backup og meta

ร็อคเก็ต ผักสลัดใบเขียว ที่ทานคู่กับเมนูอะไรก็ได้ประโยชน์

ร็อคเก็ต ผักสลัดใบเขียว ที่ทานคู่กับเมนูอะไรก็ได้ประโยชน์

หากพูดถึงผักสลัดอย่าง “ร็อคเก็ต’ อาจจะไม่เป็นที่คุ้นหูคุ้นตาสำหรับใครหลายๆ คน แต่สำหรับผู้รักสุขภาพแล้วคงจะเป็นผักที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะเป็นผักที่ให้คุณประโยชน์นานัปการทางด้านสุขภาพ และสามารถนำมาทานคู่กับอาหารหลากหลายเมนูได้อย่างไม่น่าเชื่อ บทความของ Hello คุณหมอ วันนี้จึงขอพาทุกคนมารู้จักกับ ร็อคเก็ตหรืออารูกูล่า ให้มากขึ้น เพื่อที่ทุกคนจะได้หันมาลองทาน และเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงไปพร้อม ๆ กันค่ะ

ทำความรู้จักกับ ร็อคเก็ต กันเถอะ

ร็อคเก็ต (Rocket) หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า อารูกูล่า (Arugula) ที่คนไทยมักเรียกเป็น อลูกูล่า เป็นผักที่ถูกจัดอยู่ในตระกูลเดียวกันกับกะหล่ำ คะน้า ซึ่งมีลักษณะสีเขียว และใบเรื่อยซี่ใหญ่ค่อนข้างชัดเจน โดยมีถิ่นกำเนิดจากแถบเมดิเตอร์เรเนียน

ผักร็อคเก็ตเป็นที่นิยมในการนำมารับประทานคู่กับสลัด หรือใช้เพื่อตกแต่งบนเมนูอาหารต่าง ๆ เช่น พิซซ่า สเต็ก พาสต้า เป็นต้น แถมรสชาติของผักชนิดนี้ยังมีความพิเศษเฉพาะตัวตรงที่รสชาติมีความเผ็ดออกมาเล็กน้อย ทำให้ทานคู่กับเมนูที่มีความเลี่ยนได้อย่างลงตัวยิ่งขึ้น

ประโยชน์ของร็อคเก็ต มีอะไรบ้าง

สารอาหารในร็อคเก็ต หรือ อารูกูล่า เต็มไปด้วย แคลเซียม ธาตุเหล็ก โฟเลต และวิตามินต่าง ๆ อีกมากมาย จากธรรมชาติ ที่เข้ามาช่วยเสริมสร้างสุขภาพของเราให้ดีขึ้นได้ ดังนี้

  • ยับยั้งการเกิดการเกิดเซลล์มะเร็ง

ผักในตระกูลกะหล่ำเป็นแหล่งรวมสารประกอบของกำมะถันที่มีชื่อว่า กลูโคซิโนเลท (Glucosinolates) ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมาก นักวิจัยท่านหนึ่งยังพบอีกว่าร็อคเก็ตหรือ อารูกูล่า มีสารซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) ที่อาจเข้าไปยับยั้งเอนไซม์ Histone deacetylase (HDAC) ในการพัฒนา และเจริญเติบโตเป็นเซลล์มะเร็งในร่างกายของคุณได้อีกด้วย

  • ป้องกันโรคกระดูกพรุน

สำนักงานอาหารเสริม (National Institutes of Health ; NIH) ระบุไว้ว่าวิตามินเค มีส่วนช่วยปกป้องโครงสร้างของกระดูก และลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกแตกหักได้ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม อย่างน้อย 21.8 ไมโครกรัม หรือเพียง 1 ถ้วยต่อวัน เพื่อให้ร่างกายเกิดการดูดซับวิตามินนี้ไปบำรุงกระดูกได้ดี

  • ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2

จากการทบทวนการศึกษาในปี 2559 รายงานว่าการทานผักใบเขียว สามารถกระตุ้นการดูดซึมของกลูโคสภายในร่างกายเรา อีกทั้งยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ลดลง และต้านทานต่อสารอินซูลิน ดังนั้นจึงทำให้เกิดเป็นผลดีในการลดความเสี่ยงที่อาจนำไปสู่การพัฒนาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้

  • ปรับปรุงสุขภาพหัวใจ

ในวารสารของ American Heart Association ที่ถูกตีพิมพ์เมื่อปี 2018 ระบุว่า การบริโภคผักตระกูลกะหล่ำ สามารถเข้าไปช่วยกำจัดคราบจุลินทรีย์ ที่จับตัวเป็นก้อนแข็งสะสมในหลอดเลือดแดงได้ เพราะถ้าหากปล่อยสิ่งเหล่านี้ให้อยู่ในร่างกายของเราเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้คุณมีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจ และทำให้สุขภาพหัวใจของคุณนั้นมีความอ่อนแอลง

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อทาน ร็อคเก็ต

ถึงจะเป็นผักใบเขียวที่ให้ประโยชน์มากมาย และถือว่าเป็นวัตถุดิบที่ดีในการนำมาบริโภค แต่อาหารทุกอย่างย่อมมีความเสี่ยงเสมอ โดยเฉพาะกับผู้กำลังรับประทานยาสลายลิ่มเลือด เช่น ยาในกลุ่มวาร์ฟาริน (Warfarin) เนื่องจากวิตามินเคในร็อคเก็ตหรือ อารูกูล่า อาจไม่ถูกกับยาชนิดนี้ จึงทำให้เกิดการแข็งตัวในหลอดเลือดเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ หากคุณเก็บผักไว้ในภาชนะที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้แบคทีเรียเกิดการสะสมจนแปรเปลี่ยนสภาพเป็นสารไนเตรท-ไนไตรท์ (Nitrate-Nitrite) ซึ่งอาจทำให้ไม่ปลอดภัยได้ เมื่อถูกรับเข้าไปในร่างกายจำนวนมาก

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Everything you need to know about arugula https://www.medicalnewstoday.com/articles/282769 Accessed June 17, 2020

What You Should Know About Arugula https://www.healthline.com/health/food-nutrition/arugula Accessed June 17, 2020

Health Benefits of Arugula https://www.webmd.com/food-recipes/benefits-arugula Accessed June 17, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/07/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้จักกับ ผักสีแดง แหล่งรวมสารอาหารดีเยี่ยม ให้แก่ร่างกายคุณ

กินผักตามฤดูกาล หลักในการกินง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณมีสุขภาพดี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 01/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา