backup og meta

รู้จักกับ ผักสีแดง แหล่งรวมสารอาหารดีเยี่ยม ให้แก่ร่างกายคุณ

รู้จักกับ ผักสีแดง แหล่งรวมสารอาหารดีเยี่ยม ให้แก่ร่างกายคุณ

ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ หรือแม้แต่รูปร่างหน้าตาของอาหาร ย่อมมีสีสันแตกต่างกัน แต่ยังคงอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์นานัปการต่อสุขภาพที่มีความคล้ายคลึงกัน วันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาทุกคนไปรู้จักกับสรรพคุณอาหารจำพวก ผักสีแดง ก่อนดีกว่า ว่าจะมีผักชนิดใดบ้างที่เราคุ้นเคย และผักเหล่านั้นจะคุณประโยชน์ในการเสริมสร้างร่างกายของเราได้มากมายแค่ไหน ซึ่งสำหรับคนไม่ชอบผักอาจจะเปิดใจหันมารับประทานผักกันก็เป็นได้

ประโยชน์ของ ผักสีแดง แต่ละชนิดที่คู่ควรต่อสุขภาพ

สารอาหารในผักสีแดงนี้ ประกอบด้วยแอนโทไซยานิน (Anthocyanins) แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ไลโคปีน (Lycopene) เสียส่วนใหญ่ และยังมีสารอื่น ๆ อีกของผักแต่ละชนิดที่ปะปน พร้อมให้ประโยชน์แก่ร่างกายคุณทุกเวลา เมื่อคุณเริ่มรับประทาน

  1. มะเขือเทศ

เป็นผักที่มีลักษณะกลม หรือวงรีสีแดง และมีรสชาติที่อมเปรี้ยวอมหวาน สามารถนำมาปรุงอาหาร ทานเล่น หรือแม้แต่นำมาพอกผิวพรรณก็ย่อมได้ เพราะภายในมะเขือเทศมีวิตามินซี โพแทสเซียม ที่ช่วยบำรุงผิว ป้องกันผิวหนังจากแสงแดด ที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้

  1. พริกหยวกแดง

ถึงจะขึ้นต้นด้วย “พริก” แต่รสชาติกลับไม่เผ็ดอย่างที่คิด แถมมีความเผ็ดที่แตกต่างจากพริกพันธุ์อื่น ๆ เช่น พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า อย่างมาก เพราะพริกหยวกมีรสชาติหวาน กรอบ ตรงข้ามกันอย่างเห็นได้ชัด และเต็มไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี ที่มีประสิทธิภาพการทำงานในเรื่องของการสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อจากสิ่งที่เรามองไม่เห็น โดยส่วนใหญ่นิยมนำมาประกอบอาหาร และรับประทานแบบสดได้เช่นกัน แต่ต้องผ่านการล้างอย่างสะอาดเท่านั้น

  1. ผักกาดหอมใบแดง

ใครที่รับประทานสลัด หรือเป็นสายสุขภาพมักจะคุ้นเคยกันอย่างดี เพราะคงจะเห็นผักกาดหอมชนิดนี้อยู่ในเมนูด้วย ตามสถาบันการศึกษาโภชนาการและอาหาร ของสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ผักกาดหอมใบแดงมีวิตามินเอ วิตามินเค ที่ช่วยในการชะลอริ้วรอย คงความอ่อนเยาว์ และอาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ถือว่าเป็นผักอีกชนิดที่ได้รับความนิยมในคนหมู่มากเลยทีเดียว

  1. หัวหอมแดง

แม้ว่าหอมแดงจะมีสารที่ทำให้คุณต้องแสบตา น้ำตาไหลทุกครั้งเมื่อเข้าครัว แต่ยังคงมีประโยชน์ตามสถาบันโภชนาการที่ระบุไว้ว่า ไฟโตเคมิคอล (Phytochemical) อัลลิลซัลไฟด์ (Allyl sulfides) ที่อยู่ในหอมแดง หรือกระเทียม อาจไปควบคุมระดับคอเลสเตอรอล เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และปกป้องคุณให้ไกลห่างจากโรคมะเร็ง โรคหัวใจอีกด้วย

  1. พริก

มักพบเห็นกันบ่อย ๆ ในอาหารแทบทุกเมนู เป็นพืชผักสวนครัวที่นิยมนำมาปรุงเพื่อเพิ่มรสชาติให้จัดจ้าน และเพิ่มสีสันให้ดูน่ารับประทานยิ่งขึ้น ทั้งนี้ สารแคปไซซิน (Capsaicin) ในพริกอาจทำให้คุณรู้สึกแสบร้อนช่องปากเมื่อคุณรับประทานอย่างไม่เหมาะสม แต่ถึงอย่างไรก็มีข้อดีในเรื่องของสุขภาพอยู่เช่นกัน เพราะมันสามารถบรรเทาอาการอักเสบของผิวหนัง กระดูก และอาจช่วยต้านมะเร็งได้ ตามการวิจัยยังคงจำเป็นต้องมีการหาข้อมูลเพิ่มเติมถึงสารแคปไซซินในพริกกับโรคมะเร็งให้แน่ชัดต่อไป

ผู้ช่วยศาสตร์ตราจารย์ด้านโภชนาการ ที่ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยเท็กซัส ในรัฐทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง ดัลลัส กล่าวไว้ว่า การทานผัก หรือผลไม้สีแดง ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายดีขึ้น บรรเทาอาการของผู้ป่วยโรคหัวใจ และมะเร็งต่อมลูกหมาก รวมทั้งยังลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดในสมอง และจอประสาทตาเสื่อมอีกด้วย โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุที่อยู่ในช่วง 60 ปี ขึ้นไป

ดังนั้นการรับประทานผักในปริมาณที่เหมาะสมแก่อาหารของคุณในแต่ละมื้อ ให้ประโยชน์แก่ร่างกายของคุณได้อย่างแน่นอน แต่ก่อนการรับประทานควรคัดเลือกผักที่ปลอดสารเคมี หรือนำมาล้างให้สะอาดเสียก่อน เพื่อไม่ให้สารตกค้างเข้าสู่ร่างกายจนเกิดการเจ็บป่วยได้เพิ่มเติม

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

11 Red Vegetables with Health Benefits https://www.healthline.com/health/food-nutrition/red-vegetables Accessed March 16, 2020

Benefits of eating red vegetables https://www.vegetables.co.nz/health/eat-your-colours/benefits-of-eating-red-vegetables/  Accessed March 16, 2020

Red Foods: The New Health Powerhouses? https://www.webmd.com/food-recipes/features/red-foods-the-new-health-powerhouses#1 Accessed March 16, 2020

Benefits of tomatoes https://www.healthline.com/nutrition/foods/tomatoes#benefits Accessed March 16, 2020

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

กินผัก แบบไหนดีต่อสุขภาพมากกว่ากัน?

กินผักตามฤดูกาล หลักในการกินง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณมีสุขภาพดี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา