backup og meta

วิธีรับมือ เชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

วิธีรับมือ เชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้มีจำนวนยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอดอักเสบ ย่อมมีโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ง่ายกว่าคนปกติทั่วไป วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธีรับมือ เชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มาฝาก จะมีอะไรบ้างนั้น ลองมาหาคำตอบกันในบทความนี้ค่ะ

ทำความรู้จักเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19)

ไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2562 เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเจ็บป่วย ตั้งแต่ไข้หวัดทั่วไป จนถึงโรคที่มีอาการรุนแรง เช่นโรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome :  MERS-CoV) และ โรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome : SARS-CoV)  ผู้ป่วยที่ติดเชื้อมักมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการหายใจ รวมถึงอาการไอ คัดจมูก และเจ็บคอ

เชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร?

สมาคมโรคเบาหวาน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ระบุไว้ว่า ประชาชนในประเทศจีนซึ่งมีผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มีอัตราแทรกซ้อนและเสียชีวิตสูงกว่าผู้ที่ไม่มีโรคเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานมีน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอ และไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้

หากคุณรู้สึกไม่สบาย ควรตรวจวัด ระดับน้ำตาลในเลือด ของคุณให้บ่อยกว่าปกติ ดื่มน้ำบ่อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ อย่างไรก็ตามหากคุณคิดว่าตนเองมีอาการเข้าข่ายต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เช่น มีไข้ มีอาการจามหรือไอ หายใจลำบาก และเมื่อตรวจเลือดและพบว่าตนมี ระดับน้ำตาลในเลือด ที่สูงกว่าปกติ ควรโทรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอรับคำแนะนำในการรักษาตนเองอย่างเหมาะสม

อัตราการเสียชีวิต และ ความเชื่อมโยงระหว่างโรคเบาหวานกับการเสียชีวิต

ถึงแม้ว่ายังไม่มีข้อพิสูจน์ที่แน่ชัดในแง่ของความเชื่อมโยงระหว่างโรคเบาหวาน และการเสียชีวิตจากเชื้อโควิด-19 แต่ทางวารสารสมาคมการแพทย์อเมริกัน (Journal of the American Medical Association ; JAMA) ได้มีรายงานอัตราการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ที่ส่วนใหญ่เกิดจากการมีโรคประจำตัว ดังนี้

  • ร้อยละ 10.5 สำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ร้อยละ 7.3 สำหรับโรคเบาหวาน
  • ร้อยละ 6.3 สำหรับโรคระบบหายใจเรื้อรัง
  • ร้อยละ 6.0 สำหรับความดันโลหิตสูง
  • ร้อยละ 5.6 สำหรับโรคมะเร็ง

วิธีลดโอกาสการติด เชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันตนเองจากการได้รับเชื้อจากไวรัสโควิด-19 คือ การกักตัวอยู่บ้าน หรือการใช้หลักการเว้นระยะห่างจากสังคม (Social-Distancing) หลีกเลี่ยงกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีคนจำนวนมาก รวมถึงวิธีเบื้องต้นอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

  • หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่เป็นประจำอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 20 วินาที หรือถ้าหากจำเป็นต้องออกไปข้างนอกบ้าน ควรพกพาเจลล้างมือ และสวมใส่หน้ากากอนามัยอยู่เสมอ
  • ไม่ควรใช้สิ่งของต่าง ๆ ร่วมกับผู้อื่น หรือแบ่งปันของใช้ส่วนตัว เช่น แปรงสีฟัน ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น
  • หากผู้ป่วยรู้สึกไม่สบาย อาจทำให้ ระดับน้ำตาลในเลือด นั้นมีค่าสูงขึ้น ควรดื่มน้ำบ่อย ๆ เพื่อป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำ (Dehydration)
  • ขณะมีอาการ จาม ไอ ใช้ทิชชูปิดปากทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการใช้มือปิดจมูก ปาก เพื่อเป็นการลดการสัมผัส
  • หมั่นทำความสะอาดสิ่งของที่คุณต้องสัมผัสบ่อย ๆ ในบ้าน เช่น ลูกบิดประตู รีโมตคอนโทรล หรือในพื้นที่ ๆ เช่น บริเวณที่คุณทำงาน หรือเคาน์เตอร์ปรุงอาหาร ที่ต้องมีการสัมผัสเป็นประจำเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ และการแพร่กระจายของเชื้อโรค

กล่าวได้ว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีโอกาสที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้มากกว่าคนปกติทั่วไป ดังนั้นควรใส่ใจและดูสุขภาพของตนเองอย่างใกล้ชิด หมั่นตรวจเลือดให้บ่อยกว่าปกติ เพื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือด ของตนเอง อย่างไรก็ตาม หากคุณมีอาการเข้าข่ายต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Everything You Should Know About Coronavirus and Diabetes. https://www.healthline.com/diabetesmine/coronavirus-and-diabetes. Accessed 13 April 2020.

Diabetes and COVID-19. https://www.endocrineweb.com/conditions/diabetes/diabetes-covid-19. Accessed 13 April 2020.

COVID-19 and Diabetes. https://www.webmd.com/lung/diabetes-and-coronavirus#1. Accessed 13 April 2020.

5 Things to Sanitize ASAP to Keep Yourself From Getting Sick. https://www.parents.com/health/5-things-to-sanitize-asap-to-prevent-getting-sick/. Accessed April 14, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

21/10/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดโควิด ทํายังไง ต้องไปโรงพยาบาลหรือไม่ กักตัวกี่วัน

กิจกรรมสำหรับเด็ก ในช่วงกักตัว เมื่อโควิด-19 ระบาด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 21/10/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา