ปัจจัยเสี่ยงของไข้หวัดใหญ่
ปัจจัยเสี่ยงของไข้หวัดใหญ่ อาจมีดังนี้
- ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ติดเชื้อ HIV อาจเสี่ยงติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ง่าย และอาจมีอาการนานกว่าปกติ
- อายุ ไข้หวัดใหญ่มักพบได้บ่อยในเด็กที่อายุตั้งแต่ 6 เดือน-5 ปี และผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
- สภาพแวดล้อม ผู้ที่ต้องดูแลคนป่วย ผู้ที่ต้องพบปะคนจำนวนมาก อาจเสี่ยงรับเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ง่าย
- โรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคอ้วน อาจเพิ่มความความเสี่ยงให้เป็นโรคไข้หวัดใหญ่
- ผู้ที่ตั้งครรภ์ ผู้หญิงตั้งครรภ์อาจเสี่ยงเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของการตั้งครรภ์
การวินิจฉัยและการรักษาไข้หวัดใหญ่
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยไข้หวัดใหญ่
แพทย์จะซักประวัติและตรวจดูอาการเบื้องต้น จากนั้นอาจตรวจเพิ่มเติม ดังนี้
- การตรวจ PCR (Polymerase Chain Reaction) ด้วยการป้ายคอหรือจมูก เพื่อเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งไปตรวจหาเชื้อไวรัส โดยสามารถตรวจไข้หวัดใหญ่และโควิด-19ไปพร้อม ๆ กันได้
- การตรวจวินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่อย่างรวดเร็ว (Rapid Influenza Diagnostic Tests หรือ RIDTs) เป็นการทดสอบหาแอนติเจน (Antigens) ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ สามารถทราบผลได้ภายในเวลาประมาณ 15 นาที แต่ไม่สามารถแยกแยะสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้
การรักษาไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่อาจหายไปได้เองโดยไม่ต้องรักษา แต่หากมีอาการรุนแรง หรือเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน แพทย์อาจให้ยาต้านไวรัส เช่น โอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) ซานามิเวียร์ (Zanamivir) เพื่อช่วยฆ่าเชื้อไวรัส ช่วยให้หายไวขึ้น และช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ทั้งนี้ การใช้ยาต้านไวรัสอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ควรรับประทานยาพร้อมกับอาหาร และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
การดูแลตัวเองเมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่
การดูแลตัวเองเพื่อช่วยบรรเทาอาการของไข้หวัดใหญ่ อาจทำได้ดังนี้
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย