backup og meta

น้ำเซเลอรี่ เครื่องดื่มผักสีเขียว ที่มีข้อดีหลากหลายประการ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 04/06/2020

    น้ำเซเลอรี่ เครื่องดื่มผักสีเขียว ที่มีข้อดีหลากหลายประการ

    เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพอย่าง “น้ำเซเลอรี่’ ที่ถึงแม้ว่าหน้าตาอาจจะดูไม่น่ารับประทานสักเท่าไหร่นัก แต่รสชาติของน้ำผักชนิดนี้ก็ไม่ได้แย่อย่างที่คุณคิดหรือจินตนาการไว้เสียทีเดียว อีกทั้งน้ำผักชนิดนี้ยังเป็นเครื่องดื่มยอดฮิตในกลุ่มของหนุ่มสาวสายสุขภาพอีกด้วย โดยคุณเองก็สามารถลองทำทานเองได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องเสียเวลาออกไปหาซื้อให้เสียเวลา เพียงแค่เปิดตู้เย็นมาก็ได้รับประทานแบบชื่นใจแล้ว บทความนี้ Hello คุณหมอ ก็ได้นำสูตรการทำ น้ำเซเลอรี่ แบบใหม่ที่มาพร้อมกับประโยชน์มากมายมาฝากให้ทุกคนได้ลองตามทำกันค่ะ

    สารอาหารใดบ้างที่อยู่ใน น้ำเซเลอรี่

    เซเลอรี่ (Celery) หรือ คื่นช่ายฝรั่ง เป็นผักสีเขียวอีกชนิดที่ผู้รักสุขภาพส่วนใหญ่เริ่มหันมาหาซื้อ เพื่อนำไปคั้นเป็นน้ำดื่มกันจำนวนมาก เพราะน้ำเซเลอรี่สามารถช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ รวมทั้งยังเป็นตัวช่วยชั้นดีในการลดน้ำหนัก เมื่อคุณรับประทานควบคู่กับการออกกำลังกาย เนื่องจากเซเลอรี่นี้อุดมไปด้วยสารอาหารที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น

    เมื่อคุณดื่มในปริมาณเพียง 1 แก้วต่อวัน ก็ทำให้คุณได้รับสารอาหารเหล่านี้ไปบำรุงร่างกายอย่างครบถ้วน โดยไม่ต้องทานอาหารเสริมอื่นให้ยุ่งยาก แต่ถึงอย่างไรควรศึกษา คื่นช่ายฝรั่ง นี้ให้ดีเสียก่อนการนำมาคั้นดื่ม หรือเข้าขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะอาจมีสารบางอย่างที่อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวได้

    น้ำเซเลอรี่-น้ำผัก-บำรุงสุขภาพ

    ข้อดีของการทาน น้ำเซเลอรี่ เครื่องดื่มดีต่อสุขภาพ

    การดื่มน้ำผักเซเลอรี่อาจมีข้อดีหลายประการเกี่ยวกับป้องกันโรคต่าง ๆ แต่จะเป็นโรค หรืออาการใดบ้างนั้น ลองอ่านได้ในบทความข้างล่าง ดังต่อไปนี้

    • โรคไขข้อ การศึกษาในปี 2017 พบว่าสารอะพิจีนีน (Apigenin) สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคไขข้ออักเสบได้ เนื่องจากทีมวิจัยได้ทำการทดลองโดยนำสารนี้เข้าสู่ร่างกายของหนูที่มีร่างกายเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว และกระดูก และได้ผลสรุปว่าเนื้อเยื่อที่มีการอักเสบค่อย ๆ กลับสู่สภาพที่ดีขึ้นตามลำดับ เมื่อเทียบกับหนูที่ไม่ได้รับการรักษา
    • โรคมะเร็ง ลูทอีโอลิน (Luteolin) ในเซเลอรี่อาจป้องกันเซลล์มะเร็งบางชนิด ที่กำลังก่อตัวอยู่ภายในร่างกายของเรา และลดการเจริญเติบโตของเนื้องอกได้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด เพื่อให้ร่างกายของคุณต่อสู้กับยา และช่วยลดผลข้างเคียงจากปฏิกิริยาของยาเหล่านั้นได้ดีกว่าเดิม
    • ปรับปรุงสุขภาพหัวใจ และหลอดเลือด เมื่อความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคหัวใจสูงขึ้น อาจก่อให้เกิดโครงสร้างการทำงานหัวใจมีการเปลี่ยนแปลง มีความเสี่ยงที่จะส่งผลให้ผู้ป่วยนั้นมีภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน จากทดสอบในปี 2015 พบว่าสารลูทอีโอลิน ในเซเลอรี่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่เป็นตัวการปิดกั้นการทำงานของหัวใจ และอาจลดความเสี่ยงของภาวะหัวใจล้มเหลวได้

    ผลข้างเคียงที่ควรรู้ก่อนดื่ม น้ำเซเลอรี่

    บางกรณีผู้ที่ดื่มเซเลอรี่อาจมีปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรงโดยอาการที่พบได้ค่อนข้างบ่อย คือ

  • อัตราการเต้นของหัวใจเร็วจน หายใจลำบาก
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • เวียนศีรษะ เป็นลม
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • ปวดท้อง ท้องเสีย
  • เสียงแหบ
  • หัวใจหยุดเต้น
  • ดังนั้นก่อนเริ่มรับประทานควรจำกัดปริมาณที่น้อยเสียก่อนเพื่อเช็กตนเองว่ามีอาการคล้ายดั่งที่กล่าวมาข้างต้นหรือไม่ อีกทั้งยังช่วยปรับอวัยวะภายในให้สมดุล ก่อนเริ่มเพิ่มปริมาณจนถึงอัตราที่เหมาะสมต่อวัน

    ขั้นตอนการทำ น้ำผักเซเลอรี่ ด้วยตัวคุณ

    สิ่งแรกที่คุณควรทำนั่นก็คือการล้างผักเซเลอรี่ หรือ คื่นช่ายฝรั่ง นี้ให้สะอาด ด้วยน้ำล้างผัก และตามด้วยการน้ำเปล่าอีก 1-2 รอบ เพื่อกำจัดสารเคมีตกค้าง ก่อนนำมาคั้นสกัดเป็นน้ำดื่มตามขั้นตอน ดังนี้

    1. หั่นเซเลอรี่ออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ พอประมาณ เพื่อง่ายต่อการปั่นด้วยเครื่องปั่น
    2. เทน้ำดื่มสะอาดลงไปในเครื่องปั่นให้ปริมาณพอดีกับน้ำเซเลอรี่
    3. จากนั้นปั่นให้ละเอียด และนำออกมากรองกากใยของเซเลอรี่ด้วยกระชอน
    4. เทน้ำเซเลอรี่ที่ผ่านการกรองใส่แก้ว และรับประทานได้ทันที หรือสามารถเก็บในภาชนะที่ปิดสนิทใส่ไว้ในตู้เย็นเพื่อรับประทานในครั้งถัดไป

    สำหรับผู้ที่รู้สึกไม่ชอบกลิ่นหรือรสชาติดั้งเดิม สามารถนำมะนาวหรือน้ำผึ้งผสมเพิ่มเติมเล็กน้อย ให้น้ำเซเลอรี่มีรสชาติที่หวานหรือเปรี้ยวขึ้นตามความชอบของคุณได้ แต่ควรปรุงในสัดส่วนที่พอดี ไม่มากจนเกินไปเพราะอาจทำให้เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดจนนำไปสู่สุขภาพร่างกายของคุณแย่ลงกว่าเดิม

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 04/06/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา