ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย
ทอนซิลอักเสบ เป็นการติดเชื้อที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณช่องคอ ทำให้เกิดอาการคล้ายกับไข้หวัด เช่น เจ็บคอ คอบวม ไข้สูง กลืนลำบาก ปวดหัว ทอนซิลอักเสบเฉียบพลันอาจมีอาการนานประมาณ 3-4 วัน แต่บางคนอาจมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ หรือมีอาการอักเสบเรื้อรัง ทอนซิลอักเสบมักสามารถหายไปได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษา แต่การดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม อาจช่วยบรรเทาอาการและเร่งให้หายไวขึ้นได้
ทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) เป็นการอักเสบของต่อมทอนซิล ซึ่งเป็นต่อมน้ำเหลืองบริเวณช่องคอด้านหลังทั้ง 2 ข้าง ทำหน้าที่ดักจับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าสู่ทางเดินหายใจ เมื่อเชื้อโรคมีปริมาณมากเกินจนไม่สามารถควบคุมได้ หรือเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ ก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ อักเสบ บวม และอาการเจ็บคอ
ทอนซิลอักเสบ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก คือ
ทอนซิลอักเสบมักพบได้บ่อยในเด็ก แต่ก็สามารถเกิดขึ้นกับวัยรุ่นและผู้ใหญ่ได้เช่นกัน
นอกจากนี้ เด็กอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น
ทอนซิลอักเสบอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
คุณหมอสามารถวินิจฉัยทอนซิลอักเสบได้จากการตรวจดูอาการ โดยเฉพาะในบริเวณช่องปาก หลังช่องคอ และลำคอ รวมถึงตรวจวัดไข้ เพื่อดูว่ามีสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น อาการอักเสบ อาการบวม มีไข้สูง หรือไม่ นอกจากนี้ คุณหมอก็อาจทำตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม ดังนี้
โดยส่วนใหญ่ ทอนซิลอักเสบ โดยเฉพาะทอนซิลอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส มักจะสามารถหายไปได้เองภายในไม่กี่วัน โดยไม่จำเป็นต้องทำการรักษาเพิ่มเติม แต่สำหรับทอนซิลอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย คุณหมออาจสั่งยาปฏิชีวนะให้รับประทานเพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรค ควรรับประทานยาให้ครบตามกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันอาการดื้อยา
นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่มีอาการทอนซิลอักเสบเรื้อรัง หรือเป็น ๆ หาย ๆ บ่อยครั้ง เช่น เป็นมากกว่า 7 ครั้งใน 1 ปี คุณหมออาจแนะนำให้ทำการผ่าตัดต่อมทอนซิลออก ควรปรึกษาคุณหมอให้ละเอียดก่อนตัดสินใจผ่าตัดต่อมทอนซิล
โดยส่วนใหญ่ อาการทอนซิลอักเสบสามารถหายได้เอง แต่สามารถดูแลตัวเองเพิ่มเติมเพื่อช่วยบรรเทาอาการและเร่งให้หายไวขึ้นได้ ดังนี้
สิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันทอนซิลอักเสบได้ คือการรักษาสุขอนามัยให้ดี ดังนี้
หมายเหตุ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย
สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย