backup og meta

ภูมิแพ้อากาศ สาเหตุ อาการ และการรักษา

ภูมิแพ้อากาศ สาเหตุ อาการ และการรักษา

ภูมิแพ้อากาศ หรือโรคไข้ละอองฟาง หรือโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการอักเสบของเนื้อเยื่อภายในจมูก เนื่องจากอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้ฝุ่น แพ้ละอองเกสรดอกไม้ ทำให้เกิดอาการจาม น้ำมูกไหล คัดจมูก ระคายเคืองดวงตา ลมพิษ และอาการแพ้อื่น ๆ สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการรับประทานยาแก้แพ้ และหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้

คำจำกัดความ

ภูมิแพ้อากาศคืออะไร

ภูมิแพ้อากาศ หรือแพ้อากาศ หรือไข้ละอองฟาง (Allergic Rhinitis) หรือบางครั้งก็รู้จักกันในชื่อ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ จัดเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการอักเสบภายในเนื้อเยื่อของจมูก อันเนื่องมาจากอาการภูมิแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้ฝุ่น แพ้ละอองเกสรดอกไม้ หรือแพ้ขนสัตว์ หรือเป็นอาการแพ้ที่เกิดจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย

ภูมิแพ้อากาศพบได้บ่อยแค่ไหน

ภูมิแพ้อากาศเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการแพ้มาแต่เดิมอยู่แล้ว เมื่อได้รับสารก่อภูมิแพ้หรือปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ ก็เสี่ยงที่จะเกิดโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ได้

อาการ

อาการของภูมิแพ้อากาศ

อาการโดยทั่วไปของภูมิแพ้อากาศ มีดังนี้

  • มีอาการจาม
  • มีน้ำมูกไหล
  • มีอาการคัดจมูก
  • คันจมูก
  • มีอาการไอ
  • เจ็บคอ
  • ระคายเคืองที่ดวงตา
  • น้ำตาไหล
  • มีรอยคล้ำบริเวณใต้ดวงตา
  • ปวดศีรษะบ่อย
  • ผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหาสุขภาพผิวหนังร่วมด้วย เช่น คันตามผิวหนัง กลาก ผิวแห้ง ผื่นพุพอง
  • ลมพิษ
  • มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง

อาจมีอาการอื่น ๆ ของภูมิแพ้อากาศที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษากับแพทย์

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

หากอาการของภูมิแพ้อากาศที่เป็นอยู่มีอาการรุนแรงจนรบกวนการนอนหลับหรือกิจวัตรประจำวันอื่น ๆ ควรไปพบคุณหมอ 

สาเหตุ

สาเหตุของภูมิแพ้อากาศ

ภูมิแพ้อากาศเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันเข้าใจว่าสารก่อภูมิแพ้เป็นอันตราย จากนั้นร่างกายก็จะปล่อยสารเคมีตามธรรมชาติในร่างกายออกมาต่อสู้กับสารก่อภูมิแพ้เหล่านั้น โดยสารก่อภูมิแพ้ที่ส่งผลให้เกิดภูมิแพ้อากาศ ได้แก่

อาจมีสาเหตุที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้อากาศ นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษาคุณหมอ

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงของภูมิแพ้อากาศ

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้อากาศ ได้แก่

  • สมาชิกในครอบครัวเป็นภูมิแพ้
  • เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดอื่น ๆ ที่ต่างจากที่กล่าวมา
  • โรคในระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด
  • ควันการสูบบุหรี่
  • สารเคมี
  • อุณหภูมิเย็น
  • ความชื้น
  • ลม
  • มลภาวะทางอากาศ
  • สเปรย์ฉีดตกแต่งทรงผม
  • น้ำหอม

อาจมีปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้อากาศ นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษาแพทย์

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยภูมิแพ้อากาศ

โดยทั่วไปแล้ว คุณหมอสามารถวินิจฉัยโรคภูมิแพ้อากาศได้ เพียงแค่เห็นอาการทั่วไปของผู้ป่วย หรือแพทย์อาจทำการตรวจด้วยการเจาะเลือด เพื่อหาการติดเชื้อหรือสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ นอกจากนี้แพทย์ก็อาจทำการทดสอบผิวหนังโดยการเจาะที่แขนหรือบริเวณหลังด้วยท่อเล็ก ๆ ที่มีสารก่อภูมิแพ้ทั่วไป หากมีอาการแพ้ก็จะมีอาการบวม คัน ในบริเวณที่ทำการทดสอบอาการแพ้

การรักษาภูมิแพ้อากาศ

การรักษาภูมิแพ้อากาศสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

  • ยาบรรเทาอาการแพ้ คุณหมออาจสั่งจ่ายยาต้านฮีสตามีน (Histamine) เพื่อบรรเทาอาการแพ้ เช่น เฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine) ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) ลอราทาดีน (Loratadine) เซทิริซีน (Cetirizine)
  • ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก (Nasal corticosteroids) ยาฉีดพ่นนี้จะช่วยบรรเทาอาการน้ำมูกไหล คัดจมูก แน่นจมูก หรืออาการคันจมูกได้ดี 
  • ยาหดหลอดเลือด (Decongestant) ยานี้จะช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก ทำให้จมูกโล่ง สามารถหายใจได้สะดวกขึ้น
  • ยาหยอดตาและสเปรย์ฉีดจมูก เพื่อช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองที่ดวงตาและภายในจมูก
  • ภูมิคุ้มกันบำบัด ในกรณีที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรง แพทย์อาจมีการแนะนำให้ทำการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด โดยแพทย์จะทำการฉีดสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในร่างกายทีละน้อย ๆ เพื่อให้ร่างกายค่อย ๆ จดจำและสร้างภูมิต้านทานสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ระยะเวลาในการรักษาค่อนข้างนาน ตั้งแต่ 3-5 ปี

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลที่ช่วยจัดการกับภูมิแพ้อากาศ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตบางประการดังต่อไปนี้ อาจช่วยจัดการกับภูมิแพ้อากาศ ได้ 

  • หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ควัน เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ หรือเชื้อรา
  • พกยารักษาโรคภูมิแพ้ติดตัวไว้เสมอ
  • หากมีอาการแพ้ต่อสิ่งใด ควรแจ้งต่อบุคคลใกล้ชิดให้รับทราบเสมอ
  • หากไปสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้มา ให้ถอดเสื้อผ้า แล้วรีบอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายทันที

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Allergic rhinitis. https://www.nhs.uk/conditions/allergic-rhinitis/. Accessed on 29 January, 2021.

Understanding Hay Fever — the Basics. https://www.webmd.com/allergies/understanding-hay-fever-basics. Accessed on 29 January, 2021.

Allergic rhinitis. https://medlineplus.gov/ency/article/000813.htm. Accessed October 27, 2021.

Treatment of Allergic Rhinitis. https://www.aafp.org/afp/2010/0615/p1440.html. Accessed October 27, 2021.

Hay Fever. https://acaai.org/allergies/allergic-conditions/hay-fever/. Accessed October 27, 2021.

Allergic Rhinitis. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK538186/. Accessed October 27, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/06/2024

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

สุดยอดอาหารต้านภูมิแพ้ ที่ช่วยต่อต้าน อาการภูมิแพ้ตามฤดูกาล

โรคภูมิแพ้สัตว์เลี้ยง และอาการเบื้องต้น ที่คนรักสัตว์ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 04/06/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา