โบทูลิซึม เป็นโรคที่เกิดจากชีวพิษหรือท็อกซิน ที่เรียกว่า “คลอสทริเดียม” โบทูลินัม มี 3 รูปแบบ ได้แก่ อาหารเป็นพิษ โบทูลิซึมจากแผล และโบทูลิซึมในเด็กทารก
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ
โบทูลิซึม เป็นโรคที่เกิดจากชีวพิษหรือท็อกซิน ที่เรียกว่า “คลอสทริเดียม” โบทูลินัม มี 3 รูปแบบ ได้แก่ อาหารเป็นพิษ โบทูลิซึมจากแผล และโบทูลิซึมในเด็กทารก
โรคโบทูลิซึม (Botulism) เป็นโรคที่เกิดจากชีวพิษหรือท็อกซิน ที่เรียกว่า คลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) ซึ่งผลิตท็อกซิน 7 ชนิด (นักวิทยาศาสตร์เรียกตั้งแต่ A ถึง G) อย่างไรก็ตาม ท็อกซินชนิด A, B, E, และ F มีผลทำให้เกิดโรคในร่างกายมนุษย์
รูปแบบของโรคโบทูลิซึมมี 3 รูปแบบ ได้แก่ อาหารเป็นพิษ โบทูลิซึมจากแผล และโบทูลิซึมในเด็กทารก
ทุกคนมีแนวโน้มจะเป็นโรคโบทูลิซึม แต่โรคนี้ไม่ติดเชื้อจากคนสู่คน คุณสามารถควบคุมความเสี่ยงในการเป็นโรคโบทูลิซึมได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ควรเข้าพบหมอเพื่อปรึกษาทันที หากเกิดอาการโรคโบทูลิซึม เพราะหากไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยโรคหรือรักษาทันเวลา อาจเป็นอัมพาตที่แขน ขา หรือทั้งตัวและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการหายใจ และคุณอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
คุณจะเป็นโรคโบทูลิซึม ถ้าอาหารที่คุณกินมีสารพิษเจือปน โดยเกิดจากแบคทีเรียที่ชื่อ Clostridium botulinum (C. botulinum) ที่ผลิต neurotoxin ซึ่งเป็นสารพิษที่ทำลายระบบประสาท นอกจากนี้การได้รับเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้อาจมาจากแผลเล็กๆ หรือการกินสปอร์ในดิน
ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคโบทูลิซึม มีดังนี้
ข้อมูลเหล่านี้ไม่สามารถแทนคำปรึกษาทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
โรคโบทูลิซึมมีอาการคล้ายกับโรคเกี่ยวกับอาหารเป็นพิษอื่นๆ ดังนั้น จึงยากในการวินิจฉัย การตรวจทางห้องปฏิบัติการหลายๆ ครั้งจึงเป็นสิ่งจำเป็นก่อนสรุปผล อาจใช้เวลา 4 วันกว่าจะทราบผล
การรักษาโรคโบทูลิซึมมีหลายวิธี โดยปกติแพทย์จะตรวจอาการ ให้ยาแอนตี้ท็อกซิน (antitoxins) เพื่อชะลอการเป็นอัมพาต และลดความรุนแรงของอาการ
การเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการรักษาโรคโบทูลิซึมเบื้องต้นด้วยตนเอง มีดังนี้
หากมีคำถาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจและหาวิธีการักษาที่ดีที่สุด เพื่อการป้องกันตนเองอย่างถูกต้อง
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย
ทีม Hello คุณหมอ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย