backup og meta

ทีมแพทย์ไทยจากโรงพยาบาลราชวิถี ค้นพบ สูตรยารักษาผู้ป่วยจากไวรัสโคโรนา

ทีมแพทย์ไทยจากโรงพยาบาลราชวิถี ค้นพบ สูตรยารักษาผู้ป่วยจากไวรัสโคโรนา

ท่ามกลางกระแสข่าวการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่มีวัคซีนตัวใดรักษาหายหรือป้องกันได้ ทั้งยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้หลายคนกังวลถึงการแพร่ระบาดในประเทศต่างๆ ทั่วโลก แต่ล่าสุดมีข่าวดีว่าทีมแพทย์โรงพยาบาลราชวิถีได้ทดลองใช้ สูตรยารักษาผู้ป่วยจากไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ (2019-nCoV) ที่อาการหนักให้กลับมาดีขึ้นภายใน 12- 48 ชั่วโมง

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ สื่อใหญ่ทั่วโลก อาทิ Reuters, AFP, BBC และ South China Morning Post รายงานถึงความสำเร็จของคณะแพทย์ไทย โรงพยาบาลราชวิถี ในกรุงเทพฯ ที่ประกาศการ ค้นพบ สูตรยารักษาผู้ป่วยจากไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 (2019-nCoV) โดยใช้ยาที่ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมที่มีในไทยนำมาทดลอง ได้แก่ ยาต้านไวรัสเอชไอวี (HIV) 2 ชนิด คือ โลปินาเวียร์ (Lopinavir) และ ริโทนาเวียร์ (Ritonavir) ใช้ร่วมกับยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ โอเซลทามิ (Oseltamivir)  สาเหตุที่เลือกใช้ยาตัวนี้เนื่องจากเคยรักษาได้ผลในผู้ป่วยโรคเมอร์ส  (Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus ; MERS-CoV) ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาในกลุ่มเดียวกัน

ผลลัพธ์ออกมาเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก เพราะทำให้อาการป่วยของผู้ติดเชื้อรายหนึ่งที่เป็นชาวจีนวัย 71 ปี จากที่อาการทรุดหนักขั้นรุนแรงในช่วง 10 วันแรกและต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ พลิกกลับมาดีขึ้นภายใน 12 ชั่วโมง และหายดีจนผลติดเชื้อกลายเป็นลบภายใน 48 ชั่วโมง ขณะที่อีกรายหนึ่งซึ่งเป็นคนไทยวัย 33 ปี ที่ติดเชื้อจากประเทศญี่ปุ่น มีอาการดีขึ้นหลังได้รับยาสูตรนี้ ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าหากสามารถรักษาชาวจีนได้ ก็เป็นไปได้ที่จะรักษาชาวไทยที่ติดเชื้อได้ด้วยเช่นกัน

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบัน โรคไวรัสโคโรนา ยังไม่มีมาตรฐานในการรักษาที่แน่นอน โดยเคสผู้ป่วยที่รักษานี้เป็นกรณีศึกษา จริงๆแล้วแพทย์ได้รักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา จำนวน 3 ราย มี 2 รายอาการดีขึ้น ส่วนอีก 1 รายที่มีอาการแพ้ยารักษาไข้หวัดใหญ่จึงหยุดการรักษาและอยู่ในขั้นตอนพิจารณาหาแนวทางในการรักษาต่อไป

อย่างไรก็ตาม สื่อของ Reuters รายงานว่า เจ้าหน้าที่การแพทย์จีน ใช้ยาต้านเอชไอวี ( HIV) และยาต้านไข้หวัดใหญ่ โลปินาเวียร์ (Lopinavir) และ ริโทนาเวียร์ (Ritonavir) ในการรักษาผู้ติดเชื้ออยู่แล้ว แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปคือคณะแพทย์ไทยมองว่ากุญแจสำคัญในการรักษาให้อาการดีขึ้นคือ การใช้ยาทั้ง 3 ชนิดรวมกัน

ล่าสุดพบผู้เสียชีวิตนอกจีนแผ่นดินใหญ่รายแรก ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนวัย 44 ปี ที่เสียชีวิตในประเทศฟิลิปปินส์เมื่อวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ โดยสถานการณ์ปัจจุบันพบยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (ข้อมูล ณ วันที่ 2 ก.พ.63) 14,569 ราย เสียชีวิต 305 ราย ขณะที่ไทยนั้นพบยอดผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ 19 ราย อาการดีขึ้นสามารถกลับได้บ้านแล้ว 8 ราย และนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลอีก 11 ราย

ส่วนทางด้านสื่อจีนอย่าง chinapress.com.my ได้รายงานข่าว ความสำเร็จในการค้นพบสูตรยาต้านไวรัสโคโรนาดังกล่าวของคณะแพทย์ไทยจากโรงพยาบาลราชวิถี และได้รับการตอบรับจากผู้ใช้โซเชียลมีเดียชาวจีนหลายคน ที่แสดงความชื่นชมคณะแพทย์ไทย ในความสำเร็จครั้งสำคัญนี้ อาทิ  “ขอบคุณมาก สู้ๆ’  “เยี่ยมมาก’  “ในที่สุดมันก็ถูกค้นพบโดยแพทย์ไทย’  “หมอไทยเก่งจริงๆ”

ไม่ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาจะเป็นอย่างไรต่อไป เราก็ควรจะรักษาสุขภาพด้วยการใส่หน้ากากอนามัยหากต้องอยู่ในที่สาธารณะ ล้างมือเป็นประจำ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้กับตัวเอง

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Thai doctors have been using a cocktail of flu and HIV drugs to treat coronavirus cases https://www.businessinsider.com/coronavirus-treatment-cocktail-of-flu-hiv-drugs-2020-2. Accessed 03

February 2020

Coronavirus: Thailand has apparent treatment success with antiviral drug cocktail. https://www.scmp.com/news/asia/southeast-asia/article/3048629/coronavirus-thailand-has-apparent-treatment-success. Accessed 03  February 2020

Thailand Sees Good Result from Using Drug Mixture on Coronavirus. https://www.businessinsider.com/coronavirus-treatment-cocktail-of-flu-hiv-drugs-2020-2 Accessed 03  February 2020

Thai doctor says new drug combination treated coronavirus patient. https://edition.cnn.com/asia/live-news/coronavirus-outbreak-02-02-20-intl-hnk/h_f9dcabd30a7a19762113ae3aae284742. Accessed 03  February 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

เตือนภัยนักสำรวจธรรมชาติ ระวัง โคโรนาไวรัส ที่อาจมาจากงู

ค้างคาว เมนูเปิบพิสดาร ที่เป็นมากกว่าพาหะไวรัสโคโรนา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา