backup og meta

โปรไบโอติกส์ แบคทีเรียชนิดดีที่จะช่วยทำให้ลำไส้ของเราสุขภาพแข็งแรง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 10/07/2020

    โปรไบโอติกส์  แบคทีเรียชนิดดีที่จะช่วยทำให้ลำไส้ของเราสุขภาพแข็งแรง

    โปรไบโอติกส์ นับว่ามีบทบาทสำคัญในระบบการย่อยอาหาร รวมทั้งช่วยป้องกันความเจ็บป่วยให้เราได้ด้วย ฉะนั้น ถ้าใครยังไม่รู้จักแบคทีเรียสายพันธุ์นี้ล่ะก็ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลของโปรไบโอติกส์มาให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ 

    โปรไบโอติกส์ คืออะไร

    ร่างกายของเรา มีเชื้อแบคทีเรียทั้งแบบดีและไม่ดี โปรไบโอติกส์ที่เราพูดถึงอยู่นี้คือเชื้อแบคทีเรียชนิดดี ที่ช่วยให้ลำไส้ของเรามีสุขภาพแข็งแรง เราสามารถพบโปรไบโอติกส์ได้ในอาหารหลายๆ ชนิด ซึ่งคุณหมอมักจะแนะนำให้คนที่มีปัญหาในเรื่องการย่อยอาหาร บริโภคอาหารที่มีโปรไบโอติกส์

    โปรไบโอติกส์ ทำงานอย่างไร

    นักวิจัยพยายามจะค้นหาว่าแบคทีเรียชนิดนี้ทำงานอย่างไร ซึ่งนี่คือสมมุติฐานบางอย่าง ที่นักวิจัยเชื่อว่าโปรไบโอติกส์จะทำหน้าที่ดังต่อไปนี้

    • เวลาที่เราสูญเสียแบคทีเรียชนิดดีในร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น ตอนที่เรากินยาปฎิชีวนะ โปรไบโอติกส์ก็จะทำหน้าที่ทดแทนแบคทีเรียชนิดดีให้
    • โปรไบโอติกส์จะช่วยให้แบคทีเรียชนิดดีและไม่ดีเกิดความสมดุลในร่างกาย เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถปฎิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    โปรไบโอติกส์กับการย่อยอาหาร

    เชื่อกันว่าโปรไบโอติกส์นั้นช่วยในเรื่องการย่อยอาหาร จึงมีประโยชน์ต่อผู้ที่มีอาการของโรคต่อไปนี้

    เชื่อกันว่าโปรไบโอติกส์ มีความปลอดภัยกับคนทุกเพศทุกวัย และนี่คือสิ่งที่คุณควรรู้เอาไว้

  • ระบบการย่อยอาหารแตกต่างกัน คนที่มีอาการท้องผูกจะมีเชื้อจุนลินทรีย์ในระบบย่อยอาหารที่แตกต่างจากคนที่ไม่มีอาการท้องผูก แต่สิ่งที่เราไม่รู้ก็คืออาการท้องผูก มีสาเหตุมาจากการที่มีเชื้อจุลินทรีย์ไม่เหมือนกันหรือเปล่า
  • ทำให้ระดับ pH ต่ำลง โปรไบโอติกส์ทำให้ระดับ pH ในลำไส้ลดต่ำลง ซึ่งอาจจะช่วยให้อุจจาระสามารถเคลื่อนผ่านลำไส้ได้เร็วขึ้นก็ได้
  • ช่วยลดอาการท้องเสีย ที่เกี่ยวข้องกับยาปฎิชีวนะ โปรไบโอติกส์อาจจะมีประโยชน์เป็นพิเศษในการเยียวยาอาการท้องเสีย ที่เกี่ยวข้องกับยาปฎิชีวนะและเชื้อคลอสไทรเดียม ดิฟิซายล์ (Clostridium Difficile) โดยโปรไบโอติกส์จะทำหน้าที่ทดแทนเชื้อแบบทีเรียชนิดดี ที่โดนยาปฎิชีวนะทำลายไป
  • ช่วยดูดซึมโปรตีน โปรไบโอติกส์อาจช่วยให้เราดูดซึมโปรตีนในอาหารได้ดีขึ้น รวมทั้งวิตามินและสารอาหารต่างๆ ด้วย
  • อาหารที่ให้โปรไบโอติกส์

    นี่คือแหล่งโปรไบโอติกส์ชั้นยอด ที่นอกจากจะมีรสอร่อยแล้ว ยังช่วยเรื่องการย่อยอาหาร และทำให้ลำไส้มีสุขภาพแข็งแรงด้วย

    • โยเกิร์ต นี่เป็นแหล่งโปรไบโอติกส์ชั้นดีเลยนะ การกินโยเกิร์ตนอกจากจะทำให้สุขภาพแข็งแรงแล้ว ยังทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้นด้วยนะ แถมยังว่ากันว่าโยเกิร์ตช่วยเยียวยาอาการท้องเสียในเด็กให้ดีขึ้นได้ด้วย
    • นมเปรี้ยว ก็คือ น้ำนมหมัก ที่มีโปรไบโอติกส์มากกว่าโยเกิร์ตซะอีกนะ ซึ่งคนที่แพ้น้ำตาลแล็คโตสจากการดื่มนมตามปกติ ก็สามารถดื่มนมเปรี้ยวได้โดยไม่มีปัญหาอะไรเลย
    • กะหล่ำดอง อาหารขึ้นชื่อของชาวเยอรมัน ที่อุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ และสารต่อต้านอนุมูลอิสระ แต่คุณควรเลือกแบบที่ได้ไม่ได้พาสเจอไรซ์นะ เชื้อแบคทีเรียจะได้ไม่ตายไปหมด
    • กิมจิ ผักดองของชาวเกาหลีชนิดนี้มักทำจากผักกระหล่ำปลีดอง ซึ่งมีเชื้อแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อระบบการย่อยอาหาร
    • มิโซะ คือ ถั่วเหลืองหมักชนิดหนึ่ง ซึ่งชาวญี่ปุ่นมักนำมาทำเป็นซุปหรือเครื่องปรุงรส มิโซะอุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญๆ มากมาย และอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งและโรคเส้นเลือดในสมองตีบได้ด้วย
    • คอมบูชา คือ เครื่องดื่มที่ทำจากชาหมัก ซึ่งว่ากันว่าส่งผลดีต่อสุขภาพหลายอย่าง แต่ยังต้องทำการศึกษาวิจัยกันอีกมาก
    • แตงกวาดอง เป็นอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ แต่มีวิตามินเคสูง แต่แตงกวาดองชนิดที่ดองในน้ำส้มสายชูนั้นจะไม่ได้ประโยชน์จากโปรไบโอติกส์
    • บัตเตอร์มิลค์ เป็นการนำน้ำนมไปหมัก ซึ่งนิยมบริโภคกันมากในประเทศอินเดีย เนปาล และปากีสถาน
    • นัตโตะ เป็นถั่วเหลืองหมักอีกชนิดหนึ่งของชาวญี่ปุ่น ซึ่งมักจะมีกันทุกบ้าน เหมือนที่เรามีน้ำปลากันอยู่ทุกบ้านนั่นแหละ นัตโตะนี้อุดมไปด้วยวิตามินเค2 ซึ่งช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน และโรคหัวใจวายได้ด้วย
    • เนยแข็งบางชนิด อย่างเช่น เนยแข็ง Cheddar, Mozzarella และ Gouda ที่มีโปรไบโอติกส์ เนยแข็งเป็นอาหารที่มีสารอาหารอยู่มากมาย และอาจประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจและกระดูกด้วย

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 10/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา