backup og meta

โรคNCDs โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค แต่เกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน

โรคNCDs โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค แต่เกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน

มีโรคติดต่ออยู่หลายชนิด ที่ติดต่อกันผ่านเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย หรือสารคัดหลั่ง เช่น ไข้หวัด ไวรัสตับอักเสบ หรือโรคโควิด-19 (COVID-19) ซึ่งอาจมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ แต่ยังมีอีกหนึ่งกลุ่มอาการ ที่ไม่มีการติดต่อจากผู้อื่นและไม่สามารถแพร่กระจายโรคไปสู่ผู้อื่นได้ แต่ใช้ระยะเวลานานในการรักษา และอาจเพิ่มแนวโน้มของการเสียชีวิตเช่นกัน เราเรียกโรคนั้นว่า โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ โรคNCDs แต่โรคในกลุ่มนี้นั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร ใครเสี่ยงเป็นโรคนี้บ้าง สามารถป้องกันได้อย่างไรนั้น Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้ในบทความนี้แล้วค่ะ

โรคNCDs คืออะไร

โรคNCDs  ย่อมาจาก Non-communicable diseases หรือ กลุ่มโรคที่ไม่ติดต่อแบบเรื้อรัง หรือ โรคติดต่อไม่เรื้อรัง คือ โรคที่ไม่มีการติดต่อไปสู่ผู้อื่นและไม่สามารถรับเชื้อมาจากผู้อื่นได้ เมื่อเป็นแล้วสามารถที่จะเกิดการเรื้อรังของโรค ทำให้ต้องใช้ระยะเวลานานกว่าที่จะสามารถรักษาให้หายขาด หรืออาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เลยตลอดชีวิต ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ทั้งระยะของโรค ความรุนแรงของโรค และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยโรคดังกล่าว เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม สรีระ พฤติกรรมการใช้ชีวิต และสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน โรคในกลุ่มของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรคNCDs เช่น โรคหัวใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคปอด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือโรคเบาหวาน เป็นต้น

ใครบ้างที่เสี่ยงจะเป็นโรคนี้

องค์การอนามัยโลกรายงานว่า กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรคNCDs มีความเสี่ยงได้ในกลุ่มคนทุกเพศ ทุกวัย แต่กลุ่มที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือกลุ่มคนที่มีอายุมาก ตั้งแต่ 30-60 ปี ไปจนถึงกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่เพิ่มแนวโน้มความเสี่ยงของการเป็น โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่

  • รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ หรือไม่มีคุณภาพ
  • ไม่ค่อยออกกำลังกาย ออกกำลังกายน้อย หรือไม่ออกกำลังกายเลย
  • สูบบุหรี่หรือยาสูบ
  • รับประทานอาหารที่มีปริมาณโซเดียมหรือเกลือสูง
  • รับประทานอาหารที่มีรสจัด ทั้งเผ็ดจัด เค็มจัด หวานจัด หรือมันจัด
  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • ปัญหาเกี่ยวกับสภาพอากาศ มลพิษทางอากาศ

ซึ่งพฤติกรรมการใช้ชีวิตรูปแบบนี้ หากทำติดต่อกันเป็นประจำและทำมาเป็นเวลานาน แน่นอนว่าเสี่ยงที่จะเป็น โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยทำให้เกิดอาการทางสุขภาพ ดังต่อไปนี้

  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
  • ความดันโลหิตสูงขึ้น
  • ไขมันในเลือดสูงขึ้น
  • น้ำหนักเกินมาตรฐาน

วิธีป้องกันโรคNCDs

ปัจจัยที่ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้คือ อายุ เพศสภาพ สรีระ และประวัติพันธุกรรม ดังนั้น หากต้องการที่จะลดความเสี่ยง หรือป้องกันไม่ให้ตนเองเป็น โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรคNCDs จึงควรมุ่งเน้นที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตนเอง ได้แก่

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • งด หรือรับประทานอาหารที่มีโซเดียมให้น้อยลง
  • งด หรือรับประทานอาหารที่มีรสจัด ทั้งเผ็ดจัด เค็มจัด หวานจัด หรือมันจัด ให้น้อยลง
  • งด หรือลดการดื่มสุรา และแอลกอฮอล์
  • เลิกสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ทราบความเสี่ยงทางสุขภาพ และมีการป้องกันได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ

อาจกล่าวได้ว่า สาเหตุหลักของ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรคNCDs นั้น มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพทั้งสิ้น ดังนั้น หากมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้สุขภาพดีขึ้น หันมาใส่ใจกับการมีสุขภาพดีมากขึ้น ทั้งเรื่องของอาการการกิน ไปจนถึงการดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวัน ก็มีแนวโน้มที่จะลดความเสี่ยงของโรคNCDs ลง รวมถึงลดความเสี่ยงของโรคภัยไข้เจ็บรูปแบบอื่น ๆ ด้วย

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด 

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Noncommunicable diseases. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/noncommunicable-diseases. Accessed on April 29, 2020.

Most Common Noncommunicable Diseases. https://www.healthline.com/health/non-communicable-diseases-list. Accessed on April 29, 2020.

Non-communicable diseases. https://www.unicef.org/health/non-communicable-diseases. Accessed on April 29, 2020.

Risk Factors & Prevention. https://ncdalliance.org/why-ncds/ncd-prevention. Accessed on April 29, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/04/2020

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

กินมากเกินไป พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ควรหยุดทันที

รู้หรือไม่...พฤติกรรมทำลายหัวใจ มีอะไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 30/04/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา