โรคลายม์ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่เกิดจากการถูกเห็บกัด อาการจะเกิดขึ้นตั้งแต่ 3-30 วันหลังจากถูกกัด และลักษณะอาการอาจะเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ
โรคลายม์ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่เกิดจากการถูกเห็บกัด อาการจะเกิดขึ้นตั้งแต่ 3-30 วันหลังจากถูกกัด และลักษณะอาการอาจะเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ
โรคลายม์ (Lyme Disease) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า บอร์เรลเลีย เบิร์กดอร์เฟอไร (Borrelia burgdorferi) การติดเชื้อเกิดจากการถูกเห็บกัด อาการจะเกิดขึ้นตั้งแต่ 3-30 วันหลังจากถูกกัด และลักษณะอาการอาจะเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับระยะของการติดเชื้อ
จากข้อมูลของกรมควบคุมโรคติดต่อ สหรัฐฯ โอกาสในการติดเชื้อลายม์จากการถูกเห็บกัด ขึ้นอยู่กับว่าเป็นเห็บประเภทใด คุณอยู่ที่ใดขณะถูกกัด และเห็บกัดคุณเป็นเวลานานแค่ไหน เห็บชนิด Black-legged จะต้องกัดคุณอยู่ถึง 24 ชั่วโมงในการแพร่เชื้อลายม์
โรคลายม์เป็นโรคที่พบได้บ่อย จากข้อมูลของกรมควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของสหรัฐฯ จำนวนผู้ที่ติดเชื้อโรคลายม์ 30,000 คน ถือเป็นจำนวนที่น้อยมาก และจากผลการประเมินล่าสุด กรมควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของสหรัฐอเมริการายงานว่า ชาวอเมริกันเป็นโรคลายม์สูงถึง 3 แสนคนต่อปี ควรปรึกษาเแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการของโรคลายม์ที่พบบ่อย มีดังนี้
บางคนอาจมีอาการหรือสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับโรคลายม์ ดังนี้
อาจมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอาการของโรค ควรติดต่อแพทย์
ผื่นแดงเป็นสัญญาณเตือนที่ดีเมื่อคุณถูกกัด และการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาอาจได้ผลในขั้นนี้ แต่หากเกิดอาการที่กล่าวไว้ข้างต้นควรรีบพบแพทย์ อาจมีอาการอื่นๆ ของโรคที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีคำถามเกี่ยวกับอาการของโรค ควรปรึกษาแพทย์
ในสหรัฐอเมริกา แบคทีเรียสองชนิดที่ทำให้เกิดโรคลายม์ ได้แก่ แบคทีเรียบอร์เรลีย เบอร์กดอร์เฟรี (Borrelia burgdorferi) และ บอร์เรเลีย เมยอนไน (Borrlelia mayonii) ซึ่งมีเห็บชนิด black-legged หรือ deer ticks เป็นพาหะ เห็บชนิดนี้มีสีน้ำตาลและตัวเล็กกว่าเมล็ดฝิ่นในช่วงแรก ซึ่งทำให้ไม่สามารถสังเกตเห็นตัวเห็บได้
การติดเชื้อโรคลายม์เกิดจากการถูกเห็บกัด แบคทีเรียจะเข้าสู่ผิวหนังและผ่านไปยังกระแสเลือดในที่สุด โดยส่วนใหญ่แล้ว การติดเชื้อแบคทีเรียต้องถูกเห็บกัดอยู่นานถึง 36-48 ชั่วโมง หากคุณพบตัวเห็บที่ขยายใหญ่ นั่นแปลว่าเห็บได้กัดคุณเป็นเวลานานพอที่จะแพร่เชื้อแบคทีเรียได้ การดึงตัวเห็บออกโดยเร็ว อาจป้องกันการติดเชื้อได้
ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคลายม์ มีดังนี้
ข้อมูลเหล่านี้ไม่เจตนาให้ใช้แทนคำปรึกษาทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคจากอาการและประวัติการพบตัว รวมถึงการตรวจเลือด 2 ขั้นตอน สามารถช่วยในการตรวจวินิจฉัยได้ หากทำอย่างถูกวิธีตามรายงานของกรมควบคุมและป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ความแน่นอนของผลเลือดอยู่ที่ระดับของโรค ในช่วงสองสามสัปดาห์แรกหลังจากติดเชื้อ ผลอาจเป็นลบ เนื่องจากแอนติบอดี้ต้องใช้เวลาสองถึงสามสัปดาห์ในการสร้าง ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยโรคลายม์ที่ยังไม่มีอาการตรวจทดสอบ
การรักษาโรคลายม์มักใช้ยาปฏิชีวนะ โดยทั่วไป หากรีบเข้ารับการรักษา การรักษาจะใช้เวลาสั้นและสามารถกลับสู่ภาวะปกติได้เร็ว
ยาปฏิชีวนะ
หลังการรักษา ผู้ป่วยบางรายยังคงมีอาการอยู่ เช่น ปวดกล้ามเนื้อและอ่อนเพลีย สาเหตุของอาการต่อเนื่องที่เรียกว่า อาการหลังการรักษาโรคลายม์ ยังไม่ทราบแน่ชัด และการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะหลายตัวไม่ช่วยให้การรักษาดีขึ้น ผู้เชี่ยวชาญบางท่านลงความเห็นว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคลายม์นั้นมีแนวโน้มที่สามารถสร้างภูมิต้านตนเอง ที่ก่อให้เกิดอาการเหล่านี้ แต่ยังคงมีความต้องการในการศึกษาเรื่องนี้ต่อไป
ยาบิสมาซีน (Bismacine)
องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ ออกคำเตือนเกี่ยวกับการใช้บิสมาซีน ซึ่งเป็นตัวฉาสำหรับฉีดที่แพทย์ทางเลือกสามารถเป็นผู้สั่งจ่ายเพื่อรักษาโรคลายม์ได้ ยาบิสมาซีน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โครมาซีน (chromacine) ประกอบด้วยแร่โลหะบิสมัทปริมาณสูง แม้ว่าจะสามารถรับประทานยาตัวนี้เพื่อรักษาแผลในกระเพาะ แต่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ว่า สามารถใช้ยาตัวนี้เพื่อรักษาโรคลายม์ในรูปแบบการฉีดได้ ยาบิสมาซีนสามรถทำให้เกิดภาวะแร่โลหะบิสมัทเป็นพิษ ซึ่งนำไปสู่อาการหัวใจล้มเหลวและไตวายได้
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยรับมือกับโรคลายม์ได้
หากมีคำถามเกี่ยวกับโรค ควรปรึกษาแพทย์เพื่อความเข้าใจในวิธีการรักษาที่ดีที่สุด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย
ทีม Hello คุณหมอ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย