backup og meta

โพลีฟีนอล สารประกอบจากธรรมชาติ ที่ดีต่อสุขภาพ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 04/12/2020

    โพลีฟีนอล สารประกอบจากธรรมชาติ ที่ดีต่อสุขภาพ

    โพลีฟีนอล (Polyphenol) เป็นสารประกอบเคมีที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติที่พบในพืช ผักและผลไม้  มีคุณสมบัติช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ ลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ  เรามาดูกันค่ะว่า สารประกอบโพลีฟีนอลนั้นมีอยู่ในพืชผักชนิดไหนบ้าง และจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้คุณค่ะ

    ทำความรู้จัก สารประกอบโพลีฟีนอล (Polyphenol)

    โพลีฟีนอล (Polyphenol) เป็นสารประกอบเคมีประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติที่พบใน พืช ผัก ผลไม้ โดยรวมสารเคมีเหล่านี้เรียกว่า สารพฤกษเคมี (Phytochemical) โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ๆ ดังนี้

    • ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) เป็นสารประอบของโพลีฟีนอลประมาณ 60% พบได้ในผลไม้แอปเปิ้ล หัวหอม กะหล่ำปลีแดง เป็นต้น
    • กรดฟีนอลิก (Phenolic acid) เป็นสารประอบของโพลีฟีนอลประมาณ 30% พบได้ในผัก ผลไม้ ธัญพืช
    • โพลีฟีนอลเอไมด์ (Polyphenolic amides) ส่วนมากพบได้บ่อยใน พริก ข้าวโอ๊ต
    • โพลีฟีนอล อื่น ๆ (Other polyphenols) ส่วนมากพบในเมล็ดธัญพืช เมล็ดงา

    อาหารและผักผลไม้ ที่มี โพลีฟินอล

     

    กลุ่มอาหาร

     

    แหล่งที่มาหลัก ๆ ของโพลีฟีนอล

    ผลไม้ ส้ม แอปเปิ้ล องุ่น ลูกพีช น้ำทับทิม ลูกพลัม แครนเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่
     

    ผัก

     

    ผักโขม หัวหอม หอมแดง มันฝรั่ง แครอท หน่อไม้ฝรั่ง มะกอกดำ มะกอกเขียว

     

    ธัญพืช

     

    ข้าวโอ๊ต ข้าวไรย์ โฮลวีต

     

    พืชตระกูลถั่ว

     

    ถั่วเหลืองถั่ว ถั่วดำ ถั่วขาว เกาลัด วอลนัท ถั่วพีแคน

     

    เครื่องดื่ม

     

    กาแฟ ชาไวน์แดง

     

    น้ำมัน

     

    น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดงา

     

    เครื่องเทศ และเครื่องปรุง

     

    ผงโกโก้ กานพลู โหระพา ผงกะหรี่ ขิงแห้ง อบเชย ยี่หร่า

    5 คุณประโยชน์ต่อร่างกายจาก โพลีฟีนอล

    โพลีฟีนอลอาจช่วยลดน้ำตาลในเลือด และช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภทที่ 2 นอกจากนี้สารปะกอบโพลีฟีนอลจอาจช่วยป้องกันการสลายแป้งเป็นน้ำตาลอย่างรวดเร็ว ลดโอกาสที่น้ำตาลในเลือดจะพุ่งสูงขึ้นหลังรับประทานอาหาร

    การรับประทานอาหารที่มีสารประกอบโพลีฟีนอล เช่น เมล็ดธัญพืช อาจช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจ ช่วยลดการอักเสบเรื้อรังซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ

    โพลีฟีนอลอาจเป็นประโยชน์ต่อการย่อยอาหาร ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ และช่วยต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรีย

    • บำรุงสมอง

    สารสกัดจากพืชที่อุดมด้วยสารประกอบโพลีฟีนอล เช่น แปะก๊วย  มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มสมาธิและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านความจำ การเรียนรู้

    • ป้องกันมะเร็ง

    โพลีฟีนอลเป็นกลุ่มสารประกอบที่พบมากในพืช มีฤทธิ์สามารถต้านอนุมูลอิสระ และช่วยลดการอักเสบ ลดการเกิดโรคต่าง ๆ นอกจากนี้สารโพลีฟีนอลยังมีคุณสมบัติช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 04/12/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา