อาหารบางชนิดอาจมีปริมาณไขมันและน้ำตาลสูง ส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ แต่ในช่วงลดน้ำหนักสามารถรับประทานอาหารที่ชอบได้ โดยให้กำหนดวันให้เหมาะสม จะได้ไม่เครียดและอยากอาหารเหล่านั้นมากเกินไป
3. ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายช่วยเผาผลาญแคลอรี่ส่วนเกินในร่างกาย ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น และช่วยให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรงขึ้น ควรออกกำลังกายในรูปแบบที่ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมัน (Cardio) เช่น การเต้นแอโรบิก การเดินเร็ว วันละประมาณ 50 นาที อย่างน้อย 5 วัน/สัปดาห์ และออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรง (Strength) ด้วยการสร้างกล้ามเนื้อ เช่น การวิดพื้น การยกน้ำหนัก เพราะยิ่งมีกล้ามเนื้อมากก็จะยิ่งช่วยเร่งการเผาผลาญมากขึ้นตามไปด้วย การออกกำลังกายสองรูปแบบนี้ควบคู่กันไปจะช่วยให้น้ำหนักลดลงได้อย่างดีต่อสุขภาพ
4. ดื่มน้ำให้เพียงพอ
การลดน้ำหนักและการออกกำลังกายอาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำปริมาณมากในเวลาไม่นาน การดื่มน้ำให้เพียงพออาจช่วยไม่ให้ร่างกายขาดน้ำและทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้น อาจดื่มน้ำเพิ่มได้ด้วยวิธีการจิบน้ำเป็นระยะ เมื่อรู้สึกกระหายน้ำหรือเมื่อร่างกายสูญเสียน้ำจากการออกกำลังกาย โดยผู้ชายควรดื่มน้ำวันละประมาณ 3.7 ลิตร ส่วนผู้หญิงควรดื่มน้ำวันละประมาณ 2.7 ลิตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวและกิจกรรมระหว่างวันด้วย
5. ลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มักมีแคลอรี่สูง หากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปเป็นเวลานาน อาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ แม้จะควบคุมอาหารและออกกำลังกายแล้วก็ตาม
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย