บทความนี้ Hello คุณหมอ นำ สูตรน้ำข้าวบาร์เลย์ มาให้ทุกคนได้ลองทำกันดูค่ะ รับรองว่าขั้นตอนการทำนั้นไม่ยุ่งยากอย่างที่ทุกคนคิด แถมยังอุดมด้วยคุณค่าทางสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย จะมีส่วนผสมและวิธีการทำอย่างไร ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลยค่ะ
น้ำข้าวบาร์เลย์ คืออะไร
น้ำข้าวบาร์เลย์ เป็นเครื่องดื่มที่เป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่โบราณ ทั้งในกรีก อังกฤษ เอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยถือว่าเป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพและเชื่อว่าสามารถบำรุงร่างกายได้ ในอังกฤษและอินเดียเอง นิยมดื่มเป็นเครื่องดื่มร้อน เช่นเดียวกับชา
สูตรน้ำข้าวบาร์เลย์
น้ำข้าวบาร์เลย์มีส่วนผสมและวิธีการทำ ดังต่อไปนี้
ส่วนผสม
- ข้าวบาร์เลย์ 1/4 ถ้วย
- น้ำ 4 ถ้วยตวง
- เกลือ เล็กน้อย
- น้ำผึ้ง (ไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้)
- เปลือกมะนาว (ไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้)
วิธีทำ
- ต้มน้ำให้เดือดแล้วนำข้าวบาร์เลย์ไปต้ม
- ใส่เกลือลงไปเล็กน้อยปล่อยให้สุกด้วยไฟอ่อน ๆ เป็นเวลา 30 นาที (สามารถบดเมล็ดข้าวให้เล็กลงได้อีกด้วยช้อน)
- กรองน้ำออกเทใส่แก้ว วางเปลือกมะนาวที่ปลายแก้วและหยดน้ำผึ้งลงเล็กน้อยด้านบนเพื่อเพิ่มรสชาติ
5 คุณประโยชน์จาก น้ำข้าวบาร์เลย์
- ล้างสารพิษ
หากดื่มน้ำข้าวบาร์เลย์เป็นประจำ น้ำข้าวบาร์เลย์จะไปช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย นอกจากนี้น้ำข้าวบาร์เลย์ยังเดินทางผ่านออกจากลำไส้ผ่านทานเดินปัสสาวะ กระบวนการนี้จะถูกกระตุ้นโดยกลุ่มของน้ำตาลที่เรียกว่า “เบต้ากลูแคน” (Beta Glucan) มีคุณสมบัติช่วยทำความสะอาดระบบภายในร่างกาย
- รักษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศอินเดีย มักดื่มน้ำข้าวบาร์เลย์เพื่อรักษาเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ เช่น รักษานิ่วในไต หรือซีสต์ (เป็นวิธีการรักษาในรูปแบบธรรมชาติ)
- ปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร
ในตำราอายุรเวทของอินเดียนั้น น้ำข้าวบาร์เลย์ถือว่าเป็นยาบำรุงทางเดินอาหารที่ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก ท้องเสีย โรคกระเพาะ และลำไส้อักเสบ เป็นต้น
- ส่งเสริมการลดน้ำหนัก
ข้าวบาร์เลย์อุดมด้วยแหล่งไฟเบอร์ชั้นยอด จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก หรือลดน้ำหนัก หลังดื่มน้ำจากข้าวบาร์เลย์จะช่วยให้เรารู้สึกอิ่มนานมากยิ่งขึ้น ลดปริมาณการรับประทานอาหารในแต่ละวัน
- ลดคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือด
น้ำข้าวบาร์เลย์อุดมด้วยไฟเบอร์และเบต้ากลูแคน ช่วยในการตรวจระดับคอเลสเตอรอล (Cholesterol) โดยการยับยั้งการดูดซึมของไขมัน LDL และไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) จากอาหาร นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ ช่วยระบายความร้อนในร่างกาย และยังช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจอีกด้วย
ข้อควรระวังในการบริโภค
ถึงแม้ว่าข้าวบาร์เลย์จะมีคุณค่าทางสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายมากเพียงใด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเหมาะสำหรับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะ ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ข้าวสาลี ผู้ป่วยโรคของเซลิแอค (Coeliac Disease) ต้องหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำข้าวบาร์เลย์ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน
[embed-health-tool-bmi]