พบว่า หนูทดลองทั้ง 2 กลุ่มที่บริโภคพอลิแซ็กคาไรด์ มีระดับน้ำตาลในเลือดที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับหนูกลุ่มที่ไม่ได้บริโภคสารใด ๆ เพิ่มเติม โดยหนูทดลองกลุ่มที่บริโภคพอลิแซ็กคาไรด์ 100 กรัม/วัน มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมากกว่ากลุ่มที่บริโภคสารพอลิแซ็กคาไรด์ 50 กรัม/วัน
ทั้งนี้ ยังเป็นการทดลองในสัตว์ ควรมีการทดลองในมนุษย์เพิ่มเติม เพื่อยืนยันคุณสมบัติของเห็ดหลินจือในการช่วยลดน้ำตาลในเลือด
-
อาจช่วยบรรเทาความอ่อนล้าได้
สปอร์ของเห็ดหลินจืออาจมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ มีส่วนในการสร้างมวลกล้ามเนื้อ และเสริมสร้างพลังงาน การบริโภคเห็ดหลินจือจึงอาจช่วยลดความรุนแรงของอาการอ่อนล้าเรื้อรังได้
การศึกษานำร่องชิ้นหนึ่ง ว่าด้วยคุณสมบัติของผงสปอร์เห็ดหลินจือในการช่วยบรรเทาอาการอ่อนล้าจากโรคมะเร็งในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รับการรักษาด้วยฮอร์โมน ตีพิมพ์ในวารสาร Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine ปี พ.ศ. 2555 นักวิจัยสุ่มให้อาสาสมัครบางรายจากจำนวนผู้เข้าร่วมการทดลองทั้งหมดจำนวน 48 รายซึ่งป่วยเป็นมะเร็งเต้านม บริโภคผงสปอร์เห็ดหลินจือเป็นเวลา 48 สัปดาห์ แล้วเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผู้ที่บริโภคผงสปอร์เห็ดหลินจือและผู้ที่ไม่ได้บริโภคผ่านการทำแบบสอบถาม
ผลปรากฏว่า ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่บริโภคเห็ดหลินจือ มีอาการดีขึ้นจากภาวะอ่อนล้า ภาวะซึมเศร้า และคุณภาพชีวิตดีขึ้น นักวิจัยจึงสรุปว่า ผงสปอร์เห็ดหลินจือ อาจมีประโยชน์ในการช่วยบรรเทาอาการอ่อนล้าจากโรคมะเร็งในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รักษาด้วยฮอร์โมนโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์
-
อาจช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
เห็ดหลินจือประกอบด้วยสารพอลิแซ็กคาไรด์ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน โดยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย การบริโภคเห็ดหลินจือ จึงอาจช่วยเสริมสร้างให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงขึ้น
งานวิจัยชิ้นหนึ่ง เกี่ยวกับการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในร่างกาย จากการบริโภคสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการช่วยปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะลุกลาม เผยแพร่ในวารสาร International Immunopharmacology ปี พ.ศ. 2549 นักวิจัยทดลองให้อาสาสมัครที่เป็นผู้ป่วยมะเร็งลำไส้จำนวน 41 ราย บริโภคเห็ดหลินจือ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า ตัวชี้วัดต่าง ๆ ภายในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่น จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) หลาย ๆ ชนิดและการทำงานของสารไฟโตฮีแมกกลูตินิน (Phytohemagglutinin) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น จึงอาจสรุปได้ว่า เห็ดหลินจือ อาจมีประสิทธิภาพในการช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ระยะลุกลาม
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย