สาเหตุ
สาเหตุการเกิด มะเร็งลำไส้เล็ก
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าสิ่งใดทำให้เกิดมะเร็งลำไส้เล็ก แต่อาจเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ปกติในลำไส้เล็กมีการเปลี่ยนแปลง โดยปกติ เซลล์จะมีการเติบโตและแบ่งตัวอย่างเป็นระบบระเบียบในร่างกาย แต่ถ้าหากเซลล์เกิดความเสียหาย แม้ไม่มีการสร้างเซลล์ใหม่ แต่เซลล์ที่เสียหายนั้นก็ยังคงมีการแบ่งตัวและเติบโต หากมีเซลล์เหล่านี้สะสมมาก อาจกลายเป็นเนื้องอก หรือก่อตัวเป็นเซลล์มะเร็งได้
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของ มะเร็งลำไส้เล็ก
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้เล็กอาจเกิดจากสิ่งเหล่านี้ เช่น
- กรรมพันธุ์ การถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นบรรพบุรุษหรือรุ่นพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูก เช่น Lynch Syndrome Familial Adenomatous Polyposis (FAP) มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิดถ่ายทอดทางพันธุกรรม
- ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือเกิดความบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้เล็ก เนื่องจากร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้อย่างที่ควรจะเป็นตามปกติ
- โรคลำไส้อื่น ๆ เช่น โรคลำไส้อักเสบ โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้เล็ก
การวินิจฉัยและการรักษา
การวินิจฉัยและการรักษามะเร็งลำไส้เล็ก
ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยมะเร็งลำไส้เล็ก
การตรวจวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ อาจมีวิธีการดังนี้
- การตรวจร่างกายและสอบถามประวัติ เพื่อตรวจดูสัญญาณสุขภาพทั่วไป และตรวจหาสัญญาณของโรค รวมถึงสอบถามประวัติสุขภาพ
- การตรวจทางเคมีในเลือด วัดปริมาณสารบางชนิด เช่น กลูโคส อัลบูมิน บิลิรูบิน ในร่างกายที่สร้างขึ้นมาว่า มีค่าสูงหรือต่ำกว่าปกติ ที่อาจเป็นสัญญาณในการบ่งบอกโรค
- การตรวจชิ้นเนื้อ เป็นการเอาตัวอย่างเนื้อเยื่อไปตรวจ สามารถทำได้ในระหว่างการส่องกล้อง
- การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) และการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เป็นการตรวจที่มีความละเอียด สามารถมองเห็นบริเวณต่าง ๆ ภายในร่างกาย รวมถึงยังอาจสามารถบ่งบอกระยะ ขอบเขตว่าเนื้องอกได้ลุกลามไปยังบริเวณอื่นหรือไม่
- การตรวจโดยการสวนแป้งแบเรียมร่วมกับก๊าซ ( DoubleContrast Barium Enema) เป็นการสวนแป้งแบเรียมซัลเฟต (Barium Sulfate) ซึ่งเป็นสารทึบรังสีเข้าทางทวารหนัก และถ่ายภาพเอกซเรย์ ทำให้เห็นเยื่อเมือกไม่เป็นระเบียบหรือหนาขึ้น และยังสามารถเห็นการถูกทำลายของติ่งเนื้อ
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย