backup og meta

คำแนะนำสำหรับ นักศึกษา ที่กลับจากต่างประเทศ ในพื้นที่การแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19

คำแนะนำสำหรับ นักศึกษา ที่กลับจากต่างประเทศ ในพื้นที่การแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19

บทความนี้ Hello คุณหมอ มีคำแนะนำในการปฏิบัติดูแลตนเอง สำหรับ นักศึกษา ที่กลับจากต่างประเทศ ในพื้นที่การแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 (COVID-19) มาฝากกันค่ะ จะมีวิธีการเตรียมความพร้อม และวิธีการปฏิบัติดูแลตนเองอย่างไรบ้างนั้น มาติดตามอ่านกันได้เลย

มาตรการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับ นักศึกษาที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้มีมาตรการในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับนักศึกษาที่กำลังเดินทางกลับจากต่างประเทศในพื้นที่ ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไว้ดังนี้

  • เตรียมที่พัก ที่อยู่อาศัย ให้สำหรับนักศึกษาโดยเฉพาะ ไม่ปะปนอาศัยอยู่กับสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัว โดยสถานที่พักอาศัยดังกล่าว จะต้องมีอากาศถ่ายเท และสามารถเดินทางไปโรงพยาบาลได้สะดวก นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์สำหรับการป้องกันให้กับนักศึกษาอีกด้วย เช่น สบู่ เจลแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัย ถุงมือ เป็นต้น
  • มีเจ้าหน้าที่คอยประสานงานช่วยเหลือดูแลนักศึกษา และประสานงานกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่
  • เตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาในเรื่องของหลักสูตรการเรียนพิเศษจากที่บ้าน เช่น การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ (Online Coures)

วิธีการคัดกรอง นักศึกษาที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ (กรณี คัดกรองที่สนามบิน)

นักศึกษาที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ จะต้องผ่านการคัดกรองที่สนามบิน ดังนั้นนักศึกษาจะต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ในการคัดกรองเพื่อความสะดวกรวดเร็วและเป็นประโยชน์ในการรักษาพยาบาล

หากพบว่าตนเองมีอาการเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เช่น มีไข้ มีน้ำมูก อาการไอ จาม เจ็บคอ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศทันที เมื่อตรวจพบว่าร่างกายมีไข้ มากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส จะถูกแยกตัวออกมาตรวจซ้ำอีก 1 รอบ หากยังพบว่ามีไข้อยู่ จะถูกดำเนินการส่งตัวไปยังโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องตามขั้นตอน

นักศึกษา ควรปฏิบัติตนอย่างไร เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย โรคโควิด-19

เมื่อ นักศึกษา กลับมาจากต่างประเทศและต้องกักตัวอยู่ในบ้านหรือที่พัก จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ โรคโควิด-19

  • นักศึกษาควรแยกห้องนอน และหลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน อย่างน้อย 14 วัน (นับจากวันเดินทางที่กลับจากพื้นที่ระบาดในต่างประเทศมาถึงประเทศไทย)
  • ควรรับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น หากรับประทานอาหารร่วมกันต้องใช้ช้อนกลางทุกครั้ง
  • ห้ามใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ โทรศัพท์ เป็นต้น
  • สวมหน้ากากอนามัยขณะอาศัยอยู่ในบ้าน และอยู่ห่างจากสมาชิกในครอบครัวประมาณ 1-2 เมตร โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ

สร้างสุขอนามัยที่ดี ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ปัจจุบันยังไม่มีข้อบ่งชี้ที่แน่ชัดในการรักษาโรคโควิด-19 ดังนั้น การมีสุขอนามัยที่ดี จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะสามารถป้องกันตนเองจากการแพร่กระจายของเชื้อโรคดังกล่าวได้ โดยวิธีการเบื้องต้น ดังต่อไปนี้

  • ล้างมือบ่อยๆ เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ด้วยสบู่และน้ำอย่างน้อย 20 วินาที ในกรณีที่ไม่มีสบู่และน้ำ ให้ใช้เจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นอย่างน้อย 70%
  • เมื่อมีอาการ ไอ จาม ให้ปิด ปาก จมูก ด้วยทิชชู ทุกครั้ง แล้วทิ้งทิชชูในถุงพลาสติกปิดปากถุงให้เรียบร้อยทุกครั้ง ก่อนทิ้ง
  • ควรแยกขยะออกเป็น 2 ประเภท คือ
    • ประเภทขยะทั่วไป ไว้ใส่ขยะทั่วไป ภาชนะแบบใส่อาหารแบบใช้ครั้งเดียว
    • ประเภทที่ปนเปื้อน ขยะที่มีการปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย สารคัดหลั่ง เช่น กระดาษทิชชู หน้ากากอนามัย
    • ข้อแนะนำเพิ่มเติมในการแยกขยะและทิ้งขยะ: ในแต่ละวันให้เก็บและทำลายเชื้อโดยใส่ถุงขยะ 2 ชั้น และฆ่าเชื้อโดยการราดด้วยน้ำยาฟอกขาว และมัดปากถุงให้แน่น ก่อนนำไปทิ้งรวมกับขยะทั่วไป หลักจากทิ้งขยะเสร็จ ต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่อย่างน้อย 20 วินาที หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ทันที

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

คำแนะนำสำหรับการแยกตัวเพื่อสังเกตอาการ ณ ที่พักอาศัย (Self-Quarantine at Home

). https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/introduction/introduction15_2.pdf. Accessed 23 April 2020.

คู่มือมาตรการและแนวทางในการดูแล ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). https://www.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=16713. Accessed 23 April 2020.

Q&A on coronaviruses (COVID-19). https://www.who.int/news-room/q-a-detail/q-a-coronaviruses. Accessed 23 April 2020.

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/04/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัยเผย หายห่วง ตู้น้ำหยอดเหรียญสาธารณะ ยังไม่มีการค้นพบเชื้อโควิด-19

งานวิจัยจีนชี้! คน กรุ๊ปเลือดเอ อาจมีความเสี่ยงติดเชื้อ โควิด-19 ได้ง่ายที่สุด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 29/04/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา