backup og meta

ลิ่มเลือดอุดตัน อีกหนึ่งภาวะแทรกซ้อนจากโควิด-19 ที่อาจอันตรายถึงตาย

ลิ่มเลือดอุดตัน อีกหนึ่งภาวะแทรกซ้อนจากโควิด-19 ที่อาจอันตรายถึงตาย

เรารู้กันดีอยู่แล้วว่า ไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ส่งผลกระทบต่ออวัยวะในระบบทางเดินหายใจ สามารถทำให้ปอดอักเสบรุนแรงจนอาจถึงแก่ชีวิตได้ แต่ข้อมูลล่าสุดจากผู้เชี่ยวชาญเผยว่า นอกจากโควิด-19 จะทำให้เกิดปัญหาในระบบทางเดินหายใจแล้ว ยังทำให้ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งเกิดภาวะ ลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโควิด-19 ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน

ลิ่มเลือดอุดตัน กับโควิด-19

งานวิจัยชิ้นใหม่จากประเทศเนเธอร์แลนด์ที่เผยแพร่ในวารสาร Thrombosis Research เมื่อปลายเดือนเมษายน 2020 เผยว่า จากการศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 184 ราย ที่ต้องเข้ารับการรักษาในห้องดูแลผู้ป่วยหนัก หรือไอซียู (ICU) พบว่า ผู้ป่วย 31% มีการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญระบุว่าถือเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงเลยทีเดียว

แม้ผู้เชี่ยวชาญจะระบุไม่ได้แน่ชัดว่า ภาวะแทรกซ้อนจากโควิด-19 อย่างลิ่มเลือดอุดตันนี้เกิดขึ้นจากสาเหตุใด แต่พวกเขาก็อธิบายว่า ในทางทฤษฎีแล้ว ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงมีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เนื่องจากหลายสาเหตุ ทั้งการที่ต้องรักษาตัวอยู่แต่ในห้องไอซียู ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ และร่างกายติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จนเกิดการอักเสบรุนแรง

นายแพทย์ Harlan Krumholz แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ ประจำโรงพยาบาลเยล-นิวเฮเวน (Yale-New Haven) ได้ให้ข้อมูลกับหนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตันโพสต์ (The Washington Post) ของประเทศสหรัฐอเมริกาว่า “เมื่อระบบภูมิคุ้มกันพบผู้บุกรุกอย่างไวรัสโคโรนา 2019 ก็จะเริ่มกระบวนการสร้างลิ่มเลือดหรืออาการเลือดออกเพื่อต่อสู้กับไวรัส โดยอาศัยปัจจัยการแข็งตัวของเลือด ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ สามารถพบในผู้ป่วยโรคอีโบลาด้วยเช่นกัน เพียงแต่ผู้ป่วยอีโบลาส่วนใหญ่จะเกิดอาการเลือดออก ในขณะที่ผู้ป่วยโควิด-19 มักพบภาวะลิ่มเลือดอุดตันมากกว่า”

ลิ่มเลือดอุดตันจากโควิด-19 กระทบสุขภาพหลายด้าน

ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด จำเป็นต้องรับยาต้านการแข็งตัวของเลือด ที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้ากว่าปกติ เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดหรือก้อนเลือด แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังมีผู้ป่วยบางรายที่พบภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่ขาแม้จะใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดแล้ว จนในที่สุดก็ต้องตัดขาทิ้ง เช่น นิค คอร์เดโร (Nick Cordero) นักแสดงละครบรอดเวย์ชื่อดัง ผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลโทนีอวอร์ด (Tony Award)

ความน่ากลัวของภาวะลิ่มเลือดอุดตันเพราะโควิด-19 ไม่ได้มีแค่นี้ เพราะลิ่มเลือดอุดตันยังอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรงที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น ภาวะหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง ยิ่งหากเป็นผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไตมีปัญหาจนต้องฟอกเลือดหรือฟอกไต ก็ยิ่งเสี่ยงเกิดอันตรายร้ายแรงเพราะลิ่มเลือดอุดตันจากโควิด-19 เพราะสำนักข่าวชื่อดังอย่างซีเอ็นเอ็น (CNN) รายงานว่า เครื่องฟอกไตของผู้ป่วยโควิด-19 บางรายมีปัญหาเนื่องจากลิ่มเลือดไปอุดตันในหลอดของเครื่องฟอกไต

ผู้เชี่ยวชาญยังระบุเพิ่มเติมด้วยว่า หากผู้ป่วยโควิด-19 มีปัญหาสุขภาพอยู่ก่อนแล้ว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ก็จะยิ่งเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างลิ่มเลือดอุดตันได้ง่ายขึ้น และอาจมีอาการร้ายแรงด้วย

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Coronavirus Outbreak: Live Updates. https://www.healthline.com/health-news/coronavirus-live-updates#Blood-clots-could-be-hidden-danger-for-people-with-COVID-19. Accessed April 24, 2020

COVID-19 also causing blood clot complications among patients. https://abc11.com/covid-19-blood-clot-complications-symptoms-nick-cordero/6118884/. Accessed April 24, 2020

Mysterious blood clots in COVID-19 patients have doctors alarmed. https://www.livescience.com/coronavirus-blood-clots.html. Accessed April 24, 2020

Coronavirus: Are blood clots killing COVID-19 patients?. https://www.boston25news.com/news/trending/coronavirus-are-blood-clots-killing-covid-19-patients/UAH5GS4WK5FPJFP7YUHPYT2ZIQ/. Accessed April 24, 2020

Severe COVID-19 patients have ‘unprecedented’ blood clots. Here’s what doctors know. https://globalnews.ca/news/6851642/blood-clots-coronavirus/. Accessed April 24, 2020

New research highlights blood clot dangers of COVID-19. https://www.eurekalert.org/pub_releases/2020-04/rson-nrh042320.php. Accessed April 24, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

21/05/2020

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้เป็นโรคหอบหืด จะดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองในช่วง COVID-19 นี้ได้อย่างไร

ออกกำลังกายที่บ้านต้านโควิด-19 ถึงอยู่บ้านก็ฟิตแอนด์เฟิร์มได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 21/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา