โรคกระดูกแบบอื่น

ในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น ร่างกายจะสร้างมวลกระดูกใหม่ได้เร็วกว่าสลายมวลกระดูกเก่า แต่หลังจากอายุเลย 20 ปี ร่างกายจะสูญเสียมวลกระดูกได้เร็วกว่าสร้างใหม่ ยิ่งหากคุณเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูก เช่น ข้ออักเสบ เนื้องอกกระดูก กระดูกติดเชื้อ ก็ยิ่งส่งผลเสียต่อกระดูกได้มากขึ้น แต่นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมี โรคกระดูกแบบอื่น อีกหลายโรค ซึ่งเรานำข้อมูลมาฝากคุณแล้ว

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคกระดูกแบบอื่น

นักกีฬาควรรู้! ฟิตผิดวิธี อาจเสี่ยงเป็น โรคเข่าปูด โดยไม่รู้ตัว

อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬาสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะในนักกีฬา ยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจเสี่ยงเป็น โรคเข่าปูด โดยไม่รู้ตัว บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคเข่าปูดให้มากขึ้น จะมีสาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกันอย่างไร ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลยค่ะ ทำความรู้จักโรคเข่าปูด (Osgood-Schlatter’s Disease) โรคเข่าปูด (Osgood-Schlatter’s Disease) เป็นภาวะที่ทำให้ใต้หัวเข่ามีอาการปวด บวม ซึ่งเกิดจากแรงดึงของเส้นเอ็นกระดูกที่ยึดติดกับสะบ้าหัวเข่าและด้านบนของกระดูกหน้าแข้ง ส่งผลให้กระดูกหน้าแข้งอักเสบ  อย่างไรก็ตาม เข่าปูด มักพบในเด็กผู้ชาย ที่มีอายุระหว่าง 10-15 ปี ที่ชื่นชอบการเล่นกีฬา โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องวิ่งและกระโดดเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็ว เช่น กีฬาวิ่ง ฟุตบอล บาสเก็ตบอล บัลเลต์ เป็นต้น  โรคเข่าปูด มีสาเหตุและอาการอย่างไรบ้าง? เข่าปูด มักเกิดขึ้นขณะเล่นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิ่ง การกระโดด การงอ เป็นต้น ขณะที่เรากำลังวิ่ง กล้ามเนื้อขาจะหดตัว ส่งผลให้เอ็นตรงที่ยึดติดกับลูกสะบ้าหัวเข่าตึงรั้งกระดูกใต้เข่า ทำให้กระดูกบริเวณนั้นเกิดการแตกร้าวขึ้น รวมถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ อายุ เพศชายอายุระหว่าง 12-14 ปี เพศหญิงอายุ 10-13 ปี เพศ พบได้บ่อยในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง  กีฬา ภาวะนี้มักเกิดขึ้นกับกีฬาที่เกี่ยวข้องกับการวิ่ง […]

สำรวจ โรคกระดูกแบบอื่น

โรคกระดูกแบบอื่น

ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง (Spina Bifida)

ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง (Spina Bifida) เกิดจากความผิดปกติของกระดูกสันหลังและไขสันหลัง เป็นความผิดปกติประเภทหนึ่งของท่อประสาท ที่เป็นโครงสร้างตัวอ่อนเกิดขึ้นระหว่างการจัดตัวของกระดูกสันหลังและไขสันหลังตั้งแต่อยู่ในครรภ์ (ท่อประสาทไม่ปิด) โดยปกติท่อประสาทจะเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์และจะปิดมันลงในวันที่ 28 หลังการตั้งครรภ์ คำจำกัดความความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง (Spina Bifida) คืออะไร ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง (Spina Bifida) เกิดจากความผิดปกติของกระดูกสันหลังและไขสันหลัง เป็นความผิดปกติประเภทหนึ่งของท่อประสาท ที่เป็นโครงสร้างตัวอ่อนเกิดขึ้นระหว่างการจัดตัวของกระดูกสันหลังและไขสันหลังตั้งแต่อยู่ในครรภ์ (ท่อประสาทไม่ปิด) โดยปกติท่อประสาทจะเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์และจะปิดมันลงในวันที่ 28 หลังการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ความผิดปกติเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ป่วยมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง ชัก และมีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้หรือกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น พบได้บ่อยเพียงใด ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลังเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทารกผิวขาว นอกจากนี้เพศหญิงที่เป็นโรคเบาหวานหรือโรคอ้วน มีโอกาสเสี่ยงที่ทารกจะเกิดความบกพร่องที่กระดูกไขสันหลัง อาการ อาการความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง สัญญาณและอาการความบกพร่องของกระดูกไขสันหลังแตกต่างกันออกไปตามประเภทและความรุนแรงของแต่ละบุคคล โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ สไปนา ไบฟิดาชนิดมองไม่เห็นภายนอก (Spina Bifida Occulta : SBO) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดแต่มีความรุนแรงน้อยสุด ไขสันและเส้นประสาทไม่มีช่องเปิด แต่อาจจะมีช่องโหว่ขนาดเล็กในกระดูกสันหลัง ซึ่งความบกพร่องชนิดนี้นั้นจะไม่สร้างความเสียหายใด ๆ ให้กับร่างกาย ไม่ก่อให้เกิดความพิการ สไปนา ไบฟิดาชนิดเมนนิ้งโกซีล (Meningocele) เป็นชนิดหายากที่เกิดขึ้นเมื่อถุงน้ำไขสันหลัง (แต่ถุงน้ำนี้ไม่มีส่วนประกอบของไขสันหลัง เป็นถุงน้ำนอกร่างกาย) ดันผ่านช่องเปิดที่ด้านหลังของทารก ส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ สไปนา ไบฟิดาชนิดไมอีโลเมนนิ้งโกซีล (Myelomeningocele) […]


โรคกระดูกแบบอื่น

กระดูกสันหลังคด (Scoliosis)

โรค กระดูกสันหลังคด (Scoliosis) คือ ภาวะที่กระดูกสันหลังโค้งผิดปกติ ทำให้กระดูกสันหลังมีลักษณะโค้งคลายตัว C หรือ S พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กอายุ 10-15 ปี คำจำกัดความกระดูกสันหลังคด คืออะไร กระดูกสันหลังคด (Scoliosis) หมายถึง ภาวะที่กระดูกสันหลังโค้งผิดปกติ โดยปกติแล้ว กระดูกสันหลังของเราจะวางตัวในแนวตรงแบบเอียงเล็กน้อย แต่คนที่เป็นโรคกระดูกสันหลังคดจะมีแนวกระดูกสันหลังที่โค้งงอมากผิดปกติ ทำให้กระดูกสันหลังมีลักษณะเป็นรูปร่างโค้งคล้ายตัว C หรือ S อาการคดโค้งผิดปกตินี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับแนวกระดูกสันหลังทุกส่วน แต่ส่วนใหญ่มักปรากฏบริเวณกระดูกสันหลังส่วนบนและกระดูกสันหลังส่วนล่าง หรือบริเวณเอว ส่วนใหญ่แล้ว โรคกระดูกสันหลังคดนี้มักสังเกตเห็นได้ยาก แต่ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการตัวเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ความสูงของไหล่ไม่เท่ากัน หรือสะโพกสองข้างสูงไม่เท่ากัน โรคกระดูกสันหลังคดนี้สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด เช่น โรคกระดูกสันหลังคดแต่กำเนิด (Congenital scoliosis) โรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในวัยรุ่น (Adolescent idiopathic scoliosis หรือ AIS) โรคกระดูกสันหลังคดจากความเสื่อม (Degenerative Lumbar Scoliosis) โรคกระดูกสันหลังคดจากโรคประสาทกล้ามเนื้อ (Neuromuscular scoliosis) กระดูกสันหลังคด พบได้บ่อยแค่ไหน กระดูกสันหลังคด เป็นโรคที่พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่พบบ่อยในเด็กวัย 10-15 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ร่างกายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และมักเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โปรดปรึกษาแพทย์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของโรคกระดูกสันหลังคด อาการทั่วไปของโรคกระดูกสันหลังคด ได้แก่ ศีรษะเอียง โดยเอนไปข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้าง ไหล่ไม่เท่ากัน […]


โรคกระดูกแบบอื่น

กระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ (Impingement Syndrome)

กระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่  (Impingement Syndrome)  เกิดจากเส้นเอ็นเบอร์ซา (Bursa) เกิดการเสียดสีทับกันกับกระดูกหัวไหล่ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดไหล่ โดยส่วนใหญ่พบในผู้ที่ใช้งานหัวไหล่ซ้ำ ๆ เช่น การวาดภาพ กีฬายกน้ำหนัก กีฬาว่ายน้ำ กีฬาเทนนิส คำจำกัดความกระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ (Impingement Syndrome) คืออะไร กระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่  (Impingement Syndrome)  เกิดจากเส้นเอ็นเบอร์ซา (Bursa) เกิดการเสียดสีทับกันกับกระดูกหัวไหล่ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดไหล่ โดยส่วนใหญ่พบในผู้ที่ใช้งานหัวไหล่ซ้ำ ๆ เช่น การวาดภาพ กีฬายกน้ำหนัก กีฬาว่ายน้ำ กีฬาเทนนิส อย่างไรก็ตาม อาการกระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ มักส่งผลกระทบต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หากปล่อยไว้ระยะเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจทำให้เกิดการอักเสบและฉีกขาดได้ พบได้บ่อยเพียงใด กระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ พบได้บ่อยในนักกีฬา โดยเฉพาะนักกีฬาว่ายน้ำ และนักกีฬาประเภทอื่น ๆ เช่น นักกีฬาเบสบอลหรือซอฟท์บอล อาการอาการของกระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ อาการหลักของกระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ คืออาการปวดไหล่อย่างกะทันหันเมื่อคุณยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ ได้แก่ รู้สึกปวดแขนตลอด (อาการปวดไม่รุนแรงแต่รู้สึกปวดตลอด)  มีอาการปวดบริเวณช่วงด้านหน้าไหล่และด้านข้างของแขน  รู้สึกปวดบริเวณไหล่รุนแรงในเวลากลางคืน  แขนและไหล่มีอาการอ่อนแรง ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของกระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ สาเหตุของอาการปวดไหล่เกิดจากเอ็นข้อไหล่เกิดการชนกันกับกระดูกบนของข้อไหล่ เมื่อปล่อยไว้ระยะเวลานาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม อาจทำให้อาการปวดรุนแรงมากขึ้น อาจร้ายแรงถึงขั้นเส้นเอ็นฉีกขาด ปัจจัยเสี่ยงของกระดูกงอกทับเอ็นข้อไหล่ ผู้ที่เคลื่อนไหวใช้กิจกรรมบริเวณหัวไหล่หรือเหนือศีรษะขึ้นไป  รวมถึงกิจกรรมที่เคลื่อนไหวบริเวณแขนและหัวไหล่ซ้ำ ๆ […]


โรคกระดูกแบบอื่น

ปวดสะโพก อันตรายหรือเปล่าและบรรเทาได้อย่างไรบ้าง

หลายท่านอาจเคยประสบกับปัญหาการ ปวดสะโพก กันมาบ้าง ซึ่งอาการดังกล่าวมักเกิดจากการทำกิจกรรมที่ต้องมีการใช้งานช่วงข้อต่อและกล้ามเนื้อสะโพกมากเป็นพิเศษ จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดสะโพกตามมาได้ แต่ อาการปวดสะโพก ยังสามารถเกิดจากสาเหตุอื่นได้อีกหรือไม่ แล้วอาการปวดสะโพกนั้นเป็นอันตรายหรือเปล่า เราไปหาคำตอบไปพร้อมๆกันได้ที่บทความนี้เลยค่ะ จาก Hello คุณหมอ ทำไมถึงมีอาการ ปวดสะโพก อาการปวดสะโพก เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะหากมีการทำกิจกรรมหรือการใช้งานบริเวณสะโพกหรือช่วงขา อาจก่อให้เกิดความเมื่อยล้า เกิดอาการตึง หรืออักเสบที่บริเวณกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อสะโพก ซึ่งจะทำให้รู้สึปวดสะโพกได้ อย่างไรก็ตาม อาการปวดสะโพก ยังสามารถเกิดจากอาการทางสุขภาพต่างๆ ด้วยเช่นกัน ได้แก่ โรคที่เกี่ยวกับไขข้อหรือโรคข้ออักเสบชนิดต่างๆ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุมักจะพบโรคดังกล่าวได้ง่าย อาการเกี่ยวกับไขข้อจะส่งผลให้เกิดการอักเสบที่บริเวณข้อต่อและกระดูกอ่อนของสะโพก จึงทำให้รู้สึกเจ็บปวดที่สะโพก กระดูกสะโพกหัก เมื่ออายุมากขึ้นกระดูกก็จะเริ่มอ่อนแอลง ทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะกระดูกเปราะ แตก หรือหักได้ ซึ่งหากเกิดอาการกระดูกสะโพกแตกหรือร้าว ก็จะมีผลทำให้รู้สึกปวดสะโพก อาการบวมอักเสบของข้อต่อ บริเวณข้อต่อของคนเราจะมีถุงเบอร์ซา (bursa) เล็กๆ ทำหน้าที่ในการหล่อลื่นและลดแรงเสียดทานของเนื้อเยื่อบริเวณข้อต่อ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ถุงเบอร์ซานี้เกิดการอักเสบขึ้น ก็จะมีผลทำให้เกิด อาการปวดสะโพก เอ็นอักเสบ เส้นเอ็นเป็นแถบเนื้อเยื่อที่มีความหนา ทำหน้าที่สำคัญในการยึดกระดูกกับกล้ามเนื้อไว้ด้วยกัน แต่เมื่อเส้นเอ็นเกิดอาการตึงหรืออักเสบ ก็จะสร้างความเจ็บปวดที่บริเวณนั้นๆ ได้ อาการตึงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น กิจกรรมบางอย่างอาจมีการใช้งานหรือเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อกับเส้นเอ็นที่รองรับสะโพกมากจนก่อให้เกิดอาการตึงที่บริเวณเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ ซึ่งถ้าหากเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อตึงมากจนเกิดเป็นอาการอักเสบ ก็จะมีผลทำให้เกิดอาการปวดที่สะโพกได้ อาการสะโพกฉีก  การฉีกขาดของกระดูกอ่อนที่มีลักษณะเป็นวง หรือที่เรียกว่า ลาบรัม (labrum) […]


โรคกระดูกแบบอื่น

พังผืดในไขกระดูก (Myelofibrosis)

โรค พังผืดในไขกระดูก (Myelofibrosis หรือ MF) เป็นโรคมะเร็งไขกระดูกชนิดหายาก จัดอยู่ในกลุ่มของมะเร็งโลหิตวิทยา หรือมะเร็งเม็ดเลือด (Blood Cancers) ที่เรียกว่า กลุ่มโรคเม็ดเลือดสูง หรือกลุ่มโรคไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดมากผิดปกติ (Myeloproliferative neoplasm หรือ MPN) คำจำกัดความโรค พังผืดในไขกระดูก คืออะไร โรคพังผืดในไขกระดูก (Myelofibrosis) เป็นโรคมะเร็งไขกระดูกชนิดหายาก จัดอยู่ในกลุ่มของมะเร็งโลหิตวิทยา หรือมะเร็งเม็ดเลือด (Blood Cancers) เมื่อเป็นแล้วจะส่งผลต่อการผลิตเซลล์เม็ดเลือด ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดได้ตามปกติ และทำให้เซลล์เม็ดเลือดทำงานผิดปกติด้วย เมื่อเซลล์เม็ดเลือดทำงานผิดปกติ จะส่งผลให้เกิดพังผืดที่ไขกระดูก ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจางรุนแรง จนรู้สึกเหนื่อยล้าและหมดเรี่ยวแรงอย่างหนัก นอกจากนี้ โรคพังผืดในไขกระดูกยังอาจทำให้ผู้ป่วยมีเกล็ดเลือดต่ำ จนเสี่ยงเกิดภาวะเลือดออกได้ง่ายขึ้น และผู้ป่วยโรคพังผืดในไขกระดูกส่วนใหญ่ มักมีปัญหาม้ามและไตโตด้วย โรคพังผืดในไขกระดูกนี้ หากเกิดขึ้นเองจะเรียกว่า โรคพังผืดในไขกระดูกปฐมภูมิ (Primary Myelofibrosis) แต่หากเป็นผลมาจากโรคอื่น จะเรียกว่า โรคพังผืดในไขกระดูกชนิดทุติยภูมิ (Secondary Myelofibrosis) โรคพังผืดในไขกระดูก พบได้บ่อยแค่ไหน โรคพังผืดในไขกระดูก เป็นโรคหายาก จากสถิติในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ประชากร 100,000 คน จะพบผู้ป่วยโรคนี้เพียง 1.5 คนเท่านั้น […]


โรคกระดูกแบบอื่น

กระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม หรือ กระดูกคอเสื่อม (Cervical spondylosis)

กระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม หรือ กระดูกคอเสื่อม เป็นโรคที่พบได้ทั่วไปเมื่ออายุมากขึ้น เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนและกระดูกสันหลังบริเวณคอ และอาการอาจรุนแรงมากขึ้นจากปัจจัยอื่นๆ ได้ คำจำกัดความ กระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม หรือ กระดูกคอเสื่อม คืออะไร กระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม (Cervical spondylosis) หรือ กระดูกคอเสื่อม (Cervical osteoarthritis) หรือ กระดูกคออักเสบ (Neck arthritis) เป็นโรคที่พบได้ทั่วไปเมื่ออายุมากขึ้น เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนและกระดูกสันหลังบริเวณคอ แม้จะเป็นเรื่องปกติที่พบในผู้สูงอายุ แต่อาการอาจรุนแรงมากขึ้นจากปัจจัยอื่นๆ ได้เช่นกัน ในผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการปวดและเกร็งรุนแรงและเรื้อรัง อย่างไรก็ดี คนจำนวนมากที่มีกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม ยังคงสามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ตามปกติ กระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม หรือกระดูกคอเสื่อมพบได้บ่อยแค่ไหน กระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อมหรือกระดูกคอเสื่อมพบได้ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จำนวนมากกว่าร้อยละ 85 ขณะที่ผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคนี้ไม่เคยมีอาการ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ อาการ อาการกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อมหรือกระดูกคอเสื่อม ผู้ป่วยกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม หรือ กระดูกคอเสื่อมเกือบทั้งหมดไม่มีอาการที่ชัดเจน แต่หากมีอาการ อาจมีอาการตั้งแต่ขั้นไม่รุนแรงไปจนถึงอาการขั้นรุนแรงที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยทันที อาการที่พบได้บ่อยประการหนึ่งคือ อาการปวดกระดูกสะบัก ผู้ป่วยมักมีอาการปวดตามแขนและนิ้วมือ โดยอาจมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อ ยืน นั่ง จาม ไอ เอนคอไปด้านหลัง อาการที่พบได้มากอีกประการหนึ่งคือ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้ยกแขนหรือหยิบจับสิ่งของแน่นๆ ได้ยาก สิ่งบ่งชี้อื่นๆ ที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ อาการคอแข็งที่มีอาการแย่ลงเรื่อยๆ ปวดศีรษะ โดยเฉพาะบริเวณศีรษะส่วนหลัง อาการปวดแปล๊บ หรืออาการชาบริเวณไหล่ แขน และขา สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ […]


โรคกระดูกแบบอื่น

กระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis)

กระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis) โรคที่เกิดขึ้นเมื่อกระดูกสันหลังระดับเอวเคลื่อนไปด้านหน้าเหนือกระดูกสันหลังชิ้นล่างที่อยู่ติดกัน มักเกิดขึ้นกับกระดูกสันหลังส่วนล่าง หากผู้ที่ต้องลงน้ำหนักที่กระดูกสันหลังระหว่างการยืดเหยียด เช่น นักกีฬายิมนาสติก นักยกน้ำหนัก หรือผู้กำกับเส้นกีฬาฟุตบอล ยิ่งเสี่ยงเกิดกระดูกสันหลังเคลื่อนมากขึ้น   คำจำกัดความกระดูกสันหลังเคลื่อน คืออะไร กระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis) คือ โรคที่เกิดขึ้นเมื่อกระดูกสันหลังระดับเอวเคลื่อนไปด้านหน้าเหนือกระดูกสันหลังชิ้นล่างที่อยู่ติดกัน มักเกิดขึ้นกับกระดูกสันหลังส่วนล่าง (lumbosacral area) ในบางกรณี อาจทำให้กระดูกสันหลังหรือเส้นประสาทบิด จนนำไปสู่อาการปวดหลังและอาการชา หรือขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างอ่อนแรง ผู้ป่วยบางรายอาจควบคุมการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะไม่ได้ หากเกิดอาการนี้ ควรรีบพบคุณหมอทันที ผู้ป่วยบางรายที่กระดูกสันหลังหลุดออกจากตำแหน่ง อาจไม่แสดงอาการนานเป็นปี ก่อนจะเริ่มรู้สึกปวดบริเวณหลังส่วนล่างหรือก้น กล้ามเนื้อที่ขาตึงหรืออ่อนแรง และไม่สามารถเดินได้ปกติ กระดูกสันหลังเคลื่อนพบได้บ่อยแค่ไหน โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนพบได้ทั่วไปในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษาแพทย์ อาการอาการของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน อาการทั่วไปของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน ได้แก่ ปวดหลังหรือก้น อาการปวดเคลื่อนจากหลังส่วนล่างไปที่ขา มีอาการขาชาหรืออ่อนแรง เดินไม่สะดวก ปวดขา ปวดหลัง ปวดบริเวณก้นมากขึ้นเวลาก้มหรือบิดตัว ผู้ป่วยบางราย อาจควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ในบางครั้ง โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนอาจไม่แสดงอาการใด ๆ เลย สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากเกิดสัญญาณหรืออาการของโรค ควรพบคุณหมอทันที เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับคุณหมอ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ สาเหตุสาเหตุของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน สาเหตุการเกิดโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนมาจากอายุ กรรมพันธุ์ และการใช้ชีวิต เด็กที่เป็นโรคนี้ มักเกิดจากปัญหาระหว่างคลอด หรือการบาดเจ็บ อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถเกิดได้กับทุกคน หากมีคนในครอบครัวเคยเป็น รวมถึงภาวะโตเร็วในช่วงวัยรุ่นก็อาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรค การเล่นกีฬาอาจเป็นสาเหตุของอาการตึง และทำให้หลังส่วนล่างทำงานหนักเกินไป โดยกีฬาที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรค […]


โรคกระดูกแบบอื่น

อาการปวดหลังของคุณเกิดจาก เส้นประสาทถูกกดทับ หรือเปล่า?

อาการปวดหลังของคุณเกิดได้จากหลายสาเหตุ และนอกจากปัญหาของกล้ามเนื้อและกระดูกแล้ว อาการปวดของคุณอาจเกิดจาก เส้นประสาทถูกกดทับ หรือการกดทับเส้นประสาทไซอาติก (Sciatica) ที่อยู่บริเวณตั้งแต่กระดูกสันหลังส่วนล่างลงมาตามด้านหลังขา เนื่องจากเส้นประสาทไซอาติกได้รับการกระทบกระเทือน หรือถูกกดทับจากปัญหาบางประการของหลังส่วนล่าง Hello คุณหมอ มีข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับอาการปวดหลังจาก เส้นประสาทถูกกดทับ มาฝากทุกท่านดังนี้ อาการปวดหลังจากเส้นประสาทเป็นอย่างไร เมื่อรากประสาทส่วนใดส่วนหนึ่งที่หลังส่วนล่าง ได้รับการกระทบกระเทือน อาการปวดจะเกิดขึ้น และแพร่จากรากประสาทที่เส้นประสาทไซอาติกไปจนถึงก้น และบางครั้งลามไปถึงด้านหลังของต้นขาและเท้า หรือนิ้วเท้า อาการปวดจากการกดทับเส้นประสาทแบบไซอาติก มักแสดงอาการใดอาการหนึ่งหรือมากกว่า ดังนี้ อาการปวดเรื้อรังด้านใดด้านหนึ่งของก้นหรือต้นขา อาจลามลงไปที่ขาสู่เท้าและนิ้วเท้า (มักไม่เกิดที่ขาทั้งสองข้าง) อาการปวดขา อาจเกิดอาการที่เรียกว่า ปวดแสบร้อน เสียวซ่า อาการชา อ่อนแรงหรือเคลื่อนไหวขา เท้าและ/หรือ นิ้วเท้าลำบาก อาการปวดรุนแรงขึ้นเมื่อนั่ง ทำให้ไม่สามารถนั่งได้นาน เจ็บปวดรุนแรง ยืนหรือเดินลำบาก อาการปวดเพิ่มมากขึ้น จากการไอหรือจาม อาการปวดจากการกดทับเส้นประสาทแบบไซอาติก อาจเกิดขึ้นเฉียบพลัน แต่ไม่เรื้อรังไปจนถึงอาการเรื้อรัง ที่อาจจะทำให้ทุพพลภาพได้ ปัญหาเกี่ยวกับหลังส่วนล่างที่ทำให้เส้นประสาทถูกกดทับ โดยทั่วไป สาเหตุของอาการปวดจากการกดทับเส้นประสาทแบบไซอาติกในวัยผู้ใหญ่ มาจากหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูกเสื่อม หรือกระดูกสันหลังเลื่อน ในผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 60 ปี สาเหตุหลักของอาการคือการเสื่อมจากโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (lumbar spinal stenosis) หรือกระดูกสันหลังเคลื่อนและเสื่อม การรับรู้สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดจากการกดทับเส้นประสาทแบบไซอาติก เป็นสิ่งสำคัญเพื่อทำให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาการที่คล้ายกับอาการปวดจากเส้นประสาทถูกกดทับ คนจำนวนมากนึกถึงอาการปวดขาประเภทต่างๆ ที่มีสาเหตุมาจากอาการปวดจากการกดทับเส้นประสาทแบบไซอาติก แต่อาการปวดขามีสาเหตุมากมายที่ไม่ถูกจัดว่า เป็นอาการปวดจากการกดทับเส้นประสาทแบบไซอาติก และจำเป็นต้องรับการรักษาที่ต่างกันไป สาเหตุของอาการปวด มีดังนี้ ปัญหาข้อต่อในกระดูกสันหลัง เช่น […]


โรคกระดูกแบบอื่น

บรรเทาอาการปวดเข่า ด้วยเคล็ดลับดีๆ จากนักกายภาพบำบัด

อาการปวดเข่ามักไม่จำเป็นต้องผ่าตัด และอาการสามารถดีขึ้นได้ ด้วยการทำกิจกรรรมทางกาย หรือการออกกำลังกายที่เหมาะสม อย่างไรก็ดี การออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว อาจไม่ได้ทำให้หัวเข่าของคุณมีสุขภาพดีเสมอไป และนี่คือ วิธี บรรเทาอาการปวดเข่า ที่นักกายภาพบำบัดแนะนำว่าได้ผลจริง วิธี บรรเทาอาการปวดเข่า ฉบับนักกายภาพบำบัด 1. ห้ามพักผ่อนมากเกินไป คุณอาจรู้สึกว่าอาการปวดเข่าของคุณดีขึ้น เมื่อได้นอนพักผ่อน ไม่ต้องขยับร่างกายหรือทำกิจกรรมใดๆ เลย แต่ความจริงแล้ว การพักผ่อนมากเกินไป อาจทำให้กล้ามเนื้อของคุณอ่อนแอลงได้ เมื่อกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะทำให้มีแรงกดทับที่หัวเข่ามากขึ้น จนอาการปวดรุนแรงขึ้นได้ หากอยากบรรเทาอาการปวดเข่า แทนที่จะเอาแต่นอนพัก คุณควรออกกำลังกายในรูปแบบที่เหมาะสมเป็นประจำ หากไม่มั่นใจว่า การออกกำลังกายประเภทใดที่เหมาะสมสำหรับหัวเข่าของคุณ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด 2. เลือกออกกำลังกายให้เหมาะสม ตามที่กล่าวไว้ การออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับบรรเทาอาการปวดเข่า ได้แก่ การออกกำลังเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง การออกกำลังกายเพื่อสร้างความยืดหยุ่น การออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำ เช่น การเดิน การว่ายน้ำ ที่จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก ช่วยให้หัวเข่ายืดหยุ่นได้ดี สามารถเคลื่อนไหวได้นานขึ้น การออกกำลังกายเป็นประจำ นอกจากจะช่วยบรรเทาอาการปวดเข่าได้แล้ว ยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บ และอาการผิดปกติอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับหัวเข่า ขา และเท้า ได้อีกด้วย อย่างไรก็ดี หากคุณปวดเข่าควรงดออกกำลังกายด้วยการวิ่ง เพราะอาจทำให้เกิดแรงกดทับและแรงกระแทกที่หัวเข่ามากขึ้น 3. เลือกรองเท้าให้เหมาะสม รองเท้าที่ดี จะช่วยรองรับแรงกระแทก และป้องกันอาการบาดเจ็บระหว่างทำกิจกรรมต่างๆ ได้ โดยเฉพาะการเล่นกีฬา […]


โรคกระดูกแบบอื่น

สวยแต่เสี่ยง 5 อันตรายของการใส่ รองเท้าส้นสูง

ซินเดอเรลล่า เจ้าหญิงที่มาพร้อมรองเท้าส้นสูงจากแม่นางฟ้าทูลหัว เจ้าหญิงในดวงใจสาวๆ หลายคนที่ใฝ่ฝันอยากจะใส่บ้าง แต่ความจริงมันไม่ได้สวยหรูแบบนั้นน่ะสิ เพราะถ้าคุณเป็นหนึ่งคนที่ต้องมี รองเท้าส้นสูง คู่โปรดติดตู้รองเท้าเอาไว้เพราะไม่ว่าต้องไปงานประชุมหรืองานสังสรรค์ จะต้องพึ่งพาเจ้ารองเท้าส้นสูงตลอด ด้วยพรวิเศษของ รองเท้าส้นสูง ที่ให้ทั้งความสูง สวย สง่างาม ส่งเสริมรูปร่างของผู้หญิงให้ดูโดดเด่นอย่างปฏิเสธไม่ได้ แต่คุณรู้ไหมว่าความสวยพวกนี้มาพร้อมความเสี่ยงที่เป็นอันตรายกับร่างกายของคุณมากกว่าที่คิด รู้จักอันตรายจากการใส่รองเท้าส้นสูงก่อนร่างกายจะพังเพราะรองเท้าคู่สวยแบบกู่ไม่กลับ 5 อันตรายของการใส่ รองเท้าส้นสูง เท้าพังเพราะรองเท้าส้นสูง เท้าของคุณเป็นเหมือนเบาะที่รองรับการเคลื่อนไหวและน้ำหนักทั้งหมดของร่างกาย แต่คุณรู้ไหมว่าเวลาที่คุณหยิบรองเท้าส้นสูงมาใส่ น้ำหนักทั้งหมดของคุณก็จะเทไปยังบริเวณปลายเท้าและนิ้วเท้า แทนฝ่าเท้าทั้งหมด ลองจินตนาการดูสิว่าถ้าตึกหนึ่งหลังมีเหล็กเส้นบางๆ รับน้ำหนักแทนเสาเข็มคอนกรีต เหล็กเส้นนั้นจะเป็นยังไง เหมือนกับกระดูกเท้าของคุณที่ต้องแบกรับน้ำหนักทั้งหมดของร่างกาย ยิ่งต้องทำกิจกรรมที่มีการเดินหรือวิ่งที่กระแทกน้ำหนักลงไปมากเท่าใดยิ่งอันตรายมากเท่านั้น อันตรายที่นอกจากจะทำให้เกิดอาการปวดแล้วยังอาจทำให้กระดูกข้อเท้าผิดรูปได้เลยนะ กระดูกสันหลังผิดรูป กระดูกสันหลังตัว S ที่ไม่ S อีกต่อไป กระดูกสันหลังที่เป็นเหมือนโครงสร้างแกนกลางที่สำคัญที่สุดของร่างกาย เพราะทำหน้ากป้องกระดูกไขสันหลัง คงรูปร่างของร่างกาย เป็นที่เกาะยึดของกล้ามเนื้อต่างๆ รวมไปถึงเป็นตัวช่วยในการเคลื่อนไหวร่างกายของเรา แต่การใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานานจะทำให้กระดูกสันหลังที่เดิมเรียงตัวเป็นรูปตัว S อาจเกิดการผิดรูปเนื่องจากการใส่รองเท้าส้นสูงทำให้กระดูกสันหลังที่โค้งมาข้างหน้ามีความโค้งน้อยลง ทำให้กระดูกสันหลังทำงานหนักขึ้นเพื่อพยุงกระดูกสันหลังเอาไว้และเมื่อใส่เวลานานอาจะส่งผลกระทบให้กระดูกสันหลังเคลื่อนที่ไปทับเส้นประสาทในที่สุด เป็นความความสวยที่แลกมาด้วยความอันตรายที่ไม่คุ้มค่าสักนิด  เข่าเสื่อม จะลุกก็ โอย จะนั่งก็ โอย เข่าฉันไม่ไหวแล้ว ความสวยที่ฝืนธรรมชาติของสรีระอย่างการใส่รองเท้าส้นสูง ได้ส่งผลกระทบต่อหัวเข่าของเราอย่างมาก เนื่องจากร่างกายของเรามีกระบวนการกระจายน้ำหนักของแต่ละส่วนอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกับอวัยะต่างๆ แต่การใส่รองเท้าส้นสูงเหมือนการฝืนธรรมชาติ เมื่อน้ำหนักของร่างกายเกิดการกระจากน้ำหนักอย่างไม่เหมาะสมโดยถ่ายเทยน้ำหนักไปยังด้านหน้าทำให้หัวเข่าต้องแบกรับน้ำหนักของร่างกายร่วมกับปลายเท้าเท่านั้น และเมื่อน้ำหนักถ่ายเทไปข้างหน้าทั้งหมดทำให้การเดินของเราต้องพยายามมากขึ้นที่จะทำให้ตัวอยู่ในแนวตรง ส่งผลให้หัวเข่าถูกทำร้ายทุกครั้งที่ใส่รองเท้าส้นสูง จึงไม่น่าแปลกใจที่โรคข้อเข่าเสื่อมจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่ชอบใส่รองเท้าส้นสูงมากกว่าคนอื่น ปวดสะโพก สะโพก ของสาวๆ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม