backup og meta

ทำความรู้จัก โรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบ ในคุณแม่ลูกอ่อน

ทำความรู้จัก โรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบ ในคุณแม่ลูกอ่อน

โรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบ เป็นอีกหนึ่งโรคที่คุณแม่ลูกอ่อนต้องระวัง เพราะหากปล่อยไว้ ในระยะยาวแล้วไม่รีบรับการรักษาที่ถูกต้องอาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพร่างกายได้ บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบให้มากขึ้นกันค่ะ

โรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบ (De quervain’s Tenosynovitis)  

โรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบคืออาการอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณนิ้วหัวแม่มือ ส่งผลให้ผู้ป่วย มีอาการปวดที่ข้อมือ รู้สึกปวดเมื่อนิ้วขยับนิ้วโป้งหรือข้อมือโรคดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

ปัจจัยต่าง ๆ ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบ

ปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ อาจทำให้เป็นโรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบได้มากกว่าคนปกติทั่วไป ดังต่อไปนี้

  • อายุ ผู้ใหญ่ที่มีอายุระหว่าง 30-50 ปี
  • เพศ เพศหญิงมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบมากกว่าเพศชาย 8-10 เท่า
  • การเลี้ยงบุตร โรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในหญิงหลังตั้งครรภ์
  • การเคลื่อนไหว การขยับมือซ้ำแล้วซ้ำอีกเคลื่อนไหวในท่าทางเดิม ๆ บ่อย ๆ

สาเหตุที่คุณแม่ส่วนใหญ่มักเป็นโรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบ

สาเหตุที่คุณแม่ส่วนใหญ่เป็นโรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบเนื่องจากการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบซ้ำ ๆ เช่น การอุ้มลูก การจับสิ่งของต่าง ๆ รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เป็นโรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบ มีดังนี้

  • การได้รับบาดเจ็บโดยตรงที่ข้อมือ
  • โรคไขข้ออักเสบ
  • การเล่นเกมส์บ่อย ๆ
  • เล่นกีฬาและดนตรี เช่น เล่นเปียโน กีฬากอล์ฟ

4 สัญญาณเตือนเข้าข่ายโรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบ

อาการหลักของโรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบ คือ อาการปวดบริเวณนิ้วหัวแม่มือ รวมถึงอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

  • รู้สึกปวดเมื่อขยับนิ้วโป้งหรือข้อมือ
  • ปวดเมื่อทำกำปั้น
  • มีอาการปวมบวมบริเวณด้านข้างของข้อมือ
  • รู้สึกปวดและมีอาการบวมที่โคนนิ้วโป้ง

วิธีการรักษา

ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการตรวจสอบมือเพื่อดูอาการเจ็บปวดของข้อมือเราด้วยการทดสอบโดยการให้ผู้ป่วยงอนิ้วลงบนนิ้วโป้งเพื่อสร้างกำปั้น ถ้าคุณรู้สึกเจ็บแสดงว่าคุณอาจเข้าข่ายต่อการเป็นโรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบ

หากผู้ป่วยโรคปลอกหุ้มเอ็นข้ออักเสบ แพทย์จะแนะนำยารับประทานเพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือ นาพรอกเซน (Naproxen) ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงรับประทายาไม่ได้ผลแพทย์จะทำการฉีดสเตียรอยด์ หลังจากฉีดยาภายใน 6 เดือน คุณจะมีอาการที่ดีขึ้น อาจหายสนิทโดยไม่ต้องรับการรักษาอีก

ถ้าการรักษาข้างต้นไม่ได้ผล แพทย์ก็อาจตัดสินใจรักษาด้วยการเข้าเฝือกที่นิ้วและข้อมือ หรืออาจจะต้องผ่าตัดเพื่อทำการรักษาปลอกหุ้มเอ็นข้อให้เข้าที่

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

De Quervain’s tenosynovitis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/de-quervains-tenosynovitis/symptoms-causes/syc-20371332. Accessed 14 July

What’s de Quervain’s Tenosynovitis?. https://www.webmd.com/rheumatoid-arthritis/guide/de-quervains-disease. Accessed 14 July

What is De Quervain’s tenosynovitis?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/320914. Accessed 14 July

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/07/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการปวดหลังในเด็ก สาเหตุและวิธีป้องกัน

โคลิค กับวิธีรับมือสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 29/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา