ทั้งนี้ ผู้ที่มีไข้และควรเฝ้าระวังได้แก่ เด็กอายุระหว่าง 6 เดือน-5 ปี เนื่องจากมักมีความเสี่ยงเกิดอาการชักจากไข้ (Febrile Seizure) โดยเด็กมักจะหมดสติ ตัวแข็ง ตาเหลือก ร้องไห้ และแขนขากระตุก ควรรีบพาไปพบคุณหมอด่วนที่สุด
สาเหตุ
สาเหตุของไข้
ปกติแล้ว อุณหภูมิของร่างกายจะถูกควบคุมโดยสมองส่วนไฮโพทาลามัส (Hypothalamus) เมื่อติดเชื้อหรือเจ็บป่วย สมองส่วนนี้จะทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นเป็นการชั่วคราว เพื่อเป็นสัญญาณเตือนว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นภายในร่างกาย
ทั้งนี้ ไข้ยังเป็นหนึ่งในอาการของโรคหรือความเจ็บป่วย ดังนี้
- ร่างกายติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียตามส่วนต่าง ๆ เช่น หู ปอด ลำคอ กระเพาะปัสสาวะ ไต
- มีการอักเสบภายในร่างกาย เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- มีภาวะเพลียแดด
- เป็นโรคมะเร็ง
- มีความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมนในร่างกาย เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ
- เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคลูปัส
นอกจากนี้ อุณหภูมิร่างกายยังสามารถสูงขึ้นแบบชั่วคราวได้ ในกรณีต่อไปนี้
- ออกไปเผชิญแสงแดดนานเกินไป
- ได้รับยาฆ่าเชื้อ หรือยาสำหรับรักษาภาวะความดันโลหิตสูงหรืออาการชัก
เมื่อไรควรไปพบคุณหมอ
เมื่อเป็นไข้ หากดูแลตนเองในเบื้องต้น เช่น เช็ดตัว รับประทานยาลดไข้ พักผ่อนให้พอ ดื่มน้ำมาก ๆ ไข้มักลดลงภายใน 24 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ในแต่ละช่วงวัยเมื่อเป็นไข้อาจมีอาการแตกต่างกันไป และควรพบคุณหมอเมื่อเป็นไข้ในกรณีต่อไปนี้
ทารก
- วัยแรกเกิด-3 เดือน เมื่อวัดไข้ทางช่องหูแล้วพบว่าอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าหรือเท่ากับ 38 องศาเซลเซียส
- อายุระหว่าง 3-6 เดือน เมื่อวัดไข้ทางช่องหูแล้วพบว่าอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 38.9 องศาเซลเซียส หรือเมื่ออุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 38.9 องศาเซลเซียส แต่มีอาการหงุดหงิดหรือไม่สบายตัวร่วมด้วย
- อายุระหว่าง 7-24 เดือน เมื่อวัดไข้ทางช่องหูแล้วพบว่าอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 38.9 องศาเซลเซียสนานกว่า 1 วัน
เด็ก
- เมื่อมีไข้สูง หรือประมาณ 40 องศาเซลเซียส
- เมื่อมีไข้ พร้อมกับมีอาการผิดปกติ เช่น ซึม สับสน อาเจียน ปวดหัว เจ็บคอ ชัก
- เมื่อมีไข้เกินกว่า 3 วันติดต่อกัน
ผู้ใหญ่
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย