ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด
หากมีสัญญาณหรืออาการของโรคคางทูม หรือมีอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบคุณหมอทันที
- ปวดศีรษะรุนแรง
- คอแข็ง (เจ็บตึงที่ต้นคอ)
- ชัก
- ง่วงซึม
- หมดสติ
และอย่าลืมแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ทราบด้วยว่าอาจเป็นโรคคางทูม เพราะโรคนี้สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ เจ้าหน้าที่จะได้เตรียมป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสได้อย่างเหมาะสมที่สุด
สาเหตุ
สาเหตุของ คางทูม
โรคคางทูมเกิดจากการติดเชื้อไวรัสคางทูม ซึ่งเป็นไวรัสกลุ่มพารามิคโซไวรัส (Paramyxovirus) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสกลุ่มที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อในเด็กซึ่งพบได้บ่อยที่สุด
ไวรัสนี้แพร่กระจายจากคนสู่คนผ่านทางน้ำมูก หรือน้ำลาย เมื่อคุณได้รับเชื้อไวรัสคางทูมเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจ และไม่มีภูมิคุ้มกันเชื้อนี้ เชื้อจะเดินทางไปที่ต่อมน้ำลายที่อยู่บริเวณหน้ากกหู (Parotid gland) และเริ่มเจริญเติบโตและแพร่กระจาย จนทำให้ต่อมน้ำลายอักเสบ
และไม่ใช่แค่ส่งผลต่อต่อมน้ำลายได้เท่านั้น เพราะไวรัสคางทูมสามารถเข้าไปในน้ำไขสันหลัง ซึ่งทำหน้าที่หล่อเลี้ยงและปกป้องสมองกับไขสันหลังของเรา ก่อนจะแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น สมอง ตับอ่อน อัณฑะ รังไข่ และทำให้อวัยวะนั้น ๆ อักเสบได้
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของโรคคางทูม
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยโรคคางทูม
หากสงสัยว่าเป็นโรคคางทูม แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอก่อนเข้ารับการรักษา คุณหมอจะได้แนะนำวิธีป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นเมื่อคุณไปถึงสถานพยาบาล
คุณหมอจะซักประวัติ ตรวจร่างกายเบื้องต้น ถามอาการ และสอบถามว่าผู้ป่วยเคยได้รับวัคซีนโรคหัด โรคคางทูม และ โรคหัดเยอรมัน มาก่อนหรือไม่ และบางครั้ง คุณหมออาจต้องเก็บตัวอย่างน้ำลายและเลือดของผู้ป่วยไปตรวจด้วย
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย