สุขภาพจิตผู้สูงวัย

เมื่อสุขภาพจิตดี สุขภาพกายก็จะดีตามไปด้วย นี่เองที่ทำให้การดูแล สุขภาพจิต เป็นเรื่องที่คุณไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในผู้สูงวัย ที่สุขภาพจิตเสื่อมถอยตามวัย หากคุณอยากรู้ว่าควรดูแล สุขภาพจิตผู้สูงวัย อย่างไร ให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ เรามีคำตอบมาให้แล้ว

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพจิตผู้สูงวัย

ผู้สูงวัยกับภาวะซึมเศร้า ปัญหาวัยชราที่ไม่ควรละเลย

ภาวะซึมเศร้าเป็นโรคทางอารมณ์ที่ร้ายแรงอย่างหนึ่ง เพราะสามารถส่งผลกระทบต่อความรู้สึก การกระทำ และความคิด ซึ่ง ผู้สูงวัยกับภาวะซึมเศร้า เป็นปัญหาที่พบบ่อย และยิ่งไปกว่านั้นภาวะซึมเศร้ายังส่งผลต่อสุขภาพร่างกายได้อีกด้วย โดยปัญหาวัยชราเหล่านี้ ผู้ดูแล หรือแม้แต่ลูกหลานก็ไม่ควรละเลย [embed-health-tool-bmi] ผู้สูงวัยกับภาวะซึมเศร้า เกี่ยวข้องกับอย่างไร ภาวะซึมเศร้านั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ผู้สูงวัยอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่า ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงวัยพบมากถึง 10-20% ของประชากร และส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ ไปอ่านสาเหตุกันต่อได้ที่ด้านล่างกันเลย สาเหตุผู้สูงวัยกับภาวะซึมเศร้า ในผู้สูงวัยอาจมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ง่าย เช่น การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ เช่น การสูญเสียคู่ชีวิต หรือคนรัก ออกจากงานเนื่องจากเกษียณ การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านการใช้ชีวิต และวิถีชีวิตอย่างกะทันหัน ไม่ทันต่อเหตุการณ์ การไม่เป็นที่ยอมรับสำหรับลูกหลาน ยาบางชนิดอาจทำให้มีภาวะอารมณ์เศร้า ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้า อาการเตือนของ ผู้สูงวัยกับภาวะซึมเศร้า อาการเหล่านี้ของผู้สูงอายุ เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยและควรสังเกตให้ดี ความรู้สึกสิ้นหวัง ท้อแท้ โดดเดี่ยว ปวดเมื่อย และมีอาการปวดเรื้อรัง รู้สึกหงุดหงิด กระสับกระส่าย รู้สึกตัวเองไร้ค่า เป็นภาระของผู้อื่น และโทษตัวเองอยู่เสมอ เริ่มมองโลกในแง่ร้าย หรือในด้านลบ มีความคิดอยากตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย ปัญหาด้านการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป […]

สำรวจ สุขภาพจิตผู้สูงวัย

สุขภาพจิตผู้สูงวัย

วิกฤตวัยกลางคน ภาวะที่อาจทำให้ชีวิต ผู้ชาย ต้องเสียศูนย์และสูญเสีย!!

การเปลี่ยนผ่านจากช่วงวัยหนุ่มสู่วัยที่เริ่มสูงอายุมากขึ้น เป็นช่วงวัยที่อาจทำให้ผู้ชายจำนวนไม่น้อยเกิดภาวะที่เรียกกันว่า วิกฤตวัยกลางคน ซึ่งแม้สิ่งนี้จะไม่ใช่ “โรค” แต่ก็สามารถส่งผลเสียต่อทั้งการใช้ชีวิตและสุขภาพได้ โดยเฉพาะใน ผู้ชาย เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรเพิกเฉยเป็นอย่างยิ่ง วิกฤตวัยกลางคนคืออะไร คำว่า “วิกฤตวัยกลางคน (Midlife Crisis)” เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี 1965 โดย อีเลียต ฌาคส์ นักจิตวิเคราะห์ชาวแคนาดา โดยมักนำมาใช้เพื่อระบุถึงช่วงเวลาในชีวิตของคนเรา ขณะเปลี่ยนผ่านจากวัยหนุ่มสาวเข้าสู่วัยสูงอายุ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีเหตุการณ์สำคัญหลายอย่างเกิดขึ้นในชีวิต ซึ่งบอกเราว่าเวลากำลังจะผ่านเราไปแล้ว และกระตุ้นให้เราต้องประเมินสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราใหม่ และอาจเกิดผลกระทบทางอารมณ์หลายอย่าง ที่หากไม่สามารถรับมือได้ก็จะเกิดเป็น “วิกฤต” ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในแบบปัจจุบันทันด่วน อย่างไรก็ตาม ดร.แดน โจนส์ ผู้อำนวยการศูนย์ให้คำปรึกษาและบริการด้านสุขภาพจิต ของมหาวิทยาลัย Appalachian Stateในเมืองบูน รัฐนอร์ธแคโรไลน่า ในสหรัฐอเมริกา ชี้ว่า วิกฤตวัยกลางคนไม่ใช่ภาวะโรคอย่างเป็นทางการ และวัยที่สามารถเกิดวิกฤตวัยกลางคนก็กว้างมาก โดยทั่วไปอยู่ในช่วงวัยตั้งแต่ 35-55 ปี แต่ก็อาจเกิดกับผู้ชายในวัยหกสิบก็เป็นได้ โดยทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ต่างก็สามารถเจอกับช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิต หรือช่วงวัยวิกฤตได้เช่นเดียวกัน แต่การแสดงออกจะแตกต่างกัน หรือแม้แต่ในผู้ชายด้วยกันเอง ก็อาจมีการแสดงออกที่ต่างกันไปได้ ทำไม “วัยกลางคน” จึงเกิด “วิกฤต”? ในช่วงวัย 35-55 ปี ผู้ชายมักพบกับแรงกดดันหลายอย่างในชีวิต การเลี้ยงดูครอบครัว […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน