backup og meta

อยากความจำดี ไม่ควรพลาด สารอาหารเสริมความจำ เหล่านี้

อยากความจำดี ไม่ควรพลาด สารอาหารเสริมความจำ เหล่านี้

ใครที่อยากเป็นคนความจำดี ไม่ควรพลาดบทความดีๆ จาก Hello คุณหมอในวันนี้ เพราะเรามีสาระน่ารู้เกี่ยวกับ สารอาหารเสริมความจำ มาฝาก แต่จะมีวิตามินและสารอาหารใดบ้างที่มีสรรพคุณช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาทและสมอง ช่วยให้ความจำที่ดี ไปติดตามกันได้ในบทความของ Hello คุณหมอ นี้กันเลย

สารอาหารเสริมความจำ มีอะไรบ้าง

วิตามินอี

วิตามินอี จัดว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง มีหน้าที่สำคัญในการต่อต้านอนุมูลอิสระที่เข้ามาทำร้ายร่างกาย และป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ต่างๆ ในร่างกายด้วย นอกจากนี้แล้วการที่ร่่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระ อย่างเช่นวิตามินอี ก็ถือว่ามีส่วนช่วยในการปกป้องเซลล์สมองไม่ให้ถูกทำลาย จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะความจำเสื่อม และยังลดความเสี่ยงที่จะเกิด โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) ด้วย

วิตามินอีที่มีประโยชน์นี้สามารถได้รับจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จำพวก ถั่ว ธัญพืช ผัก-ผลไม้ที่มีสีเข้ม เช่น อะโวคาโด บลูเบอร์รี่ แบล็คเบอร์รี่ และผักใบเขียวทั่วไป อย่างไรก็ตาม วิตามินอีไม่สามารถรักษาอาการอัลไซเมอร์ให้หายขาดได้

วิตามินบี 12 

วิตามินบี 12 เป็นวิตามินสำคัญที่มีส่วนช่วยในในเรื่องของพัฒนาการทางสมองและช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย มีงานวิจัยพบว่า หากร่างกายมีระดับของวิตามินบี 12 ในปริมาณที่เพียงพอจะช่วยให้ความจำดี กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและสมองให้มีประสิทธิภาพ และยังมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์อีกเช่นกัน วิตามินบี 12 ก็จะได้จากการรับประทานอาหารเช่นกัน โดยเฉพาะอาหารจำพวก ปลา สัตว์ปีก และอาหารมังสวิรัติต่างๆ

กรดไขมันโอเมก้า 3

หากอยากมีความจำที่ดี หนึ่งในสารอาหารที่ไม่ควรมองข้ามอีกอย่างเลยก็คือ กรดไขมันโอเมก้า 3 (Omega-3) ที่สามารถพบได้จากอาหารที่มีประโยชน์ต่างๆ โดยเฉพาะอาหารจำพวก ปลา ถั่ว ธัญพืช หรือน้ำมันสกัดจากพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันอะโวคาโด น้ำมันข้าวโพด เป็นต้น จากผลการวิจัยยังพบอีกว่าสารอาหารอย่างกรดไขมันโอเมก้า 3 มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคอัลไซเมอร์อีกด้วย

อะเซติล แอล-คาร์นิทีน (Acetyl L- Carnitine)

อะเซติล แอล-คาร์นิทีน เป็นสารที่ร่างกายสามารถผลิตขึ้นเองได้ โดยจะผลิตขึ้นที่บริเวณตับ และไต และยังสามารถได้รับจากการรับประทานอาหารด้วย ซึ่งอะเซติล แอล-คาร์นิทีน ทำหน้าที่สำคัญในการเผาผลาญไขมันแล้วนำมาเก็บไว้เป็นพลังงานให้ร่างกายต่อไป นอกจากนี้ยังเป็นสารที่ดีต่อผู้ที่มีปัญหาความจำ และมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์

คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับสารอาหารเสริมความจำ

นอกจากวิตามินและสารอาหารซึ่งสามารถพบได้จากอาหารการกินในชีวิตประจำวันดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว ก็ยังมีวิตามินที่ได้จากการสกัดจากพืชอีกมากมาย ซึ่งมักจะอยู่ในรูปแบบของอาหารเสริมและพบว่ามีส่วนช่วยในเรื่องของความจำด้วย เช่น

  • ฮอร์โมนดีเฮชอีเอ (DHEA หรือ Dehydroepiandosterone)
  • ฮิวเปอร์ซีน เอ (Huperzine A)
  • สารสกัดจากโสม (Ginseng)
  • สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Gingko biloba)

แม้ว่าสารอาหารเหล่านี้มักจะขึ้นชื่อในเรื่องของการช่วยเสริมความจำ อย่างไรก็ตาม ร่างกายอาจไม่จำเป็นที่จะต้องรับประทานอาหารเสริมเพื่อประโยชน์ในการเสริมความจำ เพราะการได้รับประทานที่มีประโยชน์ที่ให้สารอาหารสำคัญอย่างสารอาหารและวิตามินต่างๆ ที่มีสรรพคุณช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง ช่วยเสริมความจำ ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว

ยิ่งไปกว่านั้น การออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรมที่มีส่วนในการกระตุ้นการทำงานของสมอง ไม่ว่าจะเป็น การอ่านหนังสือ การร้องเพลง การเล่นเกมลับสมอง เช่น ปริศนาอักษรไขว้ เกมต่อคำ เกมต่อภาพ เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้ก็ถือว่ามีส่วนช่วยให้มีความจำดี ช่วยให้สมองดี ได้เช่นเดียวกัน

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Brain Vitamins: Can Vitamins Boost Memory?. https://www.healthline.com/health/dementia/vitamins-memory-loss. Accessed on June 22, 2020.

Fortifying Your Memory With Supplements. https://www.webmd.com/diet/features/fortifying-your-memory-with-supplements#1. Accessed on June 22, 2020.

8 Supplements and Vitamins for Memory—What Works and What Doesn’t. https://www.thehealthy.com/nutrition/vitamins/vitamins-for-memory/. Accessed on June 22, 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/07/2020

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

พัฒนาสมอง เพิ่มพูนความจำ ป้องกันสมองเสื่อม ได้ง่ายๆ ด้วยการ บริหารสมอง

อยาก รักษาความจำ โปรดหยุดพฤติกรรม ! การเลื่อนนาฬิกาปลุก


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 01/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา