backup og meta

เภสัชกรควรรู้! เปิดร้านขายยา ในช่วงที่ โรคโควิด-19 ระบาดอย่างไร ให้ ปลอดภัยทั้งผู้ขาย-ผู้ซื้อ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 24/04/2020

    เภสัชกรควรรู้! เปิดร้านขายยา ในช่วงที่ โรคโควิด-19 ระบาดอย่างไร ให้ ปลอดภัยทั้งผู้ขาย-ผู้ซื้อ

    ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19)  “เภสัชกร” เป็นอีกหนึ่งบุคลากรคนสำคัญที่มีหน้าที่ให้คำปรึกษาประชาชนรวมถึงให้คำแนะนำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของประชาชน วันนี้ Hello จึงได้นำบทความเรื่อง ข้อแนะนำที่เภสัชกรควรรู้ เปิดร้านขายยา ในช่วงที่ โรคโควิด-19 ระบาดอย่างไร ให้ ปลอดภัยทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ  มาฝากกันค่ะ เพื่อเป็นข้อมูลให้สำหรับเภสัชกรในร้ายยารวมถึงประชาชาชนทั่วไปได้เข้าใจอย่างละเอียดมากขึ้น ในการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลย

    ข้อแนะนำสำหรับ เภสัชกร

    ณ ขณะที่มีการแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 บุคลากรอย่าง เภสัชกร ที่ให้บริการตามร้านขายยานั้นถือว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมากสำหรับประชาชน นอกจากจะช่วยในการให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นของเราแล้ว ยังถือเป็นการอำนวยความสะดวกให้เราไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล เพื่อลดความเสี่ยงต่อ การติดเชื้อไวรัสโควิด-19  อีกด้วย

    อย่างไรก็ตามในสถานการณ์การแพร่ระบาด ในฐานะ เภสัชกร ควรให้คำแนะนำประชาชนเบื้องต้นเกี่ยวกับการป้องกันตนเองเพื่อให้ปลอดภัยจากโรคดังกล่าว เช่น การสวมหน้ากากอนามัย การใช้เจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ และยาสามัญที่ควรมีไว้ติดบ้าน อาทิ

    • กลุ่มยาบรรเทาอาการปวดลดไข้ ได้แก่ พาราเซตามอล (Paracetamol)
    • กลุ่มยาบรรเทาอาการปวดท้อง ได้แก่ ยาธาตุ ยาขับลม ยาลดกรด
    • ยาใส่แผล ได้แก่ แอลกอฮอล์ น้ำเกลือล้างแผล
    • ยาบรรเทาอาการแพ้ ได้แก่ คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine)
    • ยาบรรเทาอาการท้องเสีย ได้แก่ ผงนํ้าตาลเกลือแร่ ผงถ่าน
    • ยาสำหรับโรคผิวหนัง ได้แก่ ครีมฆ่าเชื้อ คาลาไมน์ (Calamine Lotion)
    • ยาดมหรือยาทาแก้วิงเวียน หน้ามืด คัดจมูก
    • อุปกรณ์ยาอื่นๆ ได้แก่ พลาสเตอร์ยา ผ้าก๊อซ เทปปิดแผล

    รับยาใกล้บ้าน ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

    นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในขณะนี้ได้สร้างความวิตกกังวลให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้จัดทำโครงการรับยาใกล้บ้าน นอกจากจะช่วยลดระยะเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลให้สั้นลง ไม่ต้องรอคิวรับยานาน ยังช่วยลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อีกด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยใน 4 กลุ่มดังต่อไปนี้ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคหอบหืด และผู้ป่วยจิตเวช ให้รับยาที่ร้านขายยาใกล้บ้านแทนการรับยาที่โรงพยาบาล

    เปิดร้านขายยา ในช่วงที่ โรคโควิด-19 ระบาดอย่างไร ให้ ปลอดภัยทั้งผู้ขาย-ผู้ซื้อ

    ในปัจจุบันการแพร่ระบาดของเชื้อ ไวรัสโควิด-19 ยังไม่มีข้อบ่งชี้ที่ระบุแน่ชัดในการรักษาโรคดังกล่าว ดังนั้นวิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือการป้องกันตนเองของทาง เภสัชกร เพื่อลดความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะในสถานประกอบการต่าง ๆ อย่างร้านขายยาก็ควรมีมาตรการในการป้องกันให้ปลอดภัยจาก โรคโควิด-19 ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ดังนี้

    • รักษาระยะห่าง เภสัชกร ควรรักษาระยะห่างในการพูดคุยกับลูกค้า หรือทำจุดยืนเพื่อสั่งยาสำหรับลูกค้าในร้ายยา ให้ห่างจากเคาน์เตอร์ประมาณ 2 เมตร
    • ทำแผ่นพลาสติกใสกั้น แผ่นพลาสติกใสกั้นจะช่วยในการป้องกันหยดละออง หรือสารคัดหลั่งจากการไอ จามของลูกค้า แต่เปิดเป็นช่องไว้สื่อสารกับลูกค้าที่มาซื้อยา
    • ให้บริการเจลแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ นำเจลแอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์อย่างน้อย 70% วางไว้บนเคาน์เตอร์เพื่อให้ลูกค้าได้ใช้สะดวกยิ่งขึ้น
    • ลดการสัมผัสในการจ่ายยา ขณะจ่ายยา เภสัชกร หรือ พนักงานในร้านขายยาไม่จำเป็นต้องสวมชุดป้องกัน (Personal Protective Equipment ; PPE) หลังจากจัดทำใบสั่งยาสามารถวางยาที่บรรจุไว้บนเคาน์เตอร์เพื่อให้ลูกค้าหยิบยา แทนที่จะส่งมอบยาให้กับลูกค้าโดยตรง
    • ทำความสะอาดอุปกรณ์และพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำความสะอาด และฆ่าเชื้ออุปกรณ์ รวมไปถึงพื้นผิวสัมผัสในร้านขายยาเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ ๆ ใช้ประจำ เช่น เคาน์เตอร์ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ เป็นต้น
    • จำกัดจำนวนคนในการให้บริการ ทำป้ายติดประกาศหน้าร้าน เพื่อจำกัดจำนวนคน ป้องกันความแออัดภายในร้านขายยา

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 24/04/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา