backup og meta

5 สายพันธุ์โควิด-19 ที่มีการกลายพันธ์ุในปัจจุบัน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 07/12/2021

    5 สายพันธุ์โควิด-19 ที่มีการกลายพันธ์ุในปัจจุบัน

    โรคโควิด-19 (Covid-19) หมายถึงการติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบัน สายพันธุ์โควิด-19 ได้มีการกลายพันธุ์ออกเป็นสายพันธุ์ต่าง ๆ เช่น อัลฟ่า (Alpha) เบต้า (Beta) แกมม่า (Gamma) เดลต้า (Delta) รวมถึงสายพันธุ์ใหม่ที่มีชื่อว่า โอไมครอนหรือโอมิครอน (Omicron) ซึ่งโควิด-19 แต่ละสายพันธุ์อาจมีอัตราการแพร่กระจาย และความรุนแรงของการติดเชื้อที่แตกต่างกันออกไป

    5 สายพันธุ์โควิด-19 ที่มีการกลายพันธ์ุในปัจจุบัน

    1. สายพันธุ์อัลฟ่า (สายพันธุ์ B.1.1.7)    

    โควิด-19 สายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha) หรือสายพันธุ์อังกฤษ  ค้นพบที่มณฑลเคนท์ สหราชอาณาจักร ในช่วงเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2564  และแพร่กระจายไปหลายประเทศทั่วโลก  มีอัตราการแพร่กระจายเชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดิม 40-90%

    นอกจากนี้ผลงานวิจัยที่ ถูกแพร่ใน เว็บไซต์ Nature เมื่อ วันที่ 15 มี.ค. ปี พ.ศ. 2564 เรื่องอัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อสาย SARS-CoV-2 B.1.1.7  รายงานว่า มีผู้เสียชีวิตจากสายพันธุ์ B.1.1.7 ถึง 1.7 เท่า 

    2. สายพันธุ์เบต้า (สายพันธุ์ B.1.3.5.1)

    โควิด-19 สายพันธุ์เบต้า (Beta) หรือสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ถูกค้นพบครั้งแรกที่แอฟริกาใต้ ในช่วงเดือนตุลาคม มีอัตราการ แพร่กระจายเชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดิม 50% 

    โดยลักษณะการกลายพันธุ์จากหนามโปรตีน N501Y และ E484K ที่ทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ร่างกายได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ปกติ และอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพแอนติบอดี้ลดลง จึงทำให้มีโอกาสติดเชื้อสูงขึ้น

    3. สายพันธุ์แกมม่า (สายพันธุ์ P.1) 

    โควิด-19 สายพันธุ์แกมม่า (Gamma) หรือสายพันธุ์บราซิล ค้นพบครั้งแรกในผู้ที่เดินทางมาจากประเทศบราซิล ในช่วงเดือน ก.พ. ปี พ.ศ. 2564 มีอัตราการแพร่กระจายเชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดิม 2.5 เท่า และมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้อีกด้วย โดยมีลักษณะการกลายพันธุ์จากโปรตีน

    หนามตำแหน่ง  N501Y, K417T และE484K จัดเป็นสายพันธุ์ที่รุนแรงซึ่งมีภูมิต้านทานมากกว่าสายพันธุ์ชนิดอื่น ๆ ทำให้เกิดแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น 

    4. สายพันธุ์เดลต้า (สายพันธุ์ B.1.617.2)

    โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า (Delta) หรือสายพันธุ์อินเดีย ถูกค้นพบครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย เมื่อต้นเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2563 มีอัตราการแพร่กระจายเชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดิม 20% โดยมีลักษณะการกลายพันธุ์ 2 ตำแหน่ง (Double Mutant) คือ ตำแหน่ง E484Q และ L452R ส่งผลให้ไวรัสแพร่จายได้อย่างรวดเร็ว และสามารถหลบหนีวัคซีนได้ 

    โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงมากกว่าโควิด-19 สายพันธุ์อื่น ๆ อีกทั้งยังอาจสามารถหลบหลีกวัคซีนได้ ทำให้แม้แต่ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ครบ 2 เข็มแล้ว ก็ยังคงมีโอกาสที่จะติดโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้านี้สูงอยู่ แต่วัคซีนอาจสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการที่รุนแรงและการเสียชีวิตจากการติดเชื้อได้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยในระยะแรกพบว่า ผู้ที่ติดโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าสามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ แม้ว่าจะได้รับวัคซีนครบแล้วก็ตาม

    5. สายพันธุ์โอไมครอน หรือโอมิครอน (สายพันธุ์ B.1.1.529)

    โควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน หรือโอมิครอน (Omicron) พบครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 และที่แอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2564 เชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนเป็นเชื้อที่มีการกลายพันธุ์มากหลายตำแหน่ง และอาจสามารถแพร่กระจายได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ รวมถึงสายพันธุ์เดลต้า

    ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่า การติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนจะทำให้เกิดอาการที่รุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ หรือไม่ แม้ว่าผลการวิจัยเบื้องต้นอาจจะยังไม่พบอาการที่แตกต่างจากการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์อื่น แต่อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบถึงความรุนแรงของการติดเชื้อสายพันธุ์อย่างแน่ชัด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 07/12/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา