จริงๆ แล้ว มีงานวิจัยที่บอกในทางตรงกันข้าม นั่นก็คืออากาศหนาวดูเหมือนจะสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของเราได้ นักวิจัยจาก America Army Research Institute of Environmental Medicine ในสหรัฐฯ ได้ทำงานวิจับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่มีต่ออากาศหนาว เช่น การเผชิญกับอากาศเย็นๆ โดยไม่มีเครื่องนุ่งห่มที่อบอุ่นเพียงพอ นักวิจัยพบว่าการเผชิญกับอากาศหนาวสามารถกระตุ้นและเร่งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้จริงๆ โดยส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนนอร์อิปิเนฟริน (norepinephrine) ซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนยาช่วยลดอาการบวมของเยื่อบุทางเดินหายใจ หรือช่วยลดน้ำมูกและอาการคัดจมูกในร่างกายเราโดยธรรมชาตินั่นเอง
ทำไมคนเราถึงคิดว่าอากาศทำให้เป็นหวัด
ในความเป็นจริงแล้ว อากาศเย็นเองไม่ได้ทำให้เกิดโรคหวัดได้ แต่มันเป็นภาวะที่เรียกว่า ไฮโปเธอร์เมีย (hypothermia) หรือสภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิต่ำเกินไป และภาวะนี้เองที่สามารถนำไปสู่การเป็นหวัดได้ เนื่องมาจากภาวะที่ร่างกายที่อุณหภูมิต่ำเกินไปเช่นนี้จะไปกดภูมิคุ้มกันของร่างกายที่จะต่อสู้กับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่
เวลาที่เราโดนฝนในหน้าฝน หรือเจอกับอากาศเย็นๆ ในหน้าหนาว สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ การเปียกฝนทำให้อุณหภูมิของพื้นผิวเยื่อบุจมูกลดต่ำลง และเกิดภาวะหลอดเลือดหดตัว (vasoconstriction) โดยเฉพาะหลอดเลือดที่อยู่ใกล้ชิดกับผิวหนังชั้นบนมากที่สุด อย่างเช่น เส้นเลือดบริเวณจมูก ภาวะนี้ทำเกิดความแห้ง ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของตัวกรองการติดเชื้อในจมูก ทำให้เกิดอาการคัดจมูก และคุณมักจะหายใจทางปากเวลาที่เกิดอาการคัดจมูกหนักมาก ก็เป็นโอกาสให้น้ำมูกที่มีไวรัสอยู่กระตุ้นให้เกิดหวัดขึ้นมา
ทั้งฝนและอากาศเย็นโดยตัวของมันเอง จึงไม่ได้เป็นเงื่อนไขที่ทำให้เกิดหวัดแต่อย่างใด เวลาที่อากาศหนาว แต่ความเสี่ยงในสองฤดูนี้จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากคนเรามักจะอยู่ในอาคารมากขึ้น สภาพอากาศที่ไหลเวียนอยู่ในอาคารอาจเป็นแหลงสะสมของเชื้อโรคต่างๆ และสามารถเข้าสู่ร่างกายของเราไดง่ายขึ้น และเมื่อถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยอื่นร่วมด้วย ก็จะทำให้เราเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ได้ง่ายชึ้น
เวลาที่อากาศหนาว อากาศยังจะแห้งลงมากขึ้นด้วย อากาศแห้งๆ มักจะเชื่อมโยงกับอาการโพรงจมูกแห้ง จากข้อมูลของ National Institutes of Health ในสหรัฐฯ ชี้ว่า ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ชจะสามารถมีชีวิตรอดและแพร่กระจายตัวเองได้ดีในอากาศแห้ง ในอุณหภูมิที่เย็นจัดๆ ไวรัสจะแข็งแรงขึ้น ทำให้มันแอคทีฟมากกว่า ปรับตัวได้ดีกว่า และง่ายกว่าที่จะแพร่กระจาย
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด