
กระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบ (Costochondritis) เกิดจากการอักเสบของกระดูกอ่อนที่เชื่อมระหว่างกระดูกซี่โครงและกระดูกส่วนอก ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บหน้าอกเล็กน้อยเมื่อถูกสัมผัสหรือรู้สึกเจ็บเมื่อกระดูกอ่อนช่วงอกถูกดันขึ้น ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการปวดบริเวณแขน ขา รวมถึงอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
คำจำกัดความ
กระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบ (Costochondritis) คืออะไร
กระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบ (Costochondritis) เกิดจากการอักเสบของกระดูกอ่อนที่เชื่อมระหว่างกระดูกซี่โครงและกระดูกส่วนอก ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บหน้าอกเล็กน้อยเมื่อถูกสัมผัสหรือรู้สึกเจ็บเมื่อกระดูกอ่อนช่วงอกถูกดันขึ้น ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการปวดบริเวณแขน ขา รวมถึงอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
อย่างไรก็ตามภาวะกระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบมักหายไปภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่บางกรณีอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษา
พบได้บ่อยเพียงใด
ภาวะกระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบเกิดขึ้นบ่อยในเพศหญิงและผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี
อาการ
อาการของภาวะกระดูดอ่อนซี่โครงอักเสบ
หากคุณมีอาการเจ็บหน้าอกผิดปกติและรู้สึกอ่อนเพลีย ควรรีบไปปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาให้ไวที่สุด หากปล่อยไว้เนิ่นนานอาจร้ายแรงถึงขั้นหัวใจวายได้ โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการ ดังต่อไปนี้
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของภาวะกระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบ
ปัจจุบันภาวะกระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบยังไม่มีการระบุสาเหตุที่ชัดเจน โดยมีข้อสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้
- ได้รับบาดเจ็บบริเวณหน้าอก
- ความเครียดทางกายภาพจากกิจกรรมต่างๆ เช่น ออกกำลังกายหนัก ยกของหนัก หรือไออย่างรุนแรง
- ข้ออักเสบ เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด
- โรคทางเดินหายใจ เช่น วัณโรค และซิฟิลิส ทิ่อาจทำให้เกิดอาการอักเสบร่วมกัน
ปัจจัยเสี่ยงของภาวะกระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบ
- ภาวะกระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบเกิดขึ้นบ่อยในเพศหญิงและผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี รวมถึงผู้ที่มีความเสี่ยง ดังต่อไปนี้
- เข้าร่วมกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บ
- ใช้แรงงานหนัก
- โรคไขข้ออักเสบ
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยภาวะกระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบ
ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย ทำการตรวจร่างกายเบื้องต้นก่อนทำการวินิจฉัยโรค ดังนี้
- การตรวจเลือด
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram : ECG/EKG)
- การเอกซเรย์ทรวงอก เพื่อให้แน่ใจว่าคุณไม่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือ
- โรคหัวใจอื่นๆ
การรักษาภาวะกระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบ
ภาวะกระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบสามารถหายไปเองได้ แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องได้รับการรักษา ซึ่งวิธีการรักษานั้นจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่สาเหตุ อาการ และความรุนแรงของโรค โดยส่วนใหญ่มีวิธีการรักษา ดังนี้
- ยาบรรเทาอาการปวด
- ยาบรรเทาความเครียด
- กลุ่มยารักษาอาการที่เกิดจากโรคซึมเศร้า
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาภาวะกระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบ
ผู้ป่วยสามารถบรรเทาอาการปวดให้ลดลงได้ด้วยการดูแลตนเอง ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ใช้แรงมากเกินไป เช่น การวิ่ง การยกน้ำหนัก
- ประคบร้อนหรือประคบเย็นในบริเวณที่มีอาการปวด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด