ปากมดลูก เนื้อเยื่อส่วนปลายสุดของมดลูกเป็นทางผ่านของระดูออกสู่ภายนอก และทางผ่านของตัวอสุจิเข้าไปปฏิสนธิกับไข่เป็นตัวอ่อนจนเกิดเป็นทารก แต่ถ้าหาก เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ (Cervical dysplasia) อาจทำให้เสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพได้ เพราะหากไม่รีบรักษาเซลล์ที่เจริญเติบโตผิดปกติอาจกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้
[embed-health-tool-ovulation]
คำจำกัดความ
เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ คืออะไร
เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ (Cervical dysplasia) เป็นภาวะที่เซลล์บริเวณปากมดลูก มีความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติบางประการ ปากมดลูกอยู่ตรงส่วนล่างของมดลูกที่นำไปสู่ช่องคลอด โดยจะมีการขยายตัวระหว่างการคลอด เพื่อให้ทารกออกมาได้
เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติเป็นภาวะก่อนเกิดมะเร็ง เซลล์ที่ผิดปกตินี้ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง แต่สามารถกลายเป็นมะเร็งได้ หากตรวจไม่พบแต่เนิ่น ๆ หรือไม่ได้รับการรักษา โดยมีความเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเอชพีวี (human papillomavirus: HPV) ที่ติดต่อทางการมีเพศสัมพันธ์ เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวัย แต่พบได้มากที่สุดในผู้หญิงอายุต่ำกว่า 30 ปี
เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติพบได้บ่อยแค่ไหน
ตามข้อมูลจาก Sidney Kimmel Comprehensive Cancer Center มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา ในแต่ละปี พบว่า ผู้หญิงชาวอเมริกันจำนวนประมาณ 250,000 – 1,000,000 คน มีภาวะเซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ โดยมักพบได้มากที่สุดในผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 25 ถึง 35 ปี
อาการ
อาการของ เซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ
โดยปกติแล้ว ภาวะเซลล์ปากมดลูกผิดปกติจะไม่แสดงอาการใด ๆ ดังนั้น การตรวจแปปสเมียร์ (Pap smear) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการวินิจฉัยและการรักษาแต่เนิ่น ๆ โดยอาการของเซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ ได้แก่
- ประจำเดือนมามากขึ้น และนานกว่าเดิม
- เลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน
- ตกขาวเพิ่มขึ้น
- ปวดท้องน้อยระหว่างมีเพศสัมพันธ์
ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด
เนื่องจากเซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติไม่มีการแสดงอาการใด ๆ ออกมา หรือมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และร่างกายของแต่ละคนมีการตอบสนองแตกต่างกัน ดังนั้น หากมีคำถามหรือสังเกตเห็นความผิดปกติใด ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ
สาเหตุ
สาเหตุของเซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ
ในผู้ที่มีภาวะเซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติที่เกิดจากการติดเชื้อเอชพีวี ซึ่งพบได้ทั่วไปในผู้หญิงและผู้ชาย แต่พบได้มากที่สุดในผู้หญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี ซึ่งจัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง มีดังนี้
- ตามปกติ ระบบภูมิคุ้มกันสามารถกำจัดเชื้อเอชพีวีได้ตามธรรมชาติ และไม่เกิดการติดเชื้อ แต่ในผู้หญิงบางรายอาจมีการติดเชื้อต่อเนื่องจนทำให้เซลล์ปากมดลูกผิดปกติ เชื้อเอชพีวีมักติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก หรือการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก ทั้งยังสามารถติดต่อได้โดยการสัมผัสทางผิวหนังกับผู้ที่ติดเชื้ออีกด้วย ทันทีที่ได้รับเชื้อ ไวรัสสามารถแพร่กระจายจากอวัยวะหนึ่งไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย รวมถึงปากมดลูกด้วย
- ในผู้หญิงที่มีการติดเชื้อเอชพีวีเรื้อรัง และสูบบุหรี่ด้วย จะมีโอกาสมากขึ้นเป็นสองเท่า ในการเกิดเซลล์ปากมดลูกผิดปกติขั้นรุนแรง หากเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่จะกดภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายอ่อนแอกว่าปกติ
- การติดเชื้อเอชพีวีเรื้อรัง และภาวะเซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ ยังเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงอีกด้วย เช่น การรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressive drugs) สำหรับโรคบางชนิดหรือหลังจากการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือการติดเชื้อเอชไอวีซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเอดส์
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
การวินิจฉัย
เนื่องจากการตรวจอุ้งเชิงกรานเป็นเรื่องปกติในสตรีที่มีปากมดลูกผิดปกติ การตรวจ Pap test จึงจำเป็นในการวินิจฉัยภาวะดังกล่าว ซึ่งรวมถึง:
- Colposcopy การตรวจขยายปากมดลูก เพื่อตรวจหาเซลล์ผิดปกติ
- การขูดมดลูก
- การตรวจหาเชื้อ HPV
การรักษาเซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติ
การรักษาเซลล์ปากมดลูกเจริญผิดปกติขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมถึงความรุนแรงของอาการ และอายุของผู้ป่วย
- การติดตามอาการอย่างต่อเนื่องด้วยการตรวจ Pap test ซ้ำ
- รักษาด้วยการความเย็นบำบัด
- การจี้ด้วยไฟฟ้า
- ศัลยกรรมเลเซอร์