backup og meta

เครื่องปรับอากาศกับโรคโควิด-19 และ ข้อเท็จจริงที่คุณควรรู้

เครื่องปรับอากาศกับโรคโควิด-19 และ ข้อเท็จจริงที่คุณควรรู้

สำหรับสถานการณ์โรคระบาดอย่างเชื้อโคโรนาไวรัสในปัจจุบันนั้น ยังไม่คลี่คลายสักเท่าไหร่ เพราะหลาย ๆ คนอาจยังต้องกักตัวอยู่บ้าน เพื่อป้องกันตัวเองจากการติดโรคโควิด-19 (COVID-19) จึงทำให้มีหลายคนเริ่มสงสัยว่า การที่อยู่บ้านและเปิดเครื่องปรับอากาศ นั้นจะปลอดภัยจากเชื้อไวรัสได้จริงหรือ ดังนั้นทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่อง เครื่องปรับอากาศกับโรคโควิด-19 มาฝากกัน

เครื่องปรับอากาศกับโรคโควิด-19 เกี่ยวข้องกันอย่างไร

ด้วยอัตราการติดเชื้อที่ยังสูงมากในหลาย ๆ ประเทศ ทำให้หลายคนกำลังกังวลถึงวิธีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus) ระหว่างคน การติดเชื้อในอากาศ และวิธีที่จะสามารถรับเชื้อโรคโควิด-19 จากคนอื่น ๆ ซึ่งคำถามส่วนใหญ่เริ่มจะถูกถามเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศว่า เครื่องปรับอากาศจะสามารถแพร่กระจายเชื้อโคโรนาไวรัสได้หรือไม่ ซึ่ง ณ ตอนนี้ยังไม่ได้มีบทสรุปข้อเท็จจริงที่แน่ชัด

จากการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่า การใช้เครื่องปรับอากาศในบ้านนั้นไม่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องอยู่คนเดียวในบ้าน โดยที่ไม่ได้มีการสัมผัสกับความเสี่ยงจากภายนอกบ้าน แต่เชื้อโคโรนาไวรัสนั้น ก็ยังสามารถแพร่กระจายได้ในพื้นที่ที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศส่วนกลาง เช่น ในพื้นที่สาธารณะอย่างห้างสรรพสินค้า และอะพาร์ตเมนต์บางแห่ง ยิ่งถ้าสถานที่เหล่านั้นมีผู้ติดเชื้อรวมอยู่ด้วย ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศและโรคโควิด-19

แม้จะยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่า เครื่องปรับอากาศนั้นสามารถแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ได้หรือไม่ แต่ก็ยังมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศที่ควรรู้ไว้ ดังนี้

  • การกรองและขนาดของอนุภาค

ปกติแล้วเครื่องปรับอากาสจะกรอกอนุภาคผ่านระบบต่าง ๆ และจะมีความสามารถในการกรองอนุภาคในระดับที่ต่างกัน เช่น เครื่องปรับอากาศในเรือสำราญ โดยทั่วไปจะไม่สามารถกรองอนุภาคที่มีขนาดน้อยกว่า 5,000 นาโนเมตรได้ ซึ่งไวรัสที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจที่คล้ายกับเชื้อโคโรนาไวรัส เช่น โรคซาร์ส (SARS) จะมีขนาดประมาณ 120 นาโนเมตรเท่านั้น  ดังนั้น ถ้าเชื้อไวรัสโควิด-19 มีขนาดใกล้เคียงกัน นั่นหมายความว่า มันจะสามารถแพร่กระจายไปยังห้องโดยสารต่าง ๆ ของเรือสำราญได้ โดยที่ไม่ถูกกรองออกไป

  • การหมุนเวียนของอากาศ

ตัวอย่างสมมติ เมื่อพูดถึงอากาศที่อยู่ในเรือสำราญ ทางผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวเอาไว้ว่า อากาศที่ใช้ในระบบเครื่องปรับอากาศนั้นเป็นอากาศรีไซเคิล ซึ่งจะเป็นการดูดอากาศเก่าไปผสมกับอากาศใหม่ที่มาจากด้านนอก แต่ทางที่ดีเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ ควรจะต้องมีระบบเติมอากาศใหม่เข้าไป โดยเป็นการดูดอากาศใหม่จากภายนอกทั้งหมด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโคโรนาไวรัส นั่นเอง

  • ระดับความชื้นและอุณหภูมิ

ในห้องที่มีการเปิดใช้เครื่องปรับอากาศ จะมีระดับความชื้นและอุณหภูมิที่ต่ำ ทำให้โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคซาร์ส (SARS) ยังสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้

ดังนั้น การดูที่ระบบปรับอากาศและระบบระบายอากาศของเครื่องปรับอากาศ จึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของการสัมผัสกับเชื้อไวรัสโควิด-19 และเชื้อโรคอื่น ๆ ได้ นอกจากนั้น การตรวจสอบและสังเกตตัวกรอง หรือให้ความสำคัญเรื่องความชื้นที่มาจากการตั้งค่าอุณหภูมิ ก็ถือเป็นอีกเรื่องที่ควรใส่ใจ ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพของตัวคุณเอง

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Home ACs don’t pose coronavirus threat, but central air conditioning could raise risks. https://theprint.in/health/home-acs-dont-pose-coronavirus-threat-but-central-air-conditioning-could-raise-risks/387846/. Accessed May 07, 2020

Air conditioning and the Coronavirus – Everything You Need To Know. https://www.fallonsolutions.com.au/Handy_Hints/air-conditioning-and-the-coronavirus-everything-you-need-to-know. Accessed May 07, 2020

Coronavirus could be spread by air-conditioning and may be more contagious than previously thought, scientists believe after finding traces of the virus in hospital air-duct. https://www.dailymail.co.uk/news/article-8086457/Coronavirus-spread-air-conditioning-contagious-previously-thought.html. Accessed May 07, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ซื้อของในร้านชำให้ปลอดภัย และห่างไกลจากเชื้อโควิด-19

หน้ากากพลาสติก (Face Shield) ตัวช่วยในการป้องกันตนเองจาก เชื้อโควิด-19


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา