backup og meta

สัญญาณโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หนึ่งในโรคปอดเรื้อรังที่รุนแรงถึงชีวิต

สัญญาณโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หนึ่งในโรคปอดเรื้อรังที่รุนแรงถึงชีวิต

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) คือ หนึ่งในโรคปอดเรื้อรังที่ร้ายแรงที่สุด ที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการหายใจ และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต พยาธิสรีรวิทยา (Pathophysiology) ของโรค หรือการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เริ่มจากการสร้างความเสียหายให้กับหลอดลมและถุงลมในปอด แล้วพัฒนาไปเป็นอาการไอพร้อมเสมหะ จนกลายมาเป็นหายใจติดขัดในที่สุด มาทำความรู้จักกับ อาการและ สัญญาณโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กันได้ในบทความนี้

ต้นตอของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

สภาวะของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 2 สภาวะ คือ โรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง (chronic bronchitis) และถุงลมโป่งพอง (Emphysema) ซึ่งส่งผลกระทบต่อปอดคนละส่วนกัน นำไปสู่อาการหายใจติดขัดได้ทั้งสิ้น เพื่อให้เข้าใจพยาธิสรีรวิทยาของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สิ่งที่สำคัญ คือ การรู้จักกับโครงสร้างของปอด

โรคถุงลมโป่งพองเกิดขึ้นกับถุงลมในปอด (alveoli) และเส้นใยที่สร้างผนังของถุงลมเสียหาย ทำให้ยืดหยุ่นได้น้อยลงและไม่สามารถทำงานได้ เมื่อคุณหายใจออก หากหลอดลมฝอยอักเสบ (bronchitis) ก็จะผลิตเสมหะขึ้นมามากขึ้น

หากอาการนี้ไม่ยอมหายไป อาจพัฒนากลายเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง นอกจากนี้คุณยังสามารถเป็นโรคหลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลัน แต่อาการนี้จะไม่นับว่าเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

สาเหตุหลักของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คือ การสูบบุหรี่ การหายใจเอาควันบุหรี่ และสารเคมีที่อันตรายเข้าไป สามารถทำให้หลอดลมและถุงลมบาดเจ็บได้ แล้วจึงกลายเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การสัมผัสกับควันบุหรี่มือสอง สารเคมี หรือแม้แต่น้ำมันสำหรับทำอาหารในอาคารที่ระบายอากาศได้ไม่ดี ก็อาจนำไปสู่โรคปอดได้เช่นกัน

ตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลง

อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่รุนแรงมักจะไม่ปรากฏ จนกระทั่งเข้าสู่ระยะสุดท้ายของโรค หากคุณพบว่าตัวเองหายใจไม่อิ่มหลังจากการออกกำลังกายแบบเบาๆ หรือหายใจลำบากหลังจากทำกิจกรรมทั่วไป เช่น เดินขึ้นบันได ควรรีบไปพบคุณหมอทันที คุณหมออาจให้ตรวจสุขภาพของระบบทางเดินหายใจ สามารถพบโรคอย่างหลอดลมอักเสบหรือถุงลมโป่งพองได้

หนึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณหายใจได้ยากขึ้น ก็เพราะมีเสมหะในปอดมากขึ้น ส่งผลให้หลอดลมฝอยอักเสบและแคบลง ยิ่งมีเสมหะในหลอดลมมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ร่างกายหายใจเอาออกซิเจนเข้ามาและสามารถส่งออกซิเจนไปสู่เส้นเลือดฝอยในปอดได้น้อยลงเท่านั้น การไอเพื่อช่วยปล่อยเสมหะออกจากปอด เป็นสัญญาณที่พบได้มากของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

หากคุณสังเกตว่า มีอาการไอมากขึ้น และมีเสมหะมากขึ้น คุณควรไปพบคุณหมอ อย่าคาดเดาไปเองว่า อาการไอของคุณนั้นไม่เป็นอันตราย จึงควรสังเกตตัวเอง และรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที

สัญญาณโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อื่นที่ควรรู้

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังพัฒนาไปมากขึ้น อาการแทรกซ้อนต่างๆ ก็จะยิ่งตามมา นอกเหนือจากอาการไอแล้ว คุณอาจจะสังเกตพบว่า มีเสียงหวีดเมื่อคุณหายใจ นอกจากนี้ เสมหะที่สะสมอยู่ รวมถึงหลอดลมฝอยและถุงลมที่แคบลง ยังอาจทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอกได้อีกด้วย

ปริมาณออกซิเจนที่ไหลเวียนในร่างกายของคุณน้อยลง ทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยล้า และการขาดพลังงานก็สามารถเป็นอาการของโรคอื่นๆ ได้ แต่สิ่งที่สำคัญคือ คุณควรจะแจ้งข้อมูลนี้ให้แพทย์ทราบ เพื่อช่วยให้แพทย์ประเมินความรุนแรงของโรคได้ง่ายขึ้น สำหรับผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังขั้นรุนแรง อาจน้ำหนักลดได้

การป้องกัน

หนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดในการป้องกันโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังคือ การหยุดหรืออย่าเริ่มสูบบุหรี่ แม้ว่าคุณจะสูบบุหรี่มาแล้วหลายปี คุณก็ยังสามารถเริ่มดูแลรักษาสุขภาพของปอดคุณได้ด้วยการเลิกสูบบุหรี่

ยิ่งคุณไม่สูบบุหรี่นานเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการหลีกเลี่ยงโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้มากเท่านั้น ไม่ว่าคุณจะเลิกสูบบุหรี่ตอนอายุเท่าไหร่ก็ตาม

สิ่งที่สำคัญคือ คุณควรตรวจร่างกายเป็นประจำ และทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด แม้อาจจะไม่มีอะไรยืนยันว่า คุณจะไม่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แต่คุณก็สามารถประคับประคองประสิทธิภาพการทำงานของปอดที่ดีกว่าได้หากคุณมีการป้องกันสุขภาพล่วงหน้า

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What is COPD?. http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/copd/. Accessed August 19, 2015

William MacNee. Pathology, pathogenesis, and pathophysiology. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1463976/. Accessed August 19, 2015

Chronic obstructive pulmonary disorder. http://www.clevelandclinicmeded.com/medicalpubs/diseasemanagement/pulmonary/chronic-obstructive-pulmonary-disease/. Accessed August 19, 2015

Mayo Clinic Staff. COPD: Causes. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/copd/basics/causes/con-20032017. Accessed August 19, 2015

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/03/2021

เขียนโดย pimruethai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และผลกระทบต่อปอด

สิ่งกระตุ้นอาการปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่คุณควรรู้ไว้ จะได้หลีกเลี่ยงทัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 28/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา