โรคอ้วน

โรคอ้วน หรือการสะสมไขมันส่วนเกินก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพโดยรวมของคุณ ซึ่งปัจจุบันความอ้วนอาจนำไปสู้ภาวะทางสุขภาพระยะยาว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และมะเร็งบางชนิดได้

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคอ้วน

หน้าอ้วน เกิดจากอะไร และมีวิธีป้องกันอย่างไร

หน้าอ้วน มีไขมันสะสมรอบกรอบหน้าหรือที่เรียกว่าเหนียง อาจเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพมากเกินไป ขาดการออกกำลังกาย หรือพันธุกรรมของคนในครอบครัว ซึ่งอาจทำให้บางคนขาดความมั่นใจ เพื่อช่วยลดไขมันบนใบหน้าที่ทำให้ใบหน้ากระชับและวีเชฟขึ้น ควรศึกษาวิธีลดไขมันบนใบหน้าหรือขอคำแนะนำจากคุณหมอโดยตรง [embed-health-tool-bmi] หน้าอ้วน เกิดจากอะไร หน้าอ้วน เกิดจากการสะสมของไขมันทั่วใบหน้าหรืออาจส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น คาง แก้ม ที่ทำให้ใบหน้าดูกลม มีเหนียง โดยอาจมีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ พันธุกรรมของครอบครัว หากคนในครอบครัวเป็นโรคอ้วนหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการเผาผลาญที่ส่งผลให้ใบหน้าอ้วน ก็อาจส่งผลให้บุตรหลานมีความเสี่ยงที่จะเป็นได้ด้วยเช่นกัน อาหาร การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีแคลอรี่และไขมันสูง เช่น ของทอด ขนมหวาน อาหารแปรรูป น้ำอัดลม เบียร์ ไวน์ ก็อาจส่งผลให้เกิดการสะสมไขมันได้ทั้งบริเวณใบหน้ารวมถึงลำตัว ที่เสี่ยงให้ใบหน้าอ้วนกลม มีเหนียง หรือเป็นโรคอ้วน ขาดการออกกำลังกาย อาจทำให้ร่างกายไม่ได้เผาผลาญไขมันส่วนเกิน ทำให้ไขมันสะสมอยู่บนใบหน้าและร่างกายในร่างกายมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่รับประทานอาหารไม่ดีต่อสุขภาพมาก การนอนหลับไม่เพียงพอ อาจทำให้ฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติและกระตุ้นความอยากอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรตและไขมันสูง ซึ่งอาจทำให้รับประทานอาหารมากเกินไปนำไปสู่ไขมันสะสมบนใบหน้าทำให้หน้าอ้วน ความเครียด อาจกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ที่ส่งผลให้รู้สึกอยากอาหารมากขึ้น จึงทำให้รับประทานอาหารในปริมาณมากจนมีการสะสมของไขมันบนใบหน้าและทำให้หน้าอ้วน ยาบางชนิด เช่น ยากันชัก ยารักษาเบาหวาน ยากล่อมประสาท ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) […]

สำรวจ โรคอ้วน

โรคอ้วน

โรคอ้วนลงพุง สาเหตุ อาการ และการรักษา

โรคอ้วนลงพุง คือ โรคที่ร่างกายมีไขมันสะสมบริเวณหน้าท้องและรอบเอวมากเกินเกณฑ์ ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกาย หากไม่ทำการรักษาอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม โรคเบาหวานชนิดที่ 2 การติดเชื้อ โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ โรคอ้วนลงพุง คืออะไร โรคอ้วนลงพุง คือ โรคที่ร่างกายมีการสะสมของไขมันบริเวณหน้าท้องในปริมาณมาก ส่งผลให้มีรอบเอวและค่าดัชนีมวลกายสูงเกินเกณฑ์ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานชนิดที่ 2  ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง  อาการ อาการของโรคอ้วนลงพุง อาการของโรคอ้วนลงพุง มีดังนี้ มีการสะสมของไขมันบริเวณหน้าท้องทำให้มีหุ่นคล้ายลูกแพร์หรือแอปเปิ้ล ค่าดัชนีมวลกาย 25 ขึ้นไป รอบเอวเกิน 35 นิ้ว ขึ้นไปในผู้หญิง และ 40 นิ้ว ขึ้นไปในผู้ชาย เหนื่อยล้าง่าย โดยเฉพาะเมื่อเคลื่อนไหว หรือออกกำลังกาย รู้สึกปวดเข่าและ ข้อต่อ เพราะรองรับน้ำหนักตัวมาก ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง รู้สึกกระหายน้ำบ่อย และปัสสาวะบ่อยซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอ้วนลงพุงที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอ้วนลงพุงที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ สาเหตุ สาเหตุของโรคอ้วนลงพุง สาเหตุของโรคอ้วนลงพุงเกิดจากความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกาย ทำให้ร่างกายมีการสะสมของแคลอรี่ส่วนเกินและเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในจุดต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องและรอบเอว นอกจากนี้ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง […]


โรคอ้วน

โฮลวีท ลดความอ้วน ได้หรือไม่ เพราะอะไร

โฮลวีท (Whole Wheat) หมายถึงข้าวสาลีเต็มเมล็ดที่ยังไม่ผ่านการขัดสี ซึ่งมักถูกนำไปแปรรูปเป็นแป้งหรือขนมปัง หากถามว่าการบริโภค โฮลวีท ลดความอ้วน ได้หรือไม่? คำตอบคือการบริโภคโฮลวีทในปริมาณที่เหมาะสม อาจช่วยลดความอ้วนได้เพราะโฮลวีทมีสารอาหาร แร่ธาตุ และวิตามินที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและมีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย เช่น วิตามินบี วิตามินดี แมงกานีส แมกนีเซียม และยังอุดมไปด้วยใยอาหารที่ช่วยให้อิ่มท้องนาน ลดความอยากอาหาร และลดการบริโภคพลังงานส่วนเกิน [embed-health-tool-bmi] โฮลวีท คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง โฮลวีท หมายถึงข้าวสาลีเต็มเมล็ดหรือเมล็ดข้าวสาลีที่ยังไม่ผ่านการขัดสี หากปรากฏบนบรรจุภัณฑ์ของแป้งหรือขนมปัง จะหมายความว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ทำจากส่วนประกอบทั้งหมดของเมล็ดข้าวสาลี ซึ่งได้แก่ จมูกเมล็ด (Germ) เป็นส่วนของเมล็ดที่จะเจริญเติบโตเป็นต้นพืช อุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ มากมายที่ช่วยกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญของร่างกายให้ทำงานดีขึ้น เช่น วิตามินบี แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส รวมทั้งวิตามินอี ไขมันดี สารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ ที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงและลดการอักเสบภายในร่างกาย รำ (Bran) หรือเยื่อหุ้มเนื้อเมล็ด เป็นส่วนที่จะถูกนำออกจากเมล็ดพืชต่าง ๆ เมื่อเข้าสู่กระบวนการขัดสี มีวิตามินบีและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย รวมทั้งอุดมไปด้วยใยอาหารที่ช่วยให้อิ่มท้องนานและช่วยลดความอยากอาหาร เอนโดสเปิร์ม […]


โรคอ้วน

Triglyceride คืออะไร ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร

Triglyceride (ไตรกลีเซอไรด์) คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่อยู่ในกระแสเลือด ส่วนใหญ่มาจากอาหารที่รับประทานในชีวิตประจำวัน ซึ่งหากสะสมในร่างกายมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ดังนั้น จึงควรควบคุมระดับไตรกลีเซอไรด์ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และออกกำลังกายเป็นประจำ [embed-health-tool-bmi] Triglyceride คืออะไร ไตรกลีเซอไรด์ คือ ไขมันชนิดหนึ่งในกระแสเลือดที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นในตับ รวมถึงได้จากอาหารที่รับประทาน โดยเฉพาะอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และน้ำตาลสูง เช่น เนย ข้าวขาว คุกกี้ ไอศกรีม พุดดิ้ง น้ำอัดลม น้ำผลไม้ ร่างกายจะเก็บไตรกลีเซอไรด์สะสมไว้ในเซลล์ไขมันตามส่วนต่าง ๆ  เช่น สะโพก แขน ขา หน้าท้อง เพื่อใช้เป็นพลังงาน แต่ไตรกลีเซอไรด์จะถูกนำมาใช้ก็ต่อเมื่อร่างกายเกิดการเผาผลาญเท่านั้น ถ้าหากไม่มีการเผาผลาญก็อาจก่อให้เกิดการสะสมของไตรกลีเซอไรด์ในปริมาณมาก จนส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มและอ้วนขึ้น เหตุผลที่ควรลด Triglyceride เนื่องจาก ไตรกลีเซอไรด์จัดอยู่ในกลุ่มไขมันไม่ดี หากร่างกายมีปริมาณของไตรกลีเซอไรด์สูงเกินกว่า 150-500 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น ไขมันอุดตันในหลอดเลือด น้ำตาลในเลือดสูง […]


โรคอ้วน

น้ำหนักมาตรฐาน ผู้หญิง อยู่ที่เท่าไหร่ มีวิธีป้องกันน้ำหนักเกินอย่างไรบ้าง

น้ำหนักมาตรฐาน ผู้หญิง อาจใช้ดัชนีมวลกายเป็นตัวชี้วัด ซึ่งเป็นการคำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูง เพื่อให้ทราบว่าน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ และสามารถลดหรือเพิ่มน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคขาดสารอาหาร โรคโลหิตจาง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง [embed-health-tool-bmi] น้ำหนักมาตรฐาน ผู้หญิง อยู่ที่เท่าไหร่ น้ำหนักมาตรฐานสำหรับผู้หญิง อาจใช้ค่าดัชนีมวลกายเป็นตัวชี้วัด โดยมีสูตรการคำนวณคือ น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง ยกตัวอย่าง น้ำหนัก 55 กิโลกรัม ความสูง 1.65 เมตร (165 เซนติเมตร) วิธีคำนวณ 55 ÷ (1.65)2 = 20.20 [embed-health-tool-bmi] จากนั้น นำมาอ่านค่าผลลัพธ์ตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้ น้ำหนักมาตรฐานผู้หญิง เกณฑ์น้ำหนัก ส่วนสูง ผู้หญิง จะมีค่าดัชนีมวลกายอยู่ที่ 18.5-22.90 ที่ถือเป็นเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ และควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์นี้ไปเรื่อย ๆ น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ของผู้หญิง จะมีค่าดัชนีมวลกายต่ำกว่า 18.5 ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มบุคคลที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคขาดสารอาหาร โรคโลหิตจาง โรคกระดูกพรุน […]


โรคอ้วน

กินเบียร์อ้วนไหม เบียร์ส่งผลกระทบต่อสุขภาพด้านใดบ้าง

กินเบียร์อ้วนไหม เป็นคำถามที่นักดื่มหลายคนอาจสงสัย เบียร์เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้จากกระบวนการหมักจากธัญพืช ที่คนนิยมดื่มเมื่อพบปะสังสรรค์หรือเพื่อผ่อนคลายความเครียด แต่การดื่มเบียร์มากเกินปริมาณที่เหมาะสมและต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับอักเสบ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจเสียหายที่อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว รวมถึงอาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และนำไปสู่โรคอ้วนได้ [embed-health-tool-bmr] คุณค่าทางโภชนาการของเบียร์ เบียร์ 1 กระป๋อง ให้พลังงานประมาณ 153 กิโลแคลอรี (ขึ้นอยู่กับดีกรีของเบียร์) แอลกอฮอล์ 14 กรัม คาร์โบไฮเดรต 13 กรัม และโปรตีน 2 กรัม แม้ว่าหลายคนอาจมีความกังวลว่า กินเบียร์อ้วนไหม แต่ถ้าดื่มในปริมาณที่เหมาะสมก็อาจให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด เพิ่มมวลกระดูกที่ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ผ่อนคลายความเครียด และลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ จากการศึกษาในวารสาร PLoS One ปี พ.ศ. 2563 ที่ศึกษาเกี่ยวกับผลของการดื่มเบียร์ต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 69 บทความ พบว่า การดื่มเบียร์ในระยะสั้นในปริมาณไม่เกิน 1 ดื่มมาตรฐานต่อวันสำหรับผู้หญิง และไม่เกิน 2 ดื่มมาตรฐานต่อวันสำหรับผู้ชายอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด โดยช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือด และเพิ่มระดับไขมันดี ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการศึกษในระยะยาวเพิ่มเติม เพื่อศึกษาประโยชน์ของเบียร์ต่อสุขภาพ กินเบียร์อ้วนไหม ? เบียร์ 1 […]


โรคอ้วน

โรคอ้วน สาเหตุ เกิดจากอะไร ป้องกันได้อย่างไร

โรคอ้วน สาเหตุ หลักมาจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีแป้ง ไขมัน และน้ำตาลสูง การไม่ค่อยขยับร่างกายหรือออกกำลังกาย มักนั่งหรือนอนอยู่เฉย ๆ เป็นเวลานาน ทำให้ร่างกายสะสมพลังงานหรือแคลอรี่เอาไว้ในปริมาณมากและเผาผลาญไม่ทัน จนมีไขมันสะสมและทำให้เกิดโรคอ้วน อย่างไรก็ตาม โรคอ้วนสามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนนิสัยการรับประทานอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โรคอ้วน คืออะไร โรคอ้วน (Obesity) คือ โรคที่เกิดจากการมีไขมันปริมาณมากสะสมอยู่ในร่างกาย และร่างกายไม่สามารถเผาผลาญไขมันได้ทั้งหมด ไขมันจึงไปสะสมอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคและปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งบางชนิด โรคข้อเข่าเสื่อม โรคหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) การตรวจสอบว่าเป็นโรคอ้วนหรือมีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้หรือไม่ ในเบื้องต้นอาจทำได้โดยการวัดค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดมาตรฐานความสมดุลของน้ำหนักตัวต่อส่วนสูง มีวิธีคำนวณ คือ น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง การแปลผลค่าดัชนีมวลกาย โดยทั่วไป มีดังนี้ ค่าดัชนีมวลกายต่ำกว่า 18.5 แปลว่า มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ค่าดัชนีมวลกาย 18.5-22.9 […]


โรคอ้วน

ค่า BMI คืออะไร สำคัญต่อสุขภาพอย่างไร

ค่า BMI หรือ ค่าดัชนีมวลกาย เป็นเครื่องมือชี้วัดว่าน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ใด โดยการคำนวณความสมดุลระหว่างน้ำหนักและส่วนสูงค่าดัชนีมวลกายอาจสามารถช่วยระบุความเสี่ยงในการเกิดโรคบางชนิด เช่น โรคขาดสารอาหาร โรคอ้วน ค่า BMI คืออะไร ค่า BMI คือ ตัวชี้วัดว่าร่างกายมีความสมดุลของน้ำหนักตัวต่อส่วนสูงหรือไม่ โดยการคำนวณจากส่วนสูงและน้ำหนัก ทำให้ทราบว่าน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ หรือน้ำหนักเกินเกณฑ์อยู่หรือไม่ ซึ่งอาจช่วยประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคขาดสารอาหาร อ่อนเพลียง่าย โรคอ้วน อย่างไรก็ตามการหาค่า BMI อาจไม่สามารถประเมินความสมดุลของร่างกายได้ในบางบุคคล โดยเฉพาะผู้ที่เป็นนักกีฬาที่มีมวลกล้ามเนื้อมาก เพราะอาจแสดงผลลัพธ์ว่าเป็นโรคอ้วนทั้งที่ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ความเสี่ยง และผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีมวลกล้ามเนื้อต่ำ เพราะอาจแสดงผลลัพธ์ว่าผอมหรือขาดสารอาหาร ค่า BMI สำคัญต่อสุขภาพอย่างไร ค่า BMI อาจช่วยให้ทราบว่าน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ ต่ำกว่าเกณฑ์ หรือมากเกินกว่าเกณฑ์ เพื่อจะได้ทำการควบคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนัก หรือเพิ่มน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ตามความเหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงน้ำหนักไม่สมดุลที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ดังนี้ ความเสี่ยงจากน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ร่างกายขาดสารอาหาร โรคกระดูกพรุน ข้อเข่าเสื่อม ข้ออักเสบ โรคโลหิตจาง ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ประจำเดือนมาผิดปกติ และอาจเกิดภาวะมีบุตรยาก ความเสี่ยงจากน้ำหนักเกินเกณฑ์ ระดับคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคตับ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ […]


โรคอ้วน

น้ำหนัก กับสุขภาพ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร

น้ำหนัก อาจมีความสำคัญในการช่วยประเมินสุขภาพเบื้องต้น เนื่องจากการรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพและโรคร้ายแรงบางชนิด เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสะสมของไขมันในร่างกายที่เพิ่มมากขึ้น โดยอาจมีปัจจัยมาจากการรับประทานอาหารไขมันสูง พันธุกรรม การไม่ออกกำลังกายหรือการพักผ่อนไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม การจัดการกับน้ำหนักตัวเป็นเพียงการประเมินความเหมาะสมเบื้องต้น ไม่สามารถยืนยันแนวโน้มของปัญหาสุขภาพหรือการเกิดโรคได้ [embed-health-tool-bmi] น้ำหนัก สำคัญอย่างไรต่อสุขภาพ น้ำหนัก มีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวม ซึ่งการรักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสมตามเกณฑ์หรือค่าดัชนีมวลกาย 18.5-22.90 อาจช่วยป้องกันและควบคุมโรคต่าง ๆ ได้ หากบุคคลมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 คอเลสเตอรอลสูง โรคถุงน้ำดี ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคข้อเข่าเสื่อม โรคมะเร็งบางชนิด นอกจากนี้ การรักษาน้ำหนักตัวยังอาจส่งผลดีต่อสภาพจิตใจ ความสุขทางอารมณ์ ช่วยปรับปรุงรูปร่าง และให้ความรู้สึกมั่นใจ และคล่องตัวมากขึ้นในการใช้ชีวิต น้ำหนัก ที่เพิ่มขึ้น เกิดจากอะไร น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอาจเกิดจากมวลกล้ามเนื้อ กระดูก ไขมันและน้ำในร่างกาย ซึ่งปัจจัยของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีมวลไขมันสะสมในร่างกายเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มีน้ำหนักตัวเกินหรือเป็นโรคอ้วน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เค้ก คุกกี้ อาหารแปรรูป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ส่งผลให้ร่างกายสะสมไขมันส่วนเกินไว้ในร่างกายมากขึ้น การไม่ออกกำลังกาย เนื่องจากการออกกำลังกายอาจช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันได้ […]


โรคอ้วน

BMR เครื่องมือคำนวณการเผาผลาญพลังงาน

BMR หรือ อัตราการเผาผลาญพลังงาน เป็นเครื่องมือคำนวณปริมาณการเผาผลาญและการใช้พลังงานในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม อาจเหมาะกับผู้ที่ต้องการลด เพิ่มและควบคุมน้ำหนักเพื่อรูปร่างและสุขภาพที่ดี โดยอาจทำควบคู่กับการออกกำลังกายและควบคุมการรับประทานอาหารในแต่ละวัน เพื่อช่วยเพิ่มเผาผลาญพลังงานในร่างกายให้รวดเร็วขึ้น BMR คืออะไร BMR (Basal Metabolic Rate) คือ อัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกายในขณะพัก หรืออัตราการใช้พลังงานขั้นต่ำในชีวิตประจำวัน เพื่อรักษาการทำงานขั้นพื้นฐานของร่างกายให้เป็นปกติตลอด 24 ชั่วโมง เช่น การหายใจ การไหลเวียนของเลือด การย่อยและการดูดซึมอาหาร การทำงานของเซลล์ ความสำคัญของ BMR BMR อาจมีความสำคัญต่อผู้ที่ต้องการลด เพิ่มหรือควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมตามเกณฑ์หรือตามความต้องการ เนื่องจากการคำนวณอัตราการเผาผลาญพลังงานอาจช่วยให้ทราบว่าร่างกายต้องการแคลอรี่เท่าไหร่ และควรบริโภคแคลอรี่ประมาณเท่าไหร่เพื่อให้เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อช่วยลด เพิ่มหรือควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม ปริมาณความต้องการแคลอรี่ในแต่ละคนอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยบางประการ เช่น น้ำหนัก ความสูง อายุ เพศ และระดับความเข้มข้นในการทำกิจกรรมของแต่ละคน สำหรับปริมาณแคลอรี่ที่ควรได้รับต่อวันสำหรับผู้ใหญ่เพศชายและเพศหญิง อาจมีดังนี้ ผู้หญิงวัยผู้ใหญ่ควรได้รับพลังงานประมาณ 1,600 แคลอรี่/วัน ผู้ชายวัยผู้ใหญ่ควรได้รับพลังงานประมาณ  2,000 แคลอรี่/วัน ผู้ที่ต้องใช้พลังงานมากในแต่ละวัน เช่น ออกกำลังกาย เกษตรกร งานใช้แรงงาน ควรได้รับพลังงานประมาณ  2,400 แคลอรี่/วัน วิธีคำนวณ BMR อัตราการเผาผลาญพลังงานอาจคำนวณได้ ดังนี้ ผู้ชาย […]


โรคอ้วน

วิธีลด เหนียง กระชับใบหน้าให้เรียว ทำได้อย่างไร

วิธีลด เหนียง เป็นวิธีที่อาจช่วยลดไขมันสะสมใต้ชั้นผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณใต้คาง ลดปัญหาผิวหนังใต้คางหย่อนคล้อยเนื่องจากการสะสมของไขมันที่มากเกินไป รวมถึงลดเหนียงที่เกิดขึ้นตามวัย ซึ่งวิธีลดเหนียงอาจทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และวิธีทางการแพทย์ เหนียง เกิดจากอะไร เหนียง คือ ลักษณะผิวหนังหย่อนคล้อยบริเวณใต้คาง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่อาจเกิดจากไขมันใต้ผิวหนังที่สะสมในปริมาณมากบริเวณใบหน้าและใต้คาง พบบ่อยในผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากหรือเป็นโรคอ้วน นอกจากนี้ เหนียงยังอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้ พันธุกรรม ผู้ที่มีคนในครอบครัวมีลักษณะใบหน้าสั้นหรือมีเหนียงตั้งแต่กำเนิด อาจส่งต่อทางพันธุกรรมได้ อายุ การสะสมของไขมันบริเวณผิวหนังใต้คางร่วมกับความยืดหยุ่นของผิวหนังที่ลดลงตามอายุ อาจทำให้ผิวหนังใต้คางหย่อนคล้อยและเกิดเป็นเหนียงได้ ลักษณะทางกายภาพและการเผาผลาญไขมัน แต่ละคนมีการเผาผลาญไขมันและการสะสมของไขมันในร่างกายที่แตกต่างกัน ในบางคนอาจมีรูปร่างผอมและไขมันสะสมมากที่บริเวณใบหน้าและใต้คาง ส่งผลให้คนผอมอาจมีเหนียงได้เช่นกัน พฤติกรรมท่าทางที่ทำซ้ำ ๆ เช่น การก้มหน้าเล่นมือถือเป็นเวลานาน อาจทำให้ผิวหนังบริเวณใต้คางถูกกดทับซ้ำ ๆ จนเกิดความอ่อนตัว และเมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้ผิวหนังใต้คางหย่อนคล้อย สูญเสียความยืดหยุ่นจนกลายเป็นเหนียง การรับประทานอาหาร เหนียงอาจมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการสะสมของไขมันใต้ผิวหนังที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการรับประทานอาหารที่มีไขมันในปริมาณมาก เช่น เนื้อสัตว์ติดมันและหนัง อาหารแปรรูป ของทอด จึงอาจทำให้เกิดการสะสมไขมันใต้คางมากขึ้น วิธีลด เหนียง วิธีลด เหนียง อาจมีเป้าหมายเพื่อลดการสะสมของไขมันใต้คาง ซึ่งสามารถช่วยลดเหนียงได้ในระยะยาว โดยวิธีลดเหนียงอาจทำได้ ดังนี้ การออกกำลังกาย การออกกำลังกายอาจเพิ่มการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ซึ่งช่วยลดการสะสมของไขมันทั่วทั้งร่างกาย รวมทั้งช่วยลดไขมันบริเวณใต้คาง โดยควรออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม