backup og meta

อาการเจ็บหน้าอก สัญญาณของหลายโรคร้ายที่ไม่ควรเพิกเฉย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 28/12/2021

    อาการเจ็บหน้าอก สัญญาณของหลายโรคร้ายที่ไม่ควรเพิกเฉย

    อาการเจ็บหน้าอก เป็นสิ่งที่ไม่ควรเพิกเฉยด้วยประการทั้งปวง หลายคนมักคิดว่า อาการเจ็บหน้าอกเป็นอาการของโรคหัวใจ แต่อาการนี้อาจบ่งชี้ถึงอาการโรคอื่นๆ ที่รุนแรงและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ เช่น โรคเกี่ยวกับปอด หลอดอาหาร ซี่โครง เส้นประสาท ล้วนนำไปสู่อาการเจ็บหน้าอกได้ บทความนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการเจ็บหน้าอก เพื่อที่คุณจะสามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาได้ทันท่วงที

    อาการเจ็บหน้าอก คืออะไร

    อาการเจ็บหน้าอกอาจเกิดขึ้นได้บริเวณตั้งแต่ลำคอ เรื่อยไปจนถึงหน้าท้องส่วนบน ขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ ความรุนแรงของอาการเจ็บหน้าอกมีหลายระดับ คุณอาจรู้สึกเจ็บแปลบ ปวดตื้อๆ แสบร้อน ปวดหรือเจ็บเหมือนถูกแทง นอกจากนี้ คุณอาจมีความรู้สึกแน่นหน้าอก หรือมีความรู้สึกเหมือนถูกบีบที่กลางอก

    คุณควรเข้าพบหมอ หากเกิดอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่สามารถอธิบายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเกิดอาการเฉียบพลัน และอาการไม่หายไป แม้จะใช้ยาระงับอาการหรือปรับพฤติกรรมแล้วก็ตาม

    ในกรณีที่อาการเจ็บหน้าอกเกิดร่วมกับอาการอื่นๆ ดังต่อไปนี้ ควรรีบโทรแจ้งเหตุฉุกเฉินทันที

  • เกิดอาการแน่นหน้าอก หรือรู้สึกเหมือนถูกบีบบริเวณใต้กระดูกหน้าอก
  • เกิดปัญหาที่กราม แขนข้างซ้าย หรือหลังจากอาการเจ็บหน้าอก
  • เกิดอาการเจ็บแปลบที่หน้าอกพร้อมกับหายใจถี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นระยะเวลานาน
  • เจ็บหน้าอกพร้อมกับอาการคลื่นไส้ อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นหรือหายใจถี่ มึนงง หน้าซีด เหงื่อออกมากผิดปกติ
  • ความดันโลหิตสูงขั้นรุนแรง หรืออัตราการเต้นของหัวใจต่ำมาก
  • อาการเจ็บหน้าอก อาจเป็นสัญญาณของโรคเหล่านี้

    โรคหัวใจ

    โรคที่เกี่ยวกับหัวใจหลายโรคเป็นสาเหตุที่พบกันบ่อยของอาการเจ็บหน้าอก โรคหลอดเลือดหัวใจ สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกแบบปวดเค้น อาการเจ็บหน้าอกประเภทนี้ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อหัวใจได้รับเลือดไม่เพียงพอ อาจกระจายไปสู่การเจ็บแขน ไหล่ กราม หรือหลังได้

    ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการหัวใจวาย เมื่ออายุมากขึ้น นอกจากนี้ อาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (Myocardial Infarction) ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดอาการเจ็บหน้าอก แต่อาการจะรุนแรงกว่าอาการที่เกิดจากอาการปวดเค้นหัวใจ เนื่องจากการเจ็บเค้นมักเกิดขึ้นบริเวณตรงกลาง หรือด้านซ้ายของหน้าอก และไม่ทุเลาลงแม้จะนอนพักก็ตาม โรคเกี่ยวกับหัวใจอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) ภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis) โรคกล้ามเนื้อหัวใจโต (Hypertrophic Cardiomyopathy) ลิ้นหัวใจยาว (Mitral Valve Prolapse) และหลอดเลือดหัวใจฉีก (Coronary artery Dissection)

    โรคปอด

    อาการเจ็บหน้าอกหลายอย่าง อาจเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับปอด ผู้ป่วยเยื่อหุ้มปอดอักเสบ หรือมีการอักเสบเกิดขึ้นบริเวณเยื่อหุ้มปอดและหน้าอก จะรู้สึกเจ็บแปลบขณะหายใจ ไอ หรือจาม โรคทางปอดอีกหนึ่งชนิดที่ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกคือ โรคปอดบวม หรือฝีในปอด การติดเชื้อทางปอดเหล่านี้ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกที่แตกต่างกันออกไป เช่น เจ็บปวดแบบลึกๆ หรือทำให้เกิดอาการเยื่อหุ้มปอดอักเสบ โรคทางปอดอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก ได้แก่ โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในหลอดเลือดปอด (Pulmonary embolism) ภาวะปอดรั่ว (Pneumothorax) ภาวะความดันหลอดเลือดแดงปอดสูง (Pulmonary hypertension) และ หอบหืด

    โรคเกี่ยวกับกระดูก กล้ามเนื้อ และประสาท

    อาการเจ็บที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อและกระดูกบริเวณหน้าอก อาจมีสาเหตุมากจากการออกกำลังกายที่หักโหม หรือมากเกินไป หรือจากการหกล้ม หรืออุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่หน้าอก การปวดบริเวณข้อต่อกระดูกหน้าอก เจ็บซี่โครง กล้ามเนื้อฉีกขาด และโรคงูสวัด เป็นปัญหาที่นำไปสู่อาการเจ็บหน้าอกได้

    โรคระบบทางเดินอาหาร

    ภาวะไหลย้อนกลับของกรดในกระเพาะอาหาร เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอกหรือภายในลำคอ ที่รู้จักกันดีในชื่อ กรดไหลย้อน โรคระบบทางเดินอาหารอื่นๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแสบร้อนกลางอก ได้แก่ อาการกลืนอาหารลำบาก ภาวะหลอดอาหารมีความไวเกินต่อสิ่งกระตุ้น หลอดอาหารทะลุหรือลำไส้ทะลุ แผลในทางเดินอาหาร โรคไส้เลื่อนกระบังลม และโรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 28/12/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา