คุณต้องการออกจากระบบใช่หรือไม่
ไข้หวัดใหญ่H5N1 เป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ก่อให้เกิดอาการติดเชื้อที่อันตราย โรคระบบทางเดินหายใจรุนแรงในนก เรียกว่า ไข้หวัดนก (avian influenza หรือ bird flu)
แม้ว่าไวรัสหลายประเภทสามารถก่อให้เกิดไข้หวัดนกได้ หมอหลายท่านมีความกังวลมากที่สุดเกี่ยวกับไวรัส H5N1 และ H7N9 ไวรัสเหล่านี้ มักพบในนกป่า และติดต่อสู่คนได้ผ่านการรับประทานไก่ เป็ด หรือนก
ไข้หวัดใหญ่H5N1 เป็นโรคที่อันตราย หากเกิดขึ้นกับมนุษย์ ในปี 2011 โรคนี้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายใน 6 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ จีน อียิปต์ อินเดีย อินโดนิเซีย และเวียดนาม
อาการโรคนี้พบได้บ่อยมากในนกหรือสัตว์ปีก ดังนั้น เป็นเรื่องยากที่จะกำจัดโรคนี้ได้ โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยทุกวัย อายุเฉลี่ยของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อ H7N9 คือ 62 ปี ในขณะที่อายุเฉลี่ยของผู้ติดเชื้อ H5N1 อยู่ที่ 26 ปีเท่านั้น
ที่ไม่เหมือนไข้หวัดในคนทั่วไปก็คือ ไข้หวัดนก H5N1 ไม่ได้แพร่จากคนสู่คนได้ง่ายๆ มีกรณีที่พบได้ยากของการติดต่อของโรคจากคนสู่คนเกิดขึ้นในผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดอย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างเช่น แม่ที่ติดเชื้อไวรัสขณะที่ต้องรักษาลูกที่เจ็บป่วย แต่สามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงของคุณ โปรดปรึกษากับหมอของคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการทั่วไปของไข้หวัดใหญ่ H5N1 มีความคล้ายคลึงกับไข้หวัดทั่วไป แต่อาจมีอาการรุนแรงได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
อาจมีอาการบางประเภทที่ไม่ได้ปรากฏอยู่ข้างบน ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาหมอของคุณ
คุณควรเข้าพบหมอ หากคุณมีอาการต่อไปนี้ ได้แก่
หากคุณมีสัญญาณหรืออาการอะไรก็ตามที่เหมือนอาการตามด้านบน หรือ หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษากับหมอของคุณ ร่างกายของทุกคนแสดงออกแตกต่างกันไป มันจึงดีที่สุดเสมอในการปรึกษากับหมอของคุณ ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ของคุณ
หลังจากที่นกป่าแพร่เชื้อไปยังฟาร์มเลี้ยงนก ไวรัสจะสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ท่ามกลางนกนับร้อยหรือนับพันในฟาร์มนก ต้องทำการฆ่านกที่ติดเชื้อทันที เพื่อหยุดการแพร่กระจายของไวรัส
ผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับไก่ เป็ด หรือไก่งวงที่ติดเชื้อ มีโอกาสในการได้รับเชื้อไวรัสมากกว่า ไวรัสไข้หวัดนกสามารถส่งผ่านจากหยดเลือดและน้ำลายของนกไปยังที่ต่างๆ เช่น กรง รถไถนา และอุปกรณ์ทำเกษตรอื่นๆ
หลายคนไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก คุณจะไม่ได้รับไวรัสไข้หวัดนก จากการรับประทานไก่ สัตว์ปีกหรือเป็ดที่ปรุงสุก เนื่องจากความร้อนฆ่าเชื้อไวรัสนี้ได้
มีปัจจัยเสี่ยงมากมายสำหรับไข้หวัดใหญ่ H5N1 ที่เกิดจากการสัมผัสกับนกที่มีอาการป่วย หรือพื้นที่ซึ่งปนเปื้อนจากขนนก น้ำลาย หรือหยดเลือด อย่างเช่น
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ใดๆ ควรปรึกษาหมอของคุณทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพื่อเติม
การตรวจแล็บ
ตัวอย่างของของเหลวจากจมูกหรือคอของคุณ สามารถนำมาใช้ตรวจเพื่อหาไวรัสไข้หวัดนกได้ ตัวอย่างของของเหลวจากจมูกหรือคอ ควรนำมาตรวจภายในไม่กี่วันหลังมีอาการเกิดขึ้น
การตรวจด้วยการถ่ายภาพ
การถ่ายภาพเอ็กซเรย์ อาจเป็นประโยชน์ในการประเมินอาการปอดของคุณ ซึ่งจะช่วยระบุการวินิจฉัยที่เหมาะสมและทางเลือกการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับสัญญาณและอาการของคุณ
การรักษาไข้หวัดนก ขึ้นอยู่กับประเภทของไวรัสที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายคุณ ในบางกรณี ยาต้านไวรัสอาจช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น แต่ผู้เชี่ยวชาญมีความกังวลว่า ยาต้านไวรัสบางชนิดอาจไม่ได้ผลกับไข้หวัดนก
โชคร้ายก็คือ หากคุณเป็นโรคไข้หวัดนก คุณจะถูกบังคับให้อยู่ในห้องผู้ป่วยแยก เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่ไวรัสไปสู่คนอื่น
บางคนที่เป็นโรคไข้หวัดนก อาจต้องการเครื่องช่วยหายใจ เพื่อช่วยให้หายใจสะดวกยิ่งขึ้น ในขณะที่บางคนอาจต้องการเครื่องที่ช่วยให้ไตทำงานดีขึ้น (การฟอกไต) หากไข้หวัดนกเกิดขึ้นเป็นเวลานาน ไข้หวัดนี้จะทำให้เสียชีวิต
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองต่อไปนี้ อาจช่วยคุณจัดการกับไข้หวัดใหญ่ H5N1 ได้แก่
วัคซีนไข้หวัดนก
คำแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยว
หากคุณเดินทางไปยังพื้นที่ใดก็ตาม ที่มีการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก ลองพิจารณาคำแนะนำของกรมสาธารณสุขของสหรัฐอเมริกา ได้แก่
ผลิตภัณฑ์ไข่และสัตว์ปีก
หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษากับหมอของคุณ เพื่อเข้าใจวิธีแก้ปัญหาที่ชัดเจนยิ่งขึ้นสำหรับตัวคุณเอง
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
Avian Influenza (Bird Flu) – Topic Overview. http://www.webmd.com/cold-and-flu/tc/avian-influenza-bird-flu-overview#3. Accessed Mar 12, 2017
Frequently Asked Questions About Bird Flu. http://www.webmd.com/cold-and-flu/flu-guide/what-know-about-bird-flu#3. Accessed Mar 12, 2017
Bird flu (avian influenza). http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bird-flu/basics/prevention/con-20030228. Accessed Mar 12, 2017
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย