backup og meta

อาหารเป็นพิษจากเชื้อไวรัส หลีกเลี่ยงได้ด้วยเคล็ดลับต่อไปนี้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 13/07/2020

    อาหารเป็นพิษจากเชื้อไวรัส หลีกเลี่ยงได้ด้วยเคล็ดลับต่อไปนี้

    อาการอาหารเป็นพิษนั้นจัดได้ว่า เป็นฝันร้ายสำหรับคนชอบกิน ช่วงหน้าร้อน นอกจากจะนำมาซึ่งอากาศที่ร้อนจัด จนทำให้เรารู้สึกไม่อยากจะขยับตัวทำอะไรแล้ว ยังนำมาซึ่งการระบาดของเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดอาการ อาหารเป็นพิษจากเชื้อไวรัส ได้หากเรารับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อเหล่านี้ บทความนี้มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงอาการอาหารเป็นพิษได้ดียิ่งขึ้น

    อาการ อาหารเป็นพิษจากเชื้อไวรัส คืออะไร

    อาการอาหารเป็นพิษที่เกิดจากเชื้อไวรัสมักมีสาเหตุมาจากเชื้อไนโรไวรัส (Nirovirus) ที่ทำให้มีอาการท้องเสียและอาเจียนแบบเฉียบพลัน และมักจะแพร่ระบาดมากในช่วงหน้าร้อน โดยปะปนมากับอาหารหรือน้ำดื่มที่เรากินเข้าไป

    ในขณะที่อาการอาหารเป็นพิษตามปกติสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อปรสิต เชื้อไนโรไวรัสนั้นสามารถแพร่กระจายสู่ผูู้อื่นได้ง่ายผ่านทางอาหารที่ปนเปื้อน จานชามแก้วน้ำที่สกปรก ความไปจนถึงอุปกรณ์ที่อาจจะผ่านมือคนหลายคน เช่น ราวบันได หรือลูกบิดประตู

    ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไนโรไวรัส

    อาการอาหารเป็นพิษ อาจฟังดูเหมือนเราจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ ต่างให้ความเห็นตรงกันว่า เราสามารถป้องกันอาการหารเป็นพิษจากการติดเชื้อไนโรไวรัส ด้วยการปฎิบัติตนตามเคล็ดลับต่อไปนี้

    • คำนึงเรื่องความสะอาดของมือ

    ความสะอาดของมือ นับเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อไนโรไวรัส (รวมทั้งเชื้อโรคอื่นๆ) ได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าเจลล้างมือแบบไม่ต้องใช้น้ำ (ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์) จะช่วยคงความสะอาดให้มือได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การใช้น้ำกับสบู่นั้นเป็นอะไรที่เหมาะมากในการป้องกันการติดเชื้อไนโรไวรัส

    ฉะนั้น จึงควรล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หรือก่อนสัมผัสกับปาก จะช่วยหลีกเลี่ยงการติดเชื้อไนโรไวรัสได้ แต่ถ้าล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ไม่ได้จริงๆ ก็ควรใช้เจลทำความมือแบบไม่ต้องใช้น้ำ หลังสัมผัสกับราวบันไดหรือราวจับทุกครั้ง

    • เลือกดื่มน้ำจากขวด

    ถ้าไม่แน่ใจในเรื่องความสะอาด โดยเฉพาะกับสถานที่ท่องเที่ยวที่ห่างไกลความเจริญ ก็ควรซื้อน้ำขวดดื่ม แทนที่จะดื่มน้ำจากก๊อกน้ำตามปกติ นอกจากนี้ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำแข็งในเครื่องดื่มต่างๆด้วย

    เพราะน้ำแข็งก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการปนเปื้อนได้เหมือนกัน เลือกเครื่องดื่มแบบขวดหรือกระป๋องที่ผ่านการแช่เย็นมาแล้ว จะเป็นอะไรที่ปลอดภัยกว่านะ

    • ระวังเรื่องอาหารบุฟเฟ่ต์

    ไม่ว่าคุณจะไปเที่ยวยังสถานที่แห่งใดของโลก ก็ควรระวังเรื่องอาหารบุฟเฟ่ต์เอาไว้ให้ดี เนื่องจากเชื้อไนโรไวรัสมักจะปนเปื้อนมากับอาหารต่างๆ อย่างหอย ผักสลัด และน้ำแข็งได้ และด้วยความที่เชื้อไนโรไวรัสเป็นเชื้อโรคที่ลอยตัวอยู่ในน้ำได้ จึงอาจติดเชื้อโรคจากการหยิบจับอาหารได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาหารแช่เย็น รวมถึงผักสลัดต่างๆด้วย

    • เลือกกินแต่อาหารร้อนๆ

    ถ้าคุณไม่อยากเสี่ยงกับการติดเชื้อไนโรไวรัสเลยแม้ซักนิดเดียว ก็ควรเลือกทานอาหารร้อน ทำเสร็จใหม่ๆ เนื่องจากอาหารร้อนๆ รวมทั้งสิ่งใดๆก็ตามที่มีความร้อนเกินกว่าจะใช้มือสัมผัสได้ ก็นับเป็นทางเลือกที่มีความปลอดภัยเป็นอย่างมาก

  • สังเกตอาการแต่เนิ่นๆ
  • ถ้าคุณมีอาการติดเชื้อไนโรไวรัสเกิดขึ้น เช่น ท้องเสีย อาเจียน หรือถ่ายเหลว ก็ควรกินยาแก้ท้องเสียทันที ซึ่งนักท่องเที่ยวทุกคน ควรจะพกยาชนิดนี้ติดตัวอยู่เสมอ โดยเฉพาะเวลาที่ไปท่องเที่ยวบนเรือสำาญ หรือในสถานที่ที่ห่างไกลความเจริญ

    • เติมน้ำให้ร่างกาย

    ถึงแม้เราจะเตรียมตัวป้องกันเป็นอย่างดีแล้ว ก็ยังมีโอกาสจะที่จะติดเชื้อโรคตัวนี้อยู่ดี ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆ ก็ควรเติมน้ำให้ร่างกาย และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สะอาด ก็จะช่วยให้คุณฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และถ้ารู้สึกป่วยก็ควรอยู่ให้ห่างจากฝูงชน และต้องไม่ลืมรักษาความสะอาดกับสิ่งที่อยู่รอบๆตัวคุณ รวมทั้งต้องซักเสื้อผ้าให้สะอาดอยู่เสมอด้วย

    การป้องกันอาการอาหารเป็นพิษจากเชื้อไวรัส

    วิธีการป้องกันอาการอาหารเป็นพิษจากเชื้อไวรัสได้ดีที่สุด คือ การระมัดระวังเกี่ยวกับอาหารการกินและสถานที่ที่อาจจะมีการปนเปื้อน ทางที่ดีคือควรปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขต่อไปนี้ ไม่ว่าคุณจะไปท่องเที่ยว หรือใช้ชีวิตอยู่ในบ้านตามปกติ

    1. ปรุงอาหารให้สุก ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ดิบ หรืออาการที่ปรุงโดยวิธีลวก เช่น พล่า ลาบดิบ ปลาดิบ 
    2. ระวังเรื่องอาหารและน้ำดื่ม ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่ปรุงเองที่บ้าน อาหารสั่งซื้อ อาหารถุง อาหารกล่อง ควรแยกกับข้าวออกจากข้าว และควรรับประทานภายใน 2- 4 ชั่วโมงหลังปรุงเสร็จ
    3. อุ่นก่อนรับประทาน ถ้ามีอาหารเหลือเก็บในตู้เย็น ก็ควรอุ่นให้ร้อนก่อนรับประทาน หากมีรสหรือกลิ่นผิดปกติก็ไม่ควรรับประทาน
    4. ควรล้างให้สะอาดก่อน ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ ให้สะอาดด้วยน้ำหลายๆ ครั้ง หลีกเลี่ยงการใช้มีด เขียง หั่นอาหารดิบและอาหารสุกร่วมกัน เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรค
    5. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังขับถ่าย และหลังสัมผัสสิ่งสกปรกต่างๆ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 13/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา