต่อผิวหนังในบริเวณที่มีไขมันทับถมอยู่ภายใต้ผิวหนัง (ส่วนที่สังเกตเห็นได้ชัดคือบั้นท้ายและต้นขา) ทำให้ผิวดูเป็นรอยบุ๋ม ไม่เรียบ

พบได้บ่อยเพียงใด

เซลลูไลท์พบได้บ่อยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ในบริเวณดังต่อไปนี้

  • สะโพก
  • หน้าท้องส่วนล่าง
  • หน้าอก
  • ก้น
  • ต้นแขน

อาการ

อาการของเซลลูไลท์

อาการทั่วไปของเซลลูไลท์  ได้แก่

เซลลูไลท์จะทำให้ผิวมีลักษณะเหี่ยว เป็นหลุมบ่อ คุณสามารถเห็นเซลลูไลท์อ่อน ๆ เมื่อคุณหยิกหรือบิดผิวบนร่างกายของคุณ เช่น ต้นขา ส่วนใหญ่มักพบเซลลูไลท์ในบริเวณต้นขาและก้น แต่ก็สามารถพบได้บนหน้าอก หน้าท้องส่วนล่าง และต้นแขน

ควรไปพบหมอเมื่อใด

อาจไม่มีความจำเป็นในการรักษามากนัก แต่ถ้าคุณรู้สึกกังวลเกี่ยวกับลักษณะผิวของคุณให้ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางผิวหนัง หรือหรือแพทย์ศัลยกรรม

สาเหตุ

สาเหตุของเซลลูไลท์

สาเหตุของเซลลูไลท์ เกิดจาก การสะสมของไขมันที่มากเกินไปภายใต้ผิวหนัง เซลลูไลท์สามารถมองเห็นได้มากขึ้น เมื่อคุณมีอายุมากขึ้น เพราะผิวของคุณจะบางลง และสูญเสียความยืดหยุ่น โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดเซลลูไลท์อาจขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

  • ฮอร์โมน
  • การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์
  • น้ำหนักมากขึ้น
  • สตรีมีครรภ์
  • ขาดการออกกำลังกาย

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของเซลลูไลท์

มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการสำหรับเซลลูไลท์ เช่น

  • พบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
  • น้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น
  • สตรีมีครรภ์
  • อายุที่มากขึ้น
  • พันธุกรรม

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การรักษาเซลลูไลท์

แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญอาจใช้วิธีการรักษาและให้คำแนะนำที่แตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้

  • การรักษาด้วยเลเซอร์และระบบคลื่นวิทยุ การรักษาด้วยการใช้พลังงานเลเซอร์ในการกำจัดเซลลูไลท์ด้วยการนวดเนื้อเยื่อผสมผสานระหว่างการใช้เทคดนโลยีคลื่นวิทยุและแสงอินฟาเรด เพื่อสลายพังผืดด้วยความร้อน
  • ครีมสำหรับเซลลูไลท์ ช่วยผลัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพและกระตุ้นเซลล์ผิวใหม่
  • การผ่าตัด  เป็นการตัดเส้นใยให้ไขมันใต้ผิวหนังเรียบเสมอกัน ช่วยลดปริมาณเซลลูไลท์ให้ลดลง ด้วยระบบเข็มที่เรียกว่า Cellfina

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการปฏิบัติตนขั้นพื้นฐาน

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยจัดการเซลลูไลท์

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยจัดการเซลลูไลท์ได้ 

  • การออกกำลังกาย การออกกำลังกายสามารถช่วยลดไขมันในร่างกายซึ่งทำให้เซลลูไลท์ลดลงได้ ทำให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • กากกาแฟ ช่วยกำจัดเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วกระตุ้นการเติบโตของเซลล์ใหม่กระชับผิวเพียงนำกากกาแฟผสมกับน้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก หรือน้ำตาล นำมาถูบริเวณที่มีเซลลูไลท์ 2-3 นาที หรือขัดแล้วทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีก่อนล้างออก
  • น้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลไซเดอร์ เพียงนำน้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลไซเดอร์ผสมน้ำเปล่า ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และยังสามารถทำช่วยให้น้ำหนักของคุณลดลงได้
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง คุณควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลและงดอาหารแปรรูป รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายร่วมด้วย

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Cellulite. https://www.medicalnewstoday.com/articles/149465. Accessed 23 April 2020.
Cellulite. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cellulite/symptoms-causes/syc-20354945. Accessed 23 April 2020.
Cellulite. https://www.healthline.com/health/cellulite. Accessed 23 April 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/04/2020

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขมันดี (HDL) มีมากเกินไปเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือไม่

ไขมันส่วนเกิน ไม่ใช่แค่ทำให้อ้วน แต่ยังเป็นสาเหตุของมะเร็งร้ายอีกด้วย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 28/04/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา