backup og meta

เรื่องเศร้าเมื่อฉัน ถูก ตีตราทางสังคม เพราะ ติดเชื้อ COVID-19

เรื่องเศร้าเมื่อฉัน ถูก ตีตราทางสังคม เพราะ ติดเชื้อ COVID-19

เนื่องจากเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นโรคที่อุบัติขึ้นมาใหม่ จึงทำให้หลายคนทั่วโรคเกิดความวิตกกังวล และหวาดกลัว และยิ่งได้รับข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแล และป้องกันตนเองจากเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้วล่ะก็ อาจส่งผลให้เกิดการตีตราทางสังคมได้ วันนี้ Hello คุณหมอ ได้มีโอกาสสัมภาษณ์โดยตรงกับ คุณเพียงใจ บุญสุข เจ้าหน้าที่ชำนาญการด้านภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉินและการดื้อยาต้านจุลชีพ องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ถึงเรื่อง “การตีตราทางสังคม’ เราจะมีวิธีการรับมืออย่างไร หากผู้ป่วย ถูก ตีตราทางสังคม เพราะ ติดเชื้อ COVID-19  โดยคุณเพียงใจ บุญสุข ได้ให้คำแนะนำกับเราดังนี้

การตีตราทางสังคม (Social Stigma) คืออะไร

การตีตราทางสังคม (Social Stigma)  หมายถึง การที่สังคม คนรอบข้างปฏิบัติต่อกลุ่มบุคคลที่ติดเชื้อ หรือผู้ที่เข้าข่ายต่อการติดเชื้อโดยการเลือกปฏิบัติ เช่น การเรียกชื่อแบบดูแคลน การกระทำที่ทำให้รู้สึกไม่ดี การลดบทบาทสถานะทางสังคม ตลอดจนการกีดกันไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมที่คนทั่วไปสามารถเข้าร่วมได้ เมื่อผู้ป่วยหายเป็นปกติแล้ว

อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติพฤติกรรมดังกล่าวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 อาจส่งผลกระทบต่อคนภายในครอบครัว  รวมถึงคนใกล้ชิดพลอยได้รับความเดือดร้อนจากการโดนตีตราทางสังคม ไปด้วย

ทำไมโรค COVID-19  ถึงทำให้เกิดการตีตราทางสังคม

เนื่องจากโรค COVID-19 เป็นโรคที่อุบัติขึ้นมาใหม่ ในปัจจุบันจึงยังไม่มีหลักฐานข้อมูลที่บ่งชี้แน่ชัดเกี่ยวกับการรักษาโรค COVID-19  ส่วนใหญ่มักอยู่ในขั้นตอนการศึกษาและทำการวิจัย นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอีกมากที่เรายังไม่รู้เกี่ยวกับโรคดังกล่าว

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้คนเจ็บป่วย ล้มตายเป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงเป็นเรื่องปกติที่อาจทำให้คนเราเกิดความวิตกกังวล และความความกลัว ทั้งนี้เมื่อคนเรารู้สึกกลัว หรือได้รับข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง ว่าจะปกป้องตัวเอง ครอบครัว ญาติมิตร อย่างไร จึงทำให้เกิดการแสดงออกต่อผู้ที่ติดเชื้ออย่างไม่เหมาะสม

หากติดเชื้อ COVID-19 แต่ไม่แจ้งให้คนอื่นทราบ เพราะกลัวสังคมรังเกียจ จะส่งผลกระทบอย่างไร

การถูก ตีตราทางสังคม เพราะ ติดเชื้อ COVID-19 อาจเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เพิ่มมากขึ้น และยังส่งผลกระทบต่างๆ ดังนี้

  • ส่งผลกระทบต่อตนเอง

หากพบว่าตนเองมีอาการเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส COVID-19 แต่ไม่ยอมไปตรวจรักษา หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม อาจทำให้เกิดอาการรุนแรง และส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น

  • ส่งผลกระทบต่อผู้อื่น

เมื่อตนเองติดเชื้อไวรัส COVID-19 หรือทราบว่าตนเองเข้าข่ายต่อการติดเชื้อไวรัส COVID-19 แต่ไม่แจ้งให้ผู้อื่นทราบอาจทำให้ คนภายในครอบครัว รวมถึงคนใกล้ชิด ติดเชื้อได้

  • ส่งผลกระทบต่อบุคลากรทางการแพทย์

เมื่อผู้ป่วยไม่ได้แจ้งอาการต่อบุคลลากรทางการแพทย์ว่าตนเองติดเชื้อ บุคลากรทางการแพทย์อาจติดเชื้อจากผู้ป่วยได้ เพราะอาจทำหัตถการ หรือการรักษาที่ไม่ได้ใช้อุปกรณ์ป้องกันอย่างเหมาะสม รวมถึงในกรณีที่ไม่แจ้งว่าตนเองติดเชื้อจนเกิดอาการรุนแรง และจึงไปรับการรักษา ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ต้องใช้ เครื่องมือทางการแพทย์ แพทย์ พยาบาล ยา ที่มากขึ้น เพื่อดูแลผู้ป่วยให้ปลอดภัย ซึ่งทำให้ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพที่มากขึ้น

ยกตัวอย่างสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ

สิ่งที่ควรทำต่อผู้ติด โควิด-19

  • ไม่โยงชื่อโรคกับสถานที่ กลุ่มชาติพันธ์ุ เชื้อชาติ หรือกลุ่มบุคคล
  • แชร์ข่าวที่ถูกต้อง
  • เห็นใจ เข้าใจ มีเมตตา
  • ไม่รังเกียจ ไม่ตีตรา
  • เมื่อผู้ป่วยหายป่วย ควรให้โอกาสในการดำเนินชีวิต ไปทำงาน ประกอบอาชีพ และอยู่ในสังคมได้ตามปกติ

สิ่งที่ควรทำ-การตีตราทางสังคม

สิ่งที่ไม่ควรทำต่อผู้ติด โควิด-19

  • กลั่นแกล้ง กล่าวร้าย ทำร้าย รังเกียจผู้ที่ติดเชื้อหรือผู้ที่อาจติดเชื้อ
  • แชร์ข่าวร้าย กระจายข่าวปลอม

สิ่งที่ไม่ควรทำ-การตีตราทางสังคม

สื่อโซเชียลมีเดีย มีผลต่อการตีตราทางสังคมอย่างไร

สื่อโซเซียล (Social Media) มีส่วนอย่างมากในการช่วยสื่อสารให้ผู้คนเข้าใจในประเด็นเชิงบวก ไม่มีใครอยากติด ไม่มีใครอยากเป็น แต่เมื่อติดแล้ว สามารถรักษาได้ หายได้ ไม่รังเกียจกัน ซึ่งสื่อควรเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความร่วมมือร่วมใจให้เกิดขึ้น

มีกิจกรรมหรือวิธีอะไรบ้าง ที่จะสามารถให้พวกเรา ฝ่าฝันวิกฤติ COVID-19 ไปได้ด้วยกัน

ในช่วงวิกฤติแบบนี้เรามักจะเห็น “น้ำใจไทย’ อยู่เสมอ ภาพของความร่วมแรง ร่วมใจ คนละไม้ละมือ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้ง ภาครัฐและเอกชน ภาครัฐได้มีนโยบายมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือประชาชน ภาคเอกชนได้ร่วมบริจาคเงินสมทบทุน หรือเสนอตัวช่วยงานภาครัฐในส่วนที่ตนถนัด นอกจากนี้เราจะเห็นประชาชนหลายคนได้มีการนำอาหาร หน้ากากอนามัย อุปกรณ์ทางการแพทย์ มาแจกจ่ายให้กับผู้ที่ขาดแคลนและได้รับความเดือดร้อน

รวมถึงประชาชนทุกคนที่อดทนกับความไม่สะดวกสบาย อดทนกับการที่ต้องปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินชีวิตประจำวัน ต้องทำงานที่บ้าน ช่วยกันอยู่บ้าน เว้นระยะห่างทางกาย ทางสังคม เพื่อหยุดยั้งการแพร่กระจายเชื้อ สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นพลังความร่วมมือ ร่วมใจ คุณค่าของความเป็นมนุษย์ ที่จะฝ่าวิกฤติโรคระบาด โควิด-19 ในครั้งนี้ไปได้

จะเห็นได้ว่าการตีตราทางสังคมไม่ได้ช่วยอะไรในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เลย รังแต่จะทำให้แย่ลงมากกว่า ดังนั้นแล้ว อย่ามามัวตีตราแยกคนติดเชื้อออกจากชุมชน แค่ให้ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงกักตัวอยู่แต่ในบ้าน และคนในชุมชนร่วมมือกันดูแล ให้เขาไม่รู้สึกว่าอยู่ตัวคนเดียว แค่นี้สถานการณ์ก็จะค่อย ๆ บรรเทาลงได้เช่นกัน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

การตีตราทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19. https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/covid19-stigma-guide-th-final.pdf. Accessed 07 April 2020.

คุณ เพียงใจ บุญสุข
เจ้าหน้าที่ชำนาญการด้านภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉินและการดื้อยาต้านจุลชีพ
องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/05/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีรับมือ เชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ผู้ป่วย ความดันโลหิตสูง กับ ความเสี่ยงในการติดเชื้อ โควิด-19


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 18/05/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา