backup og meta

ไขข้อข้องใจ อาหารทอด ไม่ดีต่อสุขภาพจริงหรือ

ไขข้อข้องใจ อาหารทอด ไม่ดีต่อสุขภาพจริงหรือ

อาหารทอด เป็นเมนูโปรดของใครหลายคน เช่น ไก่ทอด หมูทอด ลูกชิ้นทอด หรืออาหารชุบแป้งทอดต่างๆ แล้วยิ่งกินกับน้ำจิ้มหรือซอสต่างๆ ก็ยิ่งอร่อย แต่อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ว่าอาหารทอดมีแคลอรี่สูง และอาจมีไขมันทรานส์ด้วย ดังนั้นการกินมากจนเกินไปอาจส่งผลต่อสุขภาพ ดังนี้

อาหารทอด ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

อาหารทอดมีแคลอรี่สูง

หากเปรียบเทียบกับการปรุงอาหารด้วยวิธีอื่น อาหารทอดถือว่ามีแคลอรี่สูง นอกจากนี้อาหารทอดบางเมนูยังเป็นการชุบแป้งทอดด้วย ทำให้ได้รับแคลอรี่เพิ่มขึ้น และโดยปกติแล้วอาหารที่ไม่ได้ทอดจะมีแคลอรี่น้อยกว่า ตัวอย่างเช่น มันฝรั่งอบ 100 กรัมมี 93 แคลอรี่ ในขณะที่มันฝรั่งทอด 100 กรัมมี 319 แคลอรี่

ไขมันทรานส์

อาหารทอดมักอาจมีไขมันทรานส์ และทำด้วยน้ำมันพืชหรือน้ำมันจากเมล็ดพันธุ์ ซึ่งเมื่อเจอความร้อนน้ำมันเหล่านี้สามารถกลายเป็นไขมันทรานส์ ที่สามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา ไขมันทรานส์เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลายโรค ได้แก่ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน

เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

งานวิจัยหลายงานวิจัยพบว่า การกินอาหารทอดสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการพัฒนาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่พบว่า ผู้ที่กินฟาสต์ฟู้ดมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ มีโอกาสพัฒนาภาวะดื้ออินซูลินมากกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่กินอาหารฟาสต์ฟู้ดน้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบความเกี่ยวข้องอย่างมากระหว่าง การกินอาหารทอดบ่อยกับความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2

เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน

งานวิจัยชี้ว่าไขมันทรานส์ในอาหารทอด อาจมีบทบาทสำคัญที่ทำให้น้ำหนักขึ้น เนื่องจากไขมันทรานส์สามารถส่งผลต่อฮอร์โมนที่ควบคุมความอยากอาหารและการสะสมไขมัน

โดยงานวิจัยที่ศึกษาอาหารของผู้หญิงจำนวน 41,518 คนในช่วงเวลา 8 ปี ผลการศึกษาพบว่า การได้รับไขมันทรานส์เพิ่มขึ้น 1% ส่งผลให้น้ำหนักขึ้น 1.2 ปอนด์ (0.54 กิโลกรัม) ในผู้หญิงที่มีน้ำหนักปกติ ส่วนผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน การบริโภคไขมันทรานส์เพิ่มขึ้น 1% จะส่งผลให้น้ำหนักขึ้น 2.3 ปอนด์ (1.04 กิโลกรัม) ในช่วงเวลาที่ได้ทำการศึกษา นอกจากนี้ยังพบว่า การบริโภคไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดียว และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ไม่เชื่อมโยงกับการมีน้ำหนักเพิ่ม

อะคริลาไมด์ในอาหารทอด

สิ่งที่ต้องกังวลเวลากินอาหารทอดคือ อะคริลาไมด์ (Acrylamide) ซึ่งเป็นสารเคมีที่เกิดขึ้นในอาหารที่ปรุงด้วยอุณหภูมิสูง เช่น อาหารทอดและอบ โดยจากงานวิจัยที่ทดลองในสัตว์พบว่า อะคริลาไมด์อาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง

โดยเมื่อปรุงอาหารด้วยอุณหภูมิที่สูงมาก กรดอะมิโนแอสพาราจีนในอาหารจะมีปฏิกิริยากับน้ำตาล เพื่อผลิตอะคริลาไมด์ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นในอาหารทอดหลายประเภท และพบบ่อยในมันฝรั่ง ซึ่งเป็นอาหารที่มีน้ำตาลสูง อย่างน้ำตาลฟรักโตสและกลูโคส

เพิ่มเติมไปกว่านั้น ยิ่งอาหารมีสีเข้มมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมรอะคริลาไมด์มากขึ้นเท่านั้น เช่น มันฝรั่งทอดกรอบที่มีสีน้ำตาลเข้ม หรือไก่ทอดจนเป็นสีเข้ม อาหารเหล่านี้จะมีอะคริลาไมด์มาก ดังนั้นถ้าอยากมีสุขภาพดี จึงควรกินอาหารทอดในปริมาณที่พอดี แต่ถ้าครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็ง ควรปรึกษาคุณหมอว่าสามารถกินอาหารทอดได้ในปริมาณเท่าไหร่

วิธีกินอาหารทอดอย่างมีสุขภาพดี

ชนิดของน้ำมันที่ใช้ทำอาหารทอด ถือว่ามีบทบาทสำคัญต่อความเสี่ยงสุขภาพ โดยอาจใช้น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก และน้ำมันอโวคาโดในการปรุงอาหาร เนื่องจากน้ำมันเหล่านี้ประกอบด้วยไขมันอิ่มตัว และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ดังนี้

  • น้ำมันมะพร้าว มากกว่า 90% ของกรดไขมันในน้ำมันมะพร้าวคือ ไขมันอิ่มตัว ซึ่งมีงานวิจัยที่ชี้ว่า แม้ว่าจะใช้น้ำมันมะพร้าวในการทอด อย่างต่อเนื่องนาน 8 ชั่วโมง คุณภาพของน้ำมันก็ไม่ด้อยลง
  • น้ำมันมะกอก ส่วนใหญ่ประกอบด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ทำให้คุณภาพของน้ำมันคงที่แม้ว่าจะปรุงอาหารด้วยอุณหภูมิที่สูง
  • น้ำมันอโวคาโด คล้ายกับน้ำมันมะกอก ที่สามารถทนต่ออุณหภูมิสูงได้ จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการทอด

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How Bad for You Are Fried Foods?. https://www.webmd.com/diet/news/20170622/how-bad-for-you-are-fried-foods.  Accessed on April  12 2019.

Why Are Fried Foods Bad For You?. https://www.healthline.com/nutrition/why-fried-foods-are-bad#section1. Accessed on April  12 2019.

Eating fried foods tied to increased risk of diabetes, heart disease. https://www.hsph.harvard.edu/news/hsph-in-the-news/eating-fried-foods-tied-to-increased-risk-of-diabetes-and-heart-disease/. Accessed on April  12 2019.

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/02/2021

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Ploylada Prommate


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขมันทรานส์ อันตรายต่อสุขภาพจริงเหรอ

ไขมันส่วนเกิน ไม่ใช่แค่ทำให้อ้วน แต่ยังเป็นสาเหตุของมะเร็งร้ายอีกด้วย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา